WORLD7

BANPU2024

powertime 950x100pxsmed MTI 720x100

 

สำรวจภาระหนี้

สนค.เผยผลสำรวจภาระหนี้ พนักงานรัฐ เกษตรกร พนักงานเอกชน เป็นกลุ่มมีหนี้มากสุด

สนค.เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเกี่ยวกับภาระหนี้สิน ดีขึ้นเล็กน้อยจากผลสำรวจปี 66 พบพนักงานรัฐ เกษตรกร พนักงานเอกชน เป็นกลุ่มที่มีหนี้มากสุด จากการซื้อบ้าน รถยนต์ โดยเป็นหนี้ในระบบมากสุด และหนี้นอกระบบลดลงเล็กน้อย เผยกู้ยืมจากสถาบันการเงินเป็นส่วนใหญ่ ตามด้วยกู้บัตรเครดิต สหกรณ์ พร้อมขอรัฐช่วยเหลือต่อเนื่อง เน้นลดดอกเบี้ย พักหนี้

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) และโฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนจำนวน 6,291 ราย เกี่ยวกับภาระหนี้สินของประชาชนในปี 2567 ที่ผ่านมา ว่า สถานการณ์หนี้สินของประชาชนดีขึ้นเล็กน้อยจากผลสำรวจปี 2566 และมีการลดลงของภาระหนี้นอกระบบ โดยกลุ่มอาชีพพนักงานของรัฐ เกษตรกร และพนักงานเอกชน เป็นกลุ่มอาชีพหลักที่มีสัดส่วนกลุ่มที่มีภาระหนี้มากที่สุด เช่นเดียวกับการสำรวจในรอบก่อนหน้า และผู้ตอบแบบสอบถามมีสัดส่วนความต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือในการลดอัตราดอกเบี้ยมากที่สุด 

สำหรับ รายละเอียดผลการสำรวจ ภาพรวมภาระหนี้สินของประชาชน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 50.99 มีภาระหนี้สินที่ต้องรับผิดชอบ ลดลงร้อยละ 62.52 จากผลสำรวจปี 2566 เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า พนักงานของรัฐ เกษตรกร และพนักงานเอกชน เป็นกลุ่มอาชีพที่มีสัดส่วนการมีภาระหนี้มากที่สุด ที่ร้อยละ 68.18 ร้อยละ 57.16 และร้อยละ 53.15 ตามลำดับ สอดคล้องกับผลการสำรวจของปี 2566 ขณะที่กลุ่มนักศึกษาและผู้ไม่ได้ทำงานและเกษียณอายุมีสัดส่วนการมีภาระหนี้น้อยที่สุด ที่ร้อยละ 20.51 และ ร้อยละ 26.74 ตามลำดับ

ส่วนการจำแนกตามกลุ่มรายได้ พบว่า กลุ่มผู้มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่ 100,000 บาทขึ้นไป เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการมีภาระหนี้สินมากที่สุด ที่ร้อยละ 81.25 รองลงมา คือ กลุ่มรายได้ระหว่าง 50,001–100,000 บาท ที่ร้อยละ 76.15 และกลุ่มรายได้ระหว่าง 40,001–50,000 บาท ที่ร้อยละ 62.96 ทั้งนี้ จากผลสำรวจมีข้อสังเกตว่ารายได้มีลักษณะแปรผันตรงกับสัดส่วนการมีภาระหนี้ หรือกล่าวคือกลุ่มที่มีรายได้สูงขึ้นจะมีสัดส่วนของผู้ที่มีภาระหนี้มากขึ้น

         นายพูนพงษ์ กล่าวว่า สาเหตุของการเกิดหนี้ในภาพรวม พบว่า การซื้อและผ่อนอสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย และ ยานพาหนะ เป็นสาเหตุการเกิดภาระหนี้มากที่สุดที่ร้อยละ 27.47 รองลงมา คือ การเกิดภาระหนี้จากค่าใช้จ่ายประจำที่เพิ่มสูงขึ้น ที่ร้อยละ 25.56 และการเกิดภาระหนี้เพื่อการลงทุน ที่ร้อยละ 11.94 และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่ไม่ได้ทำงานและเกษียณอายุมีค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่เพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาระหนี้มากที่สุด ซึ่งอาจสะท้อนถึงสถานการณ์เศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน

โดยประเภทของหนี้สินในภาพรวม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีภาระหนี้ มีสัดส่วนเป็นภาระหนี้ในระบบมากที่สุด ที่ร้อยละ 79.89 รองลงมาด้วยการมีภาระหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ที่ร้อยละ 13.53 และสัดส่วนภาระหนี้นอกระบบ ที่ร้อยละ 6.58 ซึ่งลดลงเล็กน้อยจากผลการสำรวจในปี 2566 ที่ร้อยละ 7.19 เมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า พนักงานของรัฐเป็นผู้มีสัดส่วนภาระหนี้ในระบบมากที่สุดที่ร้อยละ 90.37 รองลงมา คือ เจ้าของกิจการ และนักศึกษา

ขณะที่เกษตรกรถือเป็นอาชีพที่มีสัดส่วนการมีหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบมากที่สุด ที่ร้อยละ 22.20 และอาชีพรับจ้างอิสระเป็นอาชีพที่มีสัดส่วนการมีภาระหนี้นอกระบบมากที่สุด ที่ร้อยละ 15.59 ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของกลุ่มอาชีพที่ไม่มีรายได้ที่ชัดเจนและแน่นอน และเมื่อพิจารณาจำแนกตามกลุ่มรายได้ พบว่า กลุ่มที่มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 20,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการมีภาระหนี้นอกระบบและภาระหนี้ในทั้งสองระบบมากที่สุด ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม อาจสะท้อนถึงปัญหาภาระหนี้ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีรายได้ไม่สูงมากนัก ซึ่งจำเป็นต้องหาแนวทางแก้ไขเพื่อบรรเทาภาระหนี้ของประชาชนกลุ่มดังกล่าว

สำหรับ รูปแบบหนี้สินในภาพรวม พบว่า มีรูปแบบหนี้จากการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินมากที่สุดที่ร้อยละ 28.90 ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อน (ที่ร้อยละ 48.44) ตามมาด้วยหนี้บัตรเครดิต ที่ร้อยละ 24.45 และหนี้จากการกู้ยืมสหกรณ์ที่ร้อยละ 15.63 ขณะที่พนักงานเอกชนและกลุ่มผู้มีรายได้ต่อเดือน 40,001–50,000 บาท เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนหนี้จากบัตรเครดิตมากที่สุด และพนักงานของรัฐและผู้ไม่ได้ทำงานและเกษียณอายุมีสัดส่วนหนี้สินจากการกู้สหกรณ์มากที่สุด

โดยการชำระหนี้รายเดือน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีหนี้ในระบบที่ต้องชำระ ไม่เกิน 10,000 บาทมากที่สุด ที่ร้อยละ 56.79 รองลงมา คือ ชำระหนี้ 10,001–30,000 บาท ที่ร้อยละ 28.58 และชำระหนี้ 30,001–50,000 บาท ที่ร้อยละ 4.70 และในส่วนการชำระหนี้นอกระบบ มีผลการสำรวจสอดคล้องกัน กล่าวคือ ผู้ที่มีหนี้สินนอกระบบ มีการชำระหนี้รายเดือนไม่เกิน 10,000 มากที่สุด ที่ร้อยละ 23.69 รองลงมา คือ การชำระหนี้นอกระบบ 10,001–30,000 บาท และ 30,001–50,000 บาท ตามลำดับ

 

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

แถลงการณ์ร่วมสถานการณ์ภาคเศรษฐกิจจริงและระบบทางก...
มูลนิธิ EDF ชวนเปลี่ยนอนาคตมอบทุนการศึกษาให้นักเ...
ออร์บิกซ์ คัสโทเดียน เปิดตัวทางการ ‘ผู้ให้บริการ...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศเกณฑ์รางวัล SET Awards ประ...
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับการรับรองการตั้งเป้าหมาย N...

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!

แถลงการณ์ร่วมสถานการณ์ภาคเศรษฐกิจจริงและระบบทางการเงิน จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว (28 มี.ค. 68)
แถลงการณ์ร่วมสถานการณ์ภาคเศรษฐกิจจริงและระบบทางการเงิน จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว (28 มี.ค. 68) ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศไทยเมื่อช่วงบ่า...

Read more

มูลนิธิ EDF ชวนเปลี่ยนอนาคตมอบทุนการศึกษาให้นักเรียนยากไร้ 4,536 คน
มูลนิธิ EDF ชวนเปลี่ยนอนาคตมอบทุนการศึกษาให้นักเรียนยากไร้ 4,536 คน           มูลนิธิ EDF (มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพั...

Read more

ออร์บิกซ์ คัสโทเดียน เปิดตัวทางการ ‘ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลรายแรกของไทย’ ที่ได้ใบอนุญาตฯ
ออร์บิกซ์ คัสโทเดียน เปิดตัวทางการ ‘ผู้ให้บริการรับฝากสินทรัพย์ดิจิทัลรายแรกของไทย’ ที่ได้ใบอนุญาตฯ           ออร์บิกซ์ คั...

Read more

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศเกณฑ์รางวัล SET Awards ประจำปี 2568 พร้อมรายชื่อ บจ. ผ่านคัดกรองเบื้องต้น
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศเกณฑ์รางวัล SET Awards ประจำปี 2568 พร้อมรายชื่อ บจ. ผ่านคัดกรองเบื้องต้น           ตลาดหลักทรัพย์ฯ ...

Read more

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับการรับรองการตั้งเป้าหมาย Net Zero 2050 จาก SBTi พร้อมเดินหน้าตามแผนสู้วิกฤตโลกเดือด
ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับการรับรองการตั้งเป้าหมาย Net Zero 2050 จาก SBTi พร้อมเดินหน้าตามแผนสู้วิกฤตโลกเดือด           นายอัส...

Read more