WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOC Somkiatสินค้า 200 รายการแพงขึ้นสวนกระแสเงินเฟ้อร่วง 10 เดือนติด

        แนวหน้า : นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนตุลาคม 2558 ว่า ดัชนี ราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ หรือเงินเฟ้อ เดือนตุลาคม 2558 เท่ากับ 106.49 ลดลง 0.77% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ลดลงต่อเนื่อง กันเป็นเดือนที่ 10 นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 เป็นต้นมา แต่ปรับสูงขึ้น 0.20% จากเดือนกันยายน 2558 ตามการปรับตัวสูงขึ้น ของราคาผักสด ผลไม้สดหลายชนิดในช่วงเทศกาลกินเจ ราคาอาหารสำเร็จรูปที่สูงขึ้น รวมถึงราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ ที่สูงขึ้นเล็กน้อย โดยในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีราคาสูงขึ้น 0.45% และหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ดัชนีราคาสูงขึ้น 0.06% โดยเฉลี่ย 10 เดือน (มกราคม-ตุลาคม 2558) ลดลง 0.89% ขณะที่ดัชนีผู้บริโภคพื้นฐาน ที่ไม่รวมกลุ่มอาหารสดและพลังงาน ในเดือนตุลาคมสูงขึ้น 0.95 เมื่อเทียบกับปีก่อน และสูงขึ้น 0.05% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

    ทั้งนี้ ในการสำรวจสินค้าสำคัญ 450 รายการ ในเดือนตุลาคม 2558 มีสินค้า ที่ราคาปรับตัวสูงขึ้น 200 รายการ เช่น ผักคะน้า ผักชี มะนาว ผักกาดขาว ผักบุ้ง ผักกาดหอม ถั่วฝักยาว เงาะ มะม่วง กล้วยหอม แก้วมังกร กับข้าวสำเร็จรูป อาหารแบบตะวันตก (ไก่ทอด พิซซ่า) น้ำอัดลม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ราคาน้ำมัน เชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ ค่าเช่าบ้าน น้ำยา ปรับผ้านุ่ม แป้งทาผิวกาย สบู่ถูตัว แชมพูสระผม กระดาษชำระ ผ้าอนามัย ค่าแต่งผมสตรี/ชาย และค่าห้องพักโรงแรม เป็นต้น

    ส่วนสินค้าที่ราคาไม่เปลี่ยนแปลง 149 รายการ และสินค้าที่ราคาปรับลดลง 101 รายการ เช่น เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ ผักสดและผลไม้บางชนิด น้ำมันพืช กะทิสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผงซักฟอก น้ำยาล้างจาน ยาสีฟัน น้ำหอม แป้งผัดหน้า แก๊สโซฮอล์ E85 แก๊สโซฮอล์ E20 ก๊าชยานพาหนะ(LPG) รถยนต์ เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับโทรทัศน์ และเครื่องรับโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

    "แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป และเงินเฟ้อพื้นฐานเริ่มปรับตัวสูงขึ้น และน่าจะปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงปลายปี ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว ราคาน้ำมัน และอาหารน่าจะปรับตัวขึ้นเล็กน้อย รวมถึงได้รับผลจากการ กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทำให้เกิดการใช้จ่าย ซึ่งไตรมาสที่ 4 เงินเฟ้อน่าจะปับตัวสูงขึ้นจากไตรมาส 3 ประมาณ 0.28% แต่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน ลดลง 0.34% และทั้งปี 2558 คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อจะอยู่ในกรอบ ลบ 0.2 ถึง ลบ 1%"

      สำหรับ ในปี 2559 คาดว่าเงินเฟ้อจะสูงขึ้น เพราะเชื่อว่าราคาน้ำมันไม่น่าจะต่ำกว่านี้ และอาจจะปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยในเดือนถัดไปกระทรวงพาณิชย์จะประกาศตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของปี 2559 อีกครั้ง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!