WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร้องข้าวแกงศูนย์อาหารหน่วยราชการแพงพาณิชย์บี้ต้องลดราคาลงอีก

   แนวหน้า : นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายในเปิดเผยว่า กรมการค้าภายในได้รับการร้องเรียนจากประชาชนและข้าราชการในหน่วยงานราชการที่เป็นหน่วยงานให้บริการประชาชนส่วนใหญ่ ผ่านสายด่วน 1569 ว่า ต้องการให้กรมฯ เข้าไปดูแล การขายอาหารภายในศูนย์อาหาร ที่มีการคิดราคาอาหารเมนูต่อจานในราคาที่แพง หรือเทียบเท่าห้างสรรพสินค้า เฉลี่ยจานละ 35-45 บาท ทั้งนี้กรมฯได้ส่งทีมสำรวจและขอความร่วมมือไปยังสถานที่เหล่านั้นบ้างแล้ว และจะมีการเชิญส่วนราชการที่ให้บริการประชาชนเข้าหารือ หลังขอความร่วมมือไปแล้ว แต่ประชาชนก็ยังมีการร้องเรียนเข้ามา

    "หน่วยงานของส่วนราชการจะไปคิดราคาอาหารต่อจานเท่ากับห้างสรรพสินค้าไม่ได้ โดยกรมจะเชิญส่วนราชการ โดยเน้นส่วนราชการที่ให้บริการประชาชนเข้ามาหารือก่อน เพราะการคิดราคาอาหารต่อจานในส่วนราชการจะต้องมีราคาไม่แพง หรือเท่ากับห้าง เนื่องจากการเรียกเก็บค่าเช่าพื้นที่ของส่วนราชการจะเก็บ เพื่อใช้เป็นสวัสดิการของส่วนราชการนั้นๆ โดยไม่เกี่ยวข้องต้องเก็บค่าเช่าไปจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ที่ราชการมีระบบการจ่ายงบประมาณตรงนี้อยู่แล้ว"

    อย่างไรก็ตาม กรมฯจะส่งทีมสำรวจไปดูแลในส่วนของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทที่หน่วยงานภาครัฐดูแล ซึ่งเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาประมูลศูนย์อาหารภายในองค์กร หลังจากได้รับการร้องเรียนมาเช่นกันว่ามีการขายอาหารต่อจานที่แพงเทียบเท่ากับห้างสรรพสินค้า โดยร้านอาหารอ้างว่าตนถูกคิดค่าเช่าที่แพงมาก ซึ่งกรมฯจะส่งทีมสำรวจข้อมูลปัญหาตรงนี้อีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้นำข้อมูลส่วนนี้เป็นฐานไปหามาตรการกันต่อไป

   ด้านนายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ควรยกเลิกมาตรการควบคุมราคาสินค้าในลักษณะการขอความร่วมมือให้ผู้ผลิตสินค้าตรึงราคาจำหน่าย เพราะเป็นบิดเบือนกลไกตลาด แต่ควรหันมาใช้วิธีร่วมมือกับห้างค้าปลีกสมัยใหม่ หรือ โมเดิร์นเทรด ในการจัดจำหน่ายสินค้าจำเป็น โดยแบ่งสินค้าออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับพรีเมี่ยม เป็นสินค้าคุณภาพพิเศษ และสินค้าที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล ให้มีราคาต่ำกว่าปกติ 10 % เพื่อดูแลประชาชนที่มีรายได้น้อย และเป็นทางเลือกในการบริโภคสินค้าในชีวิตประจำวัน เช่น ข้าวสาร สบู่ ยาสีฟัน และน้ำมันพืช ซึ่งต้องจัดงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ทดแทนการทำโครงการธงฟ้า ซึ่งเป็นการซื้อแพง-ขายถูก

    ส่วนสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าวเปลือก ยังจำเป็นต้องอุดหนุนราคา เพื่อให้เกษตรกรได้รับผลตอบแทนที่เพียงพอที่จะดำรงชีพ ซึ่งแนวคิดการกำหนดราคาอุดหนุน ด้วยการนำราคาต้นทุนการผลิตบวกกำไร 40 % เป็นแนวทางที่เหมาะสม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!