WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC-Somkiatพาณิชย์ เล็งหั่นเป้าส่งออกปีนี้ จากเดิมคาดโต 1.2% หลังส่งออก มิ.ย.58 ติดลบ 7.87% ต่ำสุดในรอบ 3 ปี 6 เดือน

     พาณิชย์ เล็งหั่นเป้าส่งออกปีนี้ จากเดิมคาดโต 1.2% หลังส่งออก มิ.ย.58  ติดลบ 7.87% ต่ำสุดในรอบ 3 ปี 6 เดือน  ส่วนนำเข้า  มิ.ย.58 ติดลบ 0.21 % ส่งผลเกินดุลการค้า150 ล้านดอลล์ แต่คาดส่งออก ก.ค. 58 ปรับตัวดีขึ้น คาดสินค้ากลุ่มยานยนต์และสินค้าเกษตรหนุน

  นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงฯ อยู่ระหว่างพิจารณาตัวเลขการส่งออกของทั้งปี 2558 ใหม่ จากเดิมคาดโต 1.2% หลังตัวเลขการส่งออก ในเดือน มิ.ย.2558  มีมูลค่า 1.82 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.87% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็น การลดลงเป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน และต่ำสุดในรอบ 3 ปี 6 เดือน

   ขณะที่การส่งออก 6 เดือน(ม.ค.-มิ.ย.)มีมูลค่า 106,856 ล้านดอลลาร์ หรือลดลง 4.84% เนื่องจากการส่งออกยานยนต์และส่วนประกอบหดตัวสูงจากการเปลี่ยนรุ่นรถกระบะ ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว สินค้าเกี่ยวข้องกับน้ำมันมีมูลค่าส่งออกต่ำตามราคาน้ำมัน และสินค้าเกษตรมีมูลค่าส่งออกต่ำตามราคาในตลาดโลก ทั้งนี้จะมีการปรับเป้าหมายการส่งออกปีนี้ที่ 1.2% หรือไม่ อยู่ระหว่างการพิจารณา 

  "มูลค่าการส่งออกของไทยเดือนมิถุนายน และครึ่งปีแรกของปี 2558 ยังคงลดลง เนื่องจากการส่งออกยานยนต์และส่วนประกอบหดตัวสูงจากการเปลี่ยนรุ่นรถกระบะ ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว สินค้าเกี่ยวข้องกับน้ำมันมีมูลค่าส่งออกต่ำตามราคาน้ำมัน และสินค้าเกษตรมีมูลค่าส่งออกต่ำตามราคาในตลาดโลก ในขณะที่ข้อมูลการนำเข้าของตลาดล่าสุดแสดงว่าไทยยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาด (Market Share) ในตลาดสำคัญไว้ได้ "

   โดยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศในรูปของเงินบาท การส่งออกเดือนมิถุนายน 2558 มีมูลค่า 603,382 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -5.12 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) และระยะ 6 เดือน (ม.ค. - มิ.ย. 58) มีมูลค่า 3,476,861 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -3.99 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (AoA) ในขณะที่การนำเข้าเดือนมิถุนายน 2558 มีมูลค่า 605,534 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.81 (YoY) และระยะ 6 เดือน (ม.ค. - มิ.ย. 58) มีมูลค่า 3,404,979 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -7.00 (AoA) ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศเดือนมิถุนายน 2558 ขาดดุล 2,152 ล้านบาท และระยะ 6 เดือน (ม.ค. - มิ.ย. 58) เกินดุล 71,881 ล้านบาท

    มูลค่าการค้าระหว่างประเทศในรูปของเงินเหรียญสหรัฐฯ การส่งออกเดือนมิถุนายน 2558 มีมูลค่า 18,162 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -7.87 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) และระยะ 6 เดือน (ม.ค. - มิ.ย. 58) มีมูลค่า 106,856 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -4.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (AoA) ในขณะที่การนำเข้าเดือนมิถุนายน 2558 มีมูลค่า 18,012 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -0.21 (YoY) และระยะ 6 เดือน (ม.ค. - มิ.ย. 58) มีมูลค่า 103,383 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -7.91 (AoA) ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศเดือนมิถุนายน 2558 เกินดุล 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ระยะ 6 เดือน (ม.ค. - มิ.ย. 58) เกินดุล 3,473 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

  มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรหดตัวตามราคาสินค้าเกษตรโลก โดยภาพรวมเดือนมิถุนายน 2558 ลดลงร้อยละ -4.1 (YoY) ตามทิศทางของราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่ยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญจะมีปริมาณส่งออกสูงขึ้นก็ตาม โดยเฉพาะยางพาราซึ่งเป็นสินค้าเกษตรส่งออกอันดับหนึ่งของไทย เดือนนี้มูลค่าส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 18 เดือน ขยายตัวร้อยละ 4.4 (YoY) แต่ราคายางพารายังคงอยู่ในระดับต่ำ เช่นเดียวกับ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป และผลไม้กระป๋องและแปรรูป มูลค่าการส่งออกยังขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 24.6 20.1 และ 6.3 (YoY) ตามลำดับในขณะที่ ข้าว น้ำตาลทราย และอาหารทะเลแช่งแข็งและแปรรูป มูลค่าการส่งออกยังคงหดตัวลง

    มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงหดตัวลง โดยภาพรวมเดือนมิถุนายน 2558 ลดลงร้อยละ -7.7 (YoY)  ผลจากสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยคือรถยนต์และส่วนประกอบ หดตัวสูงถึงร้อยละ -19.1 (YoY) ซึ่งผลมาจากการหดตัวของการส่งออกรถกระบะที่หดตัวสูงถึงร้อยละ -48.3 (YoY) จากการเปลี่ยนรุ่น ซึ่งคาดว่าจะเป็นปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น ขณะที่การส่งออกรถยนต์นั่ง และส่วนประกอบยานยนต์ยังขยายตัว สำหรับมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันดิบหรืออุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างการใช้วัตถุดิบซึ่งมาจากการกลั่นปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ยังคงลดลงจากปีก่อนหน้ามากตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว แต่ปริมาณการส่งออกน้ำมันยังคงขยายตัวสูงถึงร้อยละ 28.5 (YoY) ส่วนการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำคัญอย่างทองคำ กลับมาหดตัวสูงถึงร้อยละ -49.7 (YoY) เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลง

    ทั้งนี้ หากไม่รวมสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันและทองคำ มูลค่าการส่งออกรวมของไทยในเดือนมิถุนายน2558 จะหดตัวร้อยละ -5.8 (YoY) ในขณะที่สินค้ากลุ่มอุตสาหกรรมหักสินค้าเกี่ยวข้องกับน้ำมันและทองคำ จะหดตัวที่ร้อยละ -5.6 (YoY)

   ตลาดส่งออก โดยตลาด สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภายุโรป (15) จีน และอาเซียน หดตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก แต่กลุ่ม CLMV ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาหดตัวร้อยละ -0.1 (YoY) เป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน จากการลดลงของการส่งออกรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ เช่นเดียวกับการส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป (15) ลดลงร้อยละ -4.2 และ -7.1 (YoY) ตามลำดับ รวมทั้งการส่งออกไปจีน เริ่มหดตัวเล็กน้อยร้อยละ -0.8 (YoY) จากการลดลงของการส่งออกเคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง และเม็ดพลาสติก ในขณะที่ตลาด CLMV ยังคงมีอัตราการขยายตัวต่อเนื่องสูงถึงร้อยละ 10.8 (YoY) โดยเฉพาะกัมพูชาและเวียดนาม  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการค้าชายแดน

   ด้านปัจจัยที่มีผลกระทบให้การส่งออกของไทยหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2558 เป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ดังนี้

   1)ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและตลาดคู่ค้าหลักในปัจจุบันที่ชะลอตัว โดยเฉพาะสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ส่งผลให้การนำเข้าของเกือบทุกประเทศทั่วโลกยังคงหดตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าของประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ ญี่ปุ่น (-21.2%)  จีน (-21.0%) ฝรั่งเศส (-19.2%) เกาหลีใต้ (-16.0%) สหราชอาณาจักร (-8.6%) สหรัฐฯ (-3.9%)

   2)  ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงชะลอตัวลง โดยในเดือนมิถุนายน 2558 ลดลงถึงร้อยละ -42.8 (YoY) ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก แต่อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกน้ำมันยังคงขยายตัวสูงถึงร้อยละ 28.5 (YoY)

   3)  ราคาสินค้าเกษตรโลกปรับตัวลดลงมาก ทำให้มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรลดลง โดยเฉพาะยางพาราและน้ำตาลทราย ในขณะที่ปริมาณการส่งออกยังคงขยายตัวร้อยละ 22.3 และ 6.4 (YoY) ตามลำดับ

   4) การแข็งค่าของเงินบาทและการลดลงของค่าเงินของประเทศผู้ผลิตสำคัญ ส่งผลต่อราคาส่งออกสินค้าไทยและราคาสินค้าสำคัญในตลาดโลก โดยค่าเงินบาทนับตั้งแต่ต้นปี 2558 มีมีทิศทางแข็งค่าเมื่อเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งเนื่องจากหลายประเทศมีการใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทแนวโน้มอ่อนค่าลงซึ่งคาดว่าจะช่วยส่งเสริมภาคการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตรพื้นฐานจะมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคามากขึ้น

   5)  การหดตัวของการส่งออกสินค้ากลุ่มรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว เนื่องจากอยู่ในช่วงการเปลี่ยนรุ่นรถกระบะ ขณะที่การส่งออกรถยนต์นั่ง และส่วนประกอบรถยนต์ยังคงขยายตัว คาดว่าการส่งออกสินค้ากลุ่มรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จะกลับมาขยายตัวได้ดีในช่วงไตรมาสที่ 3 – 4 ของปี 2558 โดยอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เริ่มมีสัญญาณการขยายตัวที่ดีขึ้นจากการที่มูลค่านำเข้าสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ที่กลับมาขยายตัวในเดือนมิถุนายน 2558 ที่ร้อยละ 6.6 (YoY)

   อัตราหดตัวของมูลค่าส่งออกของไทยยังจัดว่าอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยสถิติส่งออกล่าสุดถึงเดือนพฤษภาคม 2558 เกือบทุกประเทศทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกติดลบมากกว่าไทย อาทิ ออสเตรเลีย (-21.9%) ฝรั่งเศส (-16.8%)  สิงคโปร์ (-13.3%) มาเลเซีย (-13.1%) ญี่ปุ่น (-7.8%)  เกาหลีใต้ (-5.7%) สหรัฐฯ (-5.2%)

   ด้านการนำเข้าเดือน มิ.ย. 58 มีมูลค่า 1.80 หมื่นล้านดอลลาร์ ลดลง  0.21% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนขณะที่นำเข้า 6 เดือน(ม.ค.-มิ.ย.) ติดลบ7.91% ส่งผล ให้ไทยเกินดุลการค้า 150 ล้านดอลล์ ขณะที่ดุลการค้า 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) เกินดุล 3,473 ล้านดอลลาร์

  อย่างไรก็ตาม มองว่า แนวโน้มการ การส่งออกเดือนก.ค.คาดมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากการปรับตัวดีขึ้นในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ปัจจุบันติดลบ 19.1% และกลุ่มสินค้าเกษตรจะปรับตัวดีขึ้น

  ส่วนกรณีที่สหรัฐเตรียมประกาศการจัดอันดับประเทศที่ถูกจับตาเรื่องกฎหมายแรงงานนั้น ยืนยันว่าจะไม่กระทบกับภาคการส่งออกของไทยในปีนี้

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!