WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

TNSC2สรท.ปรับเป้าส่งออกทั้งปีติดลบ 4.2% หลังมิ.ย.ร่วง 7.8%ต่ำสุดรอบ 6 ปี

       แนวหน้า : นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงแนวโน้มการส่งออก ว่า การส่งออกของไทยในเดือน มิ.ย.ที่ลดลง 7.87% ถือว่าลดลงต่ำสุดในรอบ 6 ปี นับตั้งแต่ปี 2552 ที่ประเทศไทยประสบกับวิกฤตแฮมเบอเกอร์ ที่ส่งออกลดลงถึง 14.26% ดังนั้น สรท.จึงได้ปรับเป้าการส่งออกในปีนี้เป็นครั้งที่ 2 มาอยู่ที่ ลดลง 4.2% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นการลดลงที่เพิ่มขึ้นจากเป้าเดิมที่คาดว่าจะลดลง 2%

      โดยใน 6 เดือนแรกของปีมียอดรวมอยู่ที่ 17,800 ล้านดอลลารสหรัฐ/เดือน หรือลดลงประมาณ 900 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นยอดส่งออกที่ลดลงอันเนื่องมาจากราคาน้ำมันโลกตกต่ำทำให้สินค้าใน 4 กลุ่มมียอดลดลง ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ พลาสติก และยางพารา ซึ่งเป็นตัวฉุดรายได้ลดลง 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/เดือน ที่เหลืออีก 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่ลดลงมาจากสินค้าอื่นๆ เช่น น้ำตาล กุ้ง อาหารทะเล เป็นต้น ส่งผลให้ยอดรวมในครึ่งปีแรกการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐจะลดลง 4.8% แต่ถ้าในรูปเงินบาทคาดจะลดลง 4%

     นายนพพร กล่าวว่า ใน 6 เดือนหลังของปีนี้ จะดีกว่าในครึ่งปีแรกเล็กน้อย คาดว่าจะมียอดส่งออกเฉลี่ย 18,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/เดือน หรือลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 700 ดอลลาร์สหรัฐ/เดือน ซึ่งในจำนวนนี้จะมาจากสินค้า 4 กลุ่ม ที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมันโลกฉุดยอดส่งออกลดลง 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อีก 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ/เดือนมาจากสินค้ากลุ่มอื่นๆ โดยยอดรวมในครึ่งปีหลังหากคิดเป็นดอลลาร์สหรัฐจะลดลง 3.6% แต่ถ้าคิดในรูปค่าเงินบาทอย่างคร่าวๆจะลดลง 2 - 2.5% ส่งผลให้ทั้งปีในรูปดอลลาร์สหรัฐจะลดลง 4.2% แต่ถ้าเป็นเงินบาทคาดว่าจะลดลง 2.5 - 3%

      "จากยอดส่งออกรวมทั้งปีที่คาดว่าจะลดลง 4.2% จะมาจากสินค้า 4 กลุ่มที่ลดลงตามราคาน้ำมันโลกประมาณ 2.5% ซึ่หากตัดในส่วนเป็นผลมาจากราคาน้ำมัน จะทำให้ยอดส่งออกลดเพียง 1.7% ซึ่งจากตัวเลขนี้จะเห็นว่าตัวเลขติดลบที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มาจากขีดความสามารถทางการแข่งขันที่ลดลง แต่จะมาจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลงเป็นหลักและมาจากเศรษฐกิจโลกที่หดตัว อย่างไรก็ตามหากในอนาคตอันใกล้ไทยไม่เร่งปรับโครงสร้างการผลิตไปสู่สินค้าชนิดใหม่ๆที่ทันสมัยได้ศักยภาพการแข่งขันก็จะลดลงเรื่อยๆจนแพ้คู่แข่งในภูมิภาค" นายนพพร กล่าว

     ด้าน นายวัลลภ วิตนากร รองประธาน สรท.กล่าวว่า ในครึ่งปีหลังคาดว่าค่าเงินบาทจะผันผวนอย่างรวดเร็ว โดยค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจะไม่ช่วยการส่งออกในระยะสั้น เพราะว่าได้รับออเดอร์มาล่วงหน้ามาหลายเดือนแล้ว แต่จะเห็นผลบวกได้ในช่วงปลายไตรมาส 4 ทั้งนี้ คาดว่าในเดือน ก.ค.คาดว่าการส่งออกจะลดลง 2.5% เดือน ส.ค.ลดลง 2.5% เดือน ก.ย.ลดลง 6% เดือน ต.ค.ลดลง 7% เดือน พ.ย. ลดลง 2% และเดือน ธ.ค.ลดลง 2% ทำให้ยอดรวมเฉลี่ยในครึ่งปีจะลดลง 3.6% และทั้งปีจะลดลง 4.2% มีมูลค่าการส่งออกรวม 2.18 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปีก่อนประมาณ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคิดเป็นเงินบาทจะลดลง 3 แสนกว่าล้านบาท ส่วนการส่งออกไปยังตลาดหลักๆ ของไทย คาดว่าในปีนี้การส่งออกไปสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้น 5% นอกจากนั้นลดลงหมด ได้แก่ อาเซียนลดลง 0.7% จีนลดลง 6.3% ญี่ปุ่นลดลง 8% ยุโรปลดลง 9.6% อื่นๆ ลดลง 7.8%

   นายวัลลภ กล่าวว่า จากการหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ สรท.พบว่า ปัญหาหลักที่สำคัญของการส่งออกไทยที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไขมีอยู่ 10 เรื่อง ได้แก่ 1.ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ รัฐบาลจะต้องหาวิธีที่จะก้าวข้ามโครงการประชานิยมอย่างไร และจะเพิ่มราคาสินค้าเกษตรได้อย่างไร 2.การบริโภคภายในประเทศที่หดตัว รัฐจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนและเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นตั้งแต่รากหญ้าไปจนถึงระดับกลาง 3.การแก้ไขปัญหาการส่งออกที่ลดลง 3 ปีซ้อน โดยการปรับโครงสร้างสินค้าส่งออกใหม่ให้ตรงกับการเปลี่ยนไปของตลาดโลก หากสินค้าใดแข่งค่าแรงไม่ได้ก็ต้องส่งเสริมให้ไปลงทุนต่างประเทศ

   4.ภาวะเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนไป โดยฉวยโอกาสในขณะนี้ที่ญี่ปุ่นได้ปรับเปลี่ยนนโยบายจากการพึ่งพาการนำเข้าและการเข้าไปลงทุนในจีน มายังซื้อสินค้าจากไทยมากขึ้น อันเนื่องมาจากความขีดแย้งทางการเมืองกับประเทศจีน และต้นทุนการผลิตสินค้าในระดับกลางถึงสูงของจีนแพงขึ้น เห็นได้จากในอดีตญี่ปั่นนำเข้าเสื้อผ้าจากจีนมากถึง 90% แต่ขณะนี้ลดเหลือ 70% ดังนั้นไทยจะต้องแย่งส่วนที่ย้านตลาดจีนใน 30% นี้มาให้ได้มากที่สุด ซึ่งในอนาคตสินค้ากลุ่มอื่นๆก็จะย้านออกจากจีนเช่นกัน ดังนั้นภาครัฐจะต้องมีนโยบายดึงดูดให้เข้ามาลงทุน หรือซื้อสินค้าจากไทยให้ได้ 5.ปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย หรือ IUU อาจทำให้สินค้าในกลุ่มประมงมีปัญหา ดังนั้นรัฐบาลจะต้องวางมาตรการรับมือและจับตาว่าจะส่งผลกระบกับไทยมากน้อยเพียงไร

      6.ปัญหาไม่ผ่านมาตรฐานการบินของ ICAO ซึ่งอาจทำให้ค่าระหว่างการขนส่งทางอากาศสูงขึ้น และมีพื้นที่ลดลง 7.ปัญหาการค้ามนุษย์ ที่ไทยยังถูงควที่อันดับ เทียร์ 3 อาจส่งผลต่อการส่งออกไปสหรัฐ 8.ภัยแล้ง ซึ่งแม้ว่าในปีนี้ความรุนแรงจะลดลงแต่รัฐบาลจะต้องวางมาตรการแก้ไขในระยะยาว เพราะส่งผลกระทบต่อปริมาณวัตถุดิบภายในประเทศ 9.ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลจะต้องสมดุลไม่เอียงไปด้านใดมากจนเกินไป รวมทั้งจะต้องเร่งรัดในเรื่องการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ และ 10.การลงทุนขยายฐานการผลิต ที่แม้ว่าจะมีเอกชนเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ เป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่มีการลงทุนจริง รัฐบาบควรเข้าไปกระตุ้นให้เกิดการลงทุนอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากรัฐบาลแก้ไขปัยหาทั้ง 10 ข้อนี้ก็จะทำให้การส่งออกไทยเติบโตอย่างยั่งยืน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!