WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCอภรด ตนตราภรณพาณิชย์ เตรียมตัวรับข้อตกลงการค้าเสรี ไทย-ชิลี ประกาศใช้ 5 พ.ย.นี้ พร้อมผู้ประกอบการไทยบุกตลาดอเมริกาใต้

   นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ความตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐชิลี (The Free Trade Agreement between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the Republic of Chile: TCFTA) ที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ศกนี้  ความตกลงการค้าเสรี ไทย-ชิลี จัดเป็นความตกลงที่มีกรอบกว้าง คลอบคลุมทั้งเรื่องการเปิดเสรีในด้านการค้าสินค้าและการเปิดเสรีภาคบริการ นอกจากนี้ ยังรวมข้อบทที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจ อาทิ พิธีการศุลกากร การอำนวยความสะดวกทางการค้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เป็นต้น สำหรับข้อบทด้านการลงทุนจะมีการเจรจาภายใน 2 ปี นับจากความตกลงมีผลใช้บังคับ

    สำหรับ ในเรื่องของสินค้า ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับใช้ สินค้านำเข้าจากชิลีและไทย จำนวนร้อยละ 90 ของรายการสินค้าและมูลค่าการนำเข้าจะลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ทันที ส่วนสินค้าที่เหลืออีกร้อยละ 10 ทั้งสองฝ่ายจะทยอย ลดภาษีเป็นร้อยละ 0 ภายในระยะเวลา 8 ปี

    ความตกลงดังกล่าว ฝ่ายชิลีได้ให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ไทย จำนวน 7,855 รายการ โดยจะลดภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ทันทีในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 จำนวน 7,129 รายการ    ลดภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ภายใน 3 ปี (เริ่มเป็นศูนย์ใน ปี 2561) จำนวน 296 รายการ ลดภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ภายใน 5 ปี (เริ่มเป็นศูนย์ใน ปี 2563) จำนวน 283 รายการ และสินค้าอ่อนไหว (Sensitive Lists: SL) จะลดภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ภายใน 8 ปี (เริ่มเป็นศูนย์ใน ปี 2566) จำนวน 147 รายการ ซึ่งรายการสินค้าสำคัญที่ไทยส่งออกและจะเริ่มลดภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 ได้แก่ รถยนต์และยานยนต์ชนิดต่าง ๆ ปลาทูน่ากระป๋อง  ลิฟต์  เม็ดพลาสติกจำพวกโพลิเอทิลีน เครื่องซักผ้า วัสดุก่อสร้าง และสับปะรดกระป๋อง เป็นต้น สำหรับสินค้าข้าวนั้น ชิลีจะทยอยยกเลิกภาษีนำเข้าให้แก่ไทยภายใน ๕ ปี ซึ่งดีกว่าที่ชิลีเปิดตลาดข้าวให้กับเวียดนามและจีน

   นอกจากนี้ ไทยยังจะได้ประโยชน์จากการยกเลิกภาษีสินค้าที่ไทยมีความต้องการนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต อาทิ ทองแดง สินแร่เหล็ก เป็นต้น รวมทั้งลดภาษีไวน์ จำนวน 9 รายการในระดับเดียวกับที่ไทยได้เปิดตลาดให้ออสเตรเลีย  ทั้งนี้ สินค้าที่ชิลีส่งออกส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าในกลุ่มแร่ธาตุ ประมง และไวน์ และภาคธุรกิจที่เป็นหลักสำคัญของเศรษฐกิจชิลี คือ ภาคการค้าบริการ อาทิ การค้าปลีก การขนส่ง การสื่อสาร บริการทางการเงิน บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ การก่อสร้าง รวมทั้งโรงแรมและร้านอาหาร เป็นต้น

     ในภาคบริการ ไทยจะได้ประโยชน์จากการที่ชิลีเปิดตลาดโดยอนุญาตให้คนไทยเข้าไปลงทุนเกือบ   ทุกสาขาบริการได้ถึงร้อยละ 100 โดยเปิดตลาดเพิ่มเติมให้ไทยมากเกินกว่าในกรอบ WTO ได้แก่ บริการด้านกฎหมาย บริการให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ/วิศวกรรม บริการด้านคอมพิวเตอร์ บริการค้าส่ง/ค้าปลีก บริการเกี่ยวเนื่องภาคการผลิต ส่วนบริการนวดแผนไทยและบริการกีฬา/นันทนาการ รวมถึง มวยไทย ชิลีเปิดตลาดให้ไทยมากกว่าความตกลงการค้าเสรีอื่นๆ ที่ชิลีเป็นภาคี

   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายหลังความตกลงการค้าเสรี ไทย-ชิลี มีผลบังคับใช้ จะช่วยส่งเสริมและขยายมูลค่าการค้าระหว่างไทยและชิลีให้เพิ่มมากขึ้นและเป็นช่องทางให้กับผู้ประกอบการไทยในการเข้าสู่ตลาดในภูมิภาคอเมริกาใต้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันชิลีจัดเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับ 3 ของไทย ด้วยมูลค่าการค้ากว่า 960 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2557 หรือคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 10 ของมูลค่าการค้าของไทยกับภูมิภาคอเมริกาใต้ทั้งหมด รองจากบราซิล และอาร์เจนตินา

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!