WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

ลุยน่าน แพร่

พาณิชย์ นำทีมลุยน่าน-แพร่ ติดตามสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภาคเหนือ พร้อมวางมาตราการช่วยเหลือเกษตรกร

นายคุณากร ปรีชาชนะชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา ตนพร้อมด้วยนายจิรวัฒน์ อรัณยกานนท์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และคณะ ลงพื้นที่จังหวัดน่านและแพร่ เพื่อติดตามสถานการณ์ซื้อขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และหามาตรการช่วยเหลือ ตามที่ได้รับมอบหมายจากนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้ดูแลและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยยกระดับราคา และสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในระยะยาวกรณีมีข้อร้องเรียนจากเกษตรกรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ

นายคุณากร ปรีชาชนะชัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระะบุว่า รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ ให้ความสำคัญและพร้อมดูแลราคาพืชผลการเกษตรให้กับพี่น้องเกษตรกร จากการลงพื้นที่พบว่า ขณะนี้อยู่ในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและผลผลิตออกสู่ตลาดมาก

โดยผลผลิตจังหวัดแพร่ยังคงเหลืออีกประมาณ 40% ราคารับซื้อในพื้นที่ 8.70-8.80 บาท/กก. (เมล็ดความชื้น 14.5%) และ 6.90-7.00 บาท/กก. (เมล็ดความชื้น 30%) สำหรับจังหวัดน่าน เก็บเกี่ยวแล้วประมาณ 32% ราคารับซื้อ 9.05-9.10 บาท/กก. (เมล็ดความชื้น 14.5%) และ 6.85-6.95 บาท/กก. (เมล็ดความชื้น 30%) ซึ่งถือว่ายังอยู่ในเกณฑ์ดีและเป็นไปตามกลไกตลาด

โดยกระทรวงพาณิชย์ได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ และเกษตรกรในพื้นที่ของทั้ง 2 จังหวัด ได้รับทราบว่าต้นทุนการผลิตของเกษตรเพิ่มสูงขึันจากปัจจัยการผลิตต่างๆ อาทิ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช เมล็ดพันธุ์ ทำให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ ไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต ที่ประชุมจึงได้เสนอขอให้ภาครัฐมีแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร ดังนี้

ลุยน่าน แพร่

1) รักษาเสถียรภาพราคารับซื้อปลายทางและในพื้นที่เพื่อลดความผันผวน

2) ควบคุมปัจจัยการผลิตโดยเฉพาะค่าเมล็ดพันธุ์ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี

3) ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร

4) ควบคุมการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ

ซึ่งคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) จะช่วยรักษาเสถียรภาพราคาในช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ได้ออกมาตรการให้สินเชื่อกับสหกรณ์เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการรวบรวมผลผลิต การชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และกรณีที่บางพื้นที่มีปัญหาราคาตกต่ำ ก็จะมีแนวทางการรองรับโดยการเปิดจุดรับซื้อในพื้นที่เพื่อกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต

และยกระดับราคาให้สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีมาตรการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้กับเกษตรกร โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก เพิ่มคุณภาพผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต ซึ่ง ธ.ก.ส. จะสนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกร ในการนำไปใช้เป็นเงินทุนเพื่อพัฒนาการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

สำหรับ มาตรการอื่นๆ อาทิ ประสานขอความร่วมมือจากโรงงานผลิตอาหารสัตว์ชะลอการปรับราคารับซื้อลง รวมทั้งลงพื้นที่ตรวจสอบการรับซื้อของผู้ประกอบการท้องถิ่น ในการติดป้ายแสดงราคา การตรวจสอบเครื่องชั่งน้ำหนัก เครื่องวัดความชื้นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และราคาปุ๋ย กำกับดูแลการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่จะให้นำเข้าได้ช่วงเวลาที่ผลผลิตในประเทศมีน้อย (ช่วงเดือน ก.พ.-ส.ค.) และคงมาตรการกำหนดสัดส่วนการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน ต่อการรับซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วน เพื่อให้ราคาในประเทศมีเสถียรภาพต่อไป

 

Click Donate Support Web 

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!