WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

mocนนทวลย ศกนตนาคขึ้นทะเบียน GI มุกภูเก็ต-ชาเชียงราย สร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าชุมชน

     แนวหน้า : นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมทรัพย์สิน ทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้มีการประกาศขึ้นทะเบียนสินค้า "มุกภูเก็ต" และ "ชาเชียงราย" เป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) หลังจาก ที่ได้ประกาศโฆษณาเป็นระยะเวลา 90 วันแล้ว ปรากฏว่า ไม่มีผู้ใดยื่นคำขอคัดค้านการขึ้นทะเบียนสินค้าดังกล่าวแต่อย่างใด

     "การขึ้นทะเบียน GI เป็นการทำประโยชน์ให้แก่ ชุมชนท้องถิ่นที่ผลิตสินค้า โดยการใช้ GI เป็นเครื่องมือ ในการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น มาตรฐานการผลิต และ เป็นเครื่องมือทางการตลาด เพื่อยกระดับสินค้าและเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าชุมชน ซึ่งกรมทรัพย์สินทางปัญญา ตั้งเป้าในปีงบประมาณ 2560 จะส่งเสริมให้สินค้า GI เป็นที่รู้จัก ยอมรับ และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค"นางนันทวัลย์ กล่าว

     สำหรับ ในส่วนของ 'มุกภูเก็ต'นั้น มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ หมายถึง มุกกลมและมุกซีก ที่มี สีโทนขาว ครีม ชมพู ถึงเหลืองทอง ด้วยกระบวนการผลิตตามวิธีการที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาในบริเวณทะเลรอบเกาะภูเก็ตและเกาะบริวารภาย ในเขตจ.ภูเก็ต โดยจากลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ในทะเลฝั่งอันดามัน การขึ้นลงของน้ำวันละ 2 ครั้ง (เช้า-เย็น) ทำให้น้ำในแถบอันดามันสะอาด และมีการพัดพาของตะกอนสารอินทรีย์มากกว่าพื้นที่อื่นๆ ทำให้มีความสมบูรณ์ของแพลงตอน อาหารธรรมชาติสำหรับหอยมุก และมีอุณหภูมิเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหอย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการเจริญเติบโตของหอยมุก ทำให้หอยมุกโตเร็ว ส่งผลให้สร้างมุกได้เร็วขึ้น

     ส่วน 'ชาเชียงราย' มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์  หมายถึง ผลิตภัณฑ์ชาเขียว (ชาที่ไม่ผ่านกระบวนการหมัก) และชาอู่หลง (ชาที่หมักเพียงบางส่วน) ที่ได้ จากพันธุ์ชาอัสสัม และพันธุ์ชาจีน โดยปลูกและผลิต ตามกรรมวิธีเฉพาะ ตามหลักการผลิตชา ในพื้นที่ อ.เมือง อ.แม่สรวย, อ.เวียงป่าเป้า, อ.แม่ลาว, อ.แม่จัน, อ.แม่ฟ้าหลวง, อ.เชียงของ, อ.เวียงเชียงรุ้ง และ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โดยสินค้าที่ใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ "ชาเชียงราย" จะต้องได้รับการตรวจสอบ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ตามเกณฑ์มาตรฐานของชาเชียงราย ซึ่งเป็นมาตรฐานกลางของจ.เชียงราย ที่จัดทำ ขึ้นโดยสถาบันชา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง สมาคมชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจ.เชียงราย

      นางนันทวัลย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมีสินค้า GI ที่ขึ้นทะเบียนแล้วจำนวน 74 คำขอ เป็น สินค้าไทยที่ขึ้นทะเบียน GI จำนวน 63 สินค้า เช่น ไข่เค็มไชยา, ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง, ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง, ข้าวไร่ลืมผัวเพชรบูรณ์, ผ้าครามธรรมชาติสกลนคร, เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง, กล้วยเล็บมือนาง ชุมพร, ผ้าไหมมัดหมี่ซิ่นตีนแดงบุรีรัมย์ เป็นต้น และสินค้าต่างประเทศที่ขึ้นทะเบียน GI จำนวน 11 สินค้า เช่น ฟิสโก (สุรา) ประเทศเปรู, คอนยัค ประเทศฝรั่งเศส, สก็อตว์ วิสกี้ ประเทศสกอตแลนด์ เป็นต้น

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!