WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCบณยฤทธ กลยาณมตร‘พาณิชย์’แฉต้นทุนผู้ผลิตลดลงต่อเนื่อง

       แนวหน้า : ‘พาณิชย์’แฉต้นทุนผู้ผลิตลดลงต่อเนื่อง จี้ค้าปลีกหั่นราคาลงอีก

        กรมการค้าภายใน เชิญผู้ผลิต ผู้ประกอบการค้าปลีก ถกปรับลดราคาสินค้าภายในสัปดาห์นี้ หลังราคาน้ำมันปรับลดลงต่อเนื่อง แฉหลายรายยังขายราคาเดิม ขณะที่บางรายการยอมลดลงแล้ว

        นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมจะเชิญผู้ผลิตสินค้า ผู้ประกอบการ และห้างค้าปลีก โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าที่ได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ลดลง รวมทั้งต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลงจากการนำเข้า เข้ามาหารือภายในสัปดาห์นี้ เพื่อขอรับฟังถึงต้นทุน ราคา และดูว่าทางภาคเอกชนจะสามารถลดราคาในสินค้ากลุ่มใดได้บ้าง ภายหลังจากที่ราคาน้ำมัน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซลได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้กับทุกฝ่าย

    ในเบื้องต้นกรม ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบต้นทุนและโครงสร้างราคาสินค้า พร้อมทั้งให้ลงพื้นที่ตรวจสอบราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับราคาสินค้าที่วางจำหน่ายในท้องตลาดอย่างใกล้ชิด

    นอกจากนี้ จากการลงพื้นที่ตรวจสอบของค้าภายในจังหวัด ทั่วประเทศนั้น พบว่าสินค้าส่วนใหญ่ยังคงจำหน่ายในราคาเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่มีบางส่วนที่จัดโปรโมชั่นราคา เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อของผู้บริโภค จะมีบางส่วนที่ราคาลดลงตามต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลงด้วย เช่น น้ำมันปาล์มขวด และข้าวถุง เป็นต้น

       รายงานข่าวระบุว่า การปรับลดราคาสินค้าครั้งล่าสุดภายหลังราคาน้ำมันปรับลดลงต่อเนื่อง เกิดขึ้นในช่วงเดือน ม.ค. 2558 ที่ผ่านมา โดยสินค้าที่ปรับลดราคาคือ น้ำมันหล่อลื่น เม็ดพลาสติก กระเบื้องมุงหลังคา กลุ่มเหล็กแผ่น เหล็กเส้น เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ ปูนซีเมนต์ และปุ๋ยเคมี

      ด้าน นางสาวชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจราคาสินค้าอุปโภคบริโภคพบว่าสถานการณ์ยังเป็นไปตามปกติ แต่กระทรวงพาณิชย์จะเพิ่มความถี่ในการตรวจสอบมากขึ้น และที่ผ่านมาภาคเอกชนก็ไม่มีการปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้น รวมถึงยังให้ความร่วมมือในการตรึงราคาสินค้าต่อเนื่อง ซึ่งการตรึงราคาสินค้าจะขยายไปจนถึงสิ้นปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดการขอความร่วมมือในเดือนพ.ย.นี้

    ส่วนสถานการณ์ราคาอาหารจานด่วนที่มีกระแสร้องเรียนว่าราคาสูงขึ้นนั้น ทางกระทรวงพาณิชย์จะเน้นการขยายร้านค้าหนูณิชย์ให้มากขึ้น โดยภายในสิ้นปีนี้จะเพิ่มเป็น 5,000 ร้านค้า จาก 3,000 ร้านค้า และปีหน้าจะขยายร้านค้าหนูณิชย์อีกเท่าตัว เป็น 10,000 ร้านค้า

      นางดวงกมล เจียมบุตร โฆษกกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงพาณิชย์ได้ปูพรมออกตรวจสอบร้านค้า ห้างสรรพสินค้า สถานีน้ำมัน ตลาดสดทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและในภูมิภาคว่า ปฏิบัติถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ อาทิ ตรวจสอบ

      ราคาสินค้า สำรวจภาวะสินค้า ตรวจสอบการปิดป้ายแสดงราคาสินค้าและบริการ ตรวจสอบปริมาณและมาตรฐานสินค้า ตรวจสอบเครื่องชั่งตวงวัด และจากผลการสำรวจในบางภูมิภาคส่วนใหญ่พบว่าประชาชนระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น กำลังซื้อลดลง

     สำหรับ สินค้าที่ปรับราคาลดลงในช่วงนี้มีน้ำมันพืชปาล์ม ขวด 1 ลิตร จากเดิม 42 บาท ลดลงเหลือ 36 บาท น้ำมันถั่วเหลือง จากเดิม 51-52 บาท ลดลงเหลือ 47-48 บาท นมผงเด็ก น้ำยาปรับผ้านุ่ม ผงซักฟอก ราคาสินค้าลดลงร้อยละ 10-20 หมูเนื้อแดง จากเดิม 150 บาท/กก. ลดลงเหลือ 140 บาท ส่วนการดูแลการนำเข้าพืชเกษตร เช่น ข้าวสาลี และกากข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้องไม่ให้กระทบราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศด้วย

      “ปัญหาค่าครองชีพ เป็นนโยบาย 1 ใน 4 เรื่อง ที่รมว.พาณิชย์ต้องดำเนินการเร่งด่วน เพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นระหว่างผู้บริโภค ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ ไม่ให้มีการเอารัดเอาเปรียบกัน ขณะที่ต้องกำกับดูแลให้สินค้ามีความเพียงพอต่อการบริโภค มีคุณภาพถูกต้อง ครบถ้วน รวมถึงการสร้างทางเลือกในการบริโภคแก่ประชาชนด้วย”นางดวงกมล กล่าว

      แหล่งข่าวจาก กรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า การเก็บภาษีของกรมในเดือนส.ค.2558 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเดือนที่ 11 ของปีงบประมาณ 2558 เก็บได้ 3.68 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 2,300 ล้านบาท หรือประมาณ 7% ซึ่งเป็นการเก็บภาษีน้ำมันได้เกินเป้า 6,700 ล้านบาท หรือ 121% จากการปรับเพิ่มอัตราภาษีและปริมาณการใช้น้ำมันที่เพิ่มขึ้นจากราคาน้ำมันที่ถูกลงมาก นอกจากนี้ยังเก็บภาษีเครื่องดื่มได้เกินเป้า 40 ล้านบาท หรือ 3%

      อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาษีบาปทุกตัวเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้าทั้งหมด เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รายได้ของประชาชนลดลงมาก โดยเฉพาะรายได้ของผู้มีรายได้น้อย ส่งผลให้เก็บภาษีเบียร์เก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 179 ล้านบาท หรือ 3%

     ภาษีสุราเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 1,400 ล้านบาท หรือ 23% ภาษียาสูบเก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 131 ล้านบาท หรือ 2%

     นอกจากนี้ การเก็บภาษีรถยนต์ก็ยังต่ำกว่าเป้าหมาย 2,600 ล้านบาท หรือ 30% และภาษีรถจักรยานยนต์เก็บได้ต่ำกว่าเป้า 42 ล้านบาท หรือ 16% ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

      สำหรับ การเก็บภาษีของกรมสรรพสามิตในรอบ 11 เดือน เก็บได้ 4.03 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 1.69 หมื่นล้านบาท หรือ 4% เนื่องจากการเก็บภาษีน้ำมัน และเครื่องดื่ม สูงกว่าเป้าหมาย ส่วนภาษีรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เบียร์ สุรา ยังต่ำกว่าเป้าหมาย

      ก่อนหน้านี้ กรมสรรพากรได้ประมาณการว่า การเก็บภาษีในปีงบประมาณ 2558 จะต่ำกว่าเป้าหมาย 1.6 แสนล้านบาท เนื่องจากตั้งเป้าไว้สูงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดไว้ เช่นเดียวกับกรมศุลกากรคาดว่าจะเก็บภาษีทั้งปีได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 8,000 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังคาดว่าการเก็บรายได้รวมทั้งปีจะต่ำกว่าเป้าหมายเบื้องต้นถึง 1.6 แสนล้านบาท แต่ที่ผ่านมาได้ขอเงินจากรัฐวิสาหกิจและกองทุนต่างๆ ส่งให้คลังเพิ่ม ทำให้คาดว่าจะเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมายเหลือเพียง 5-6 หมื่นล้านบาท

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!