WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คอลัมน์: ค่าไฟจ่อทะลุ 4 บาทต่อหน่วย เหตุปตท.นำเข้า LNG เพิ่ม-แหล่งก๊าซปิดซ่อม

     ไทยโพสต์ : จามจุรีสแควร์ *กกพ.หวั่นปี 2558 ค่าไฟฟ้าทะลุ 4 บาท ชี้ปัจจัยหลัก ปตท.นำเข้าแอลเอ็นจี และแหล่งก๊าซเมียนมาร์และเจดีเอหยุดซ่อม พร้อมประกาศเดินหน้าปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐานใหม่ ด้านกระทรวงพลังงานยันแผนพีดีพีฉบับใหม่จำเป็นจะต้องกระจายความเสี่ยงในเรื่องของเชื้อเพลิงเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติ

    นายวีระพล จิรประดิษฐ กุล กรรมการกำกับกิจการพลัง งาน (กกพ.) เปิดเผยว่า มีความกังวลอัตราค่าไฟฟ้าในปี 2558 จะปรับขึ้นจนเกิน 4 บาทต่อหน่วย จากปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.96 บาทต่อหน่วย ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจาก บมจ.ปตท. จะเริ่มนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) จากประเทศกาตาร์ ตามสัญญาระยะยาว จำนวน 2 ล้านตันต่อปี ซึ่งราคาสูงกว่าราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย นอกจากนี้ยังมีผลมาจากแหล่งก๊าซพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเล เซีย (เจดีเอ) และแหล่งก๊าซในเมียนมาร์จะหยุดซ่อม ซึ่งจะทำให้มีการใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลเพิ่มมากขึ้น และมีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที)

    "ยอมรับว่า กกพ.มีความเป็นห่วงอัตราค่าไฟฟ้าในปีหน้า ที่อาจจะปรับเพิ่มสูงขึ้นจากหลายๆ ปัจจัย แต่ก็จะพยายามที่จะดูแลไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนมากนัก" นายวีระพลกล่าว

     นายวีระพล กล่าวว่า ในปี 2558 ราคาน้ำมันมีแนวโน้มลดลงมากในช่วงนี้ ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าปรับลดลงในอีก 6 เดือนข้างหน้า ในขณะเดียวกัน กกพ.จะปรับโครงสร้างราคาค่าไฟฟ้าฐานใหม่ โดยปรับให้ค่าเอฟทีกลับมาเป็นศูนย์ จากปัจจุบันในช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค.2557 อยู่ที่ 69 สตางค์ต่อหน่วย

    "ซึ่งก่อนหน้านี้ กกพ.พิจารณาผลการคำนวณค่าเอฟทีในงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค.2557 โดยให้คงค่าเอฟทีไว้ที่ 69.00 สตางค์ต่อหน่วยเท่าเดิม เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า และให้ กฟผ.รับภาระส่วนต่าง 2.66 สตางค์ต่อหน่วย หรือคิดเป็นเงิน 1,426 ล้านบาท เป็นการชั่วคราว จากอัตราค่าเอฟทีที่คำนวณได้ 71.66 สตางค์ต่อหน่วย ทั้งนี้ ในการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าฐาน กกพ.อาจจะปรับรวมภาระส่วนนี้เข้ามาอยู่ในค่าไฟฟ้าฐานแทน" นายวีระพลกล่าว

   นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า อัตราค่าไฟฟ้าของไทยมีแนวโน้มที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปี 2548 ที่ยังอยู่ในระดับ 2.73 บาทต่อหน่วย มาอยู่ที่ 3.96 บาทต่อหน่วย ในปี 2557 ซึ่งการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราค่าไฟฟ้าจะเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วง 3 ปีย้อนหลัง คือปี 2554 อยู่ที่ 3.16 บาทต่อหน่วย เพิ่มขึ้นมาเป็น 3.48 บาทต่อหน่วย ในปี 2555 และเพิ่มขึ้นมาเป็น 3.78 บาทต่อหน่วย ในปี 2556 โดยเหตุผลสำคัญมาจากการที่ต้องนำเข้าแอลเอ็นจีซึ่งมีราคาที่สูงกว่าก๊าซในอ่าวไทยกว่าเท่าตัวมาใช้

  ทั้งนี้ ในแผนพัฒนากำลัง ผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพีฉบับใหม่ จำเป็นจะต้องมีการกระจายความเสี่ยงในเรื่องของเชื้อเพลิงเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็มีความจำเป็นที่จะต้องเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ เพื่อที่จะมีก๊าซธรรม ชาติที่มีราคาถูกกว่าแอลเอ็นจีนำเข้ามาใช้ให้ได้มากที่สุด เพราะหากประเทศต้องมีการนำเข้าแอลเอ็นจีมาทดแทนก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ที่จะมี ปริมาณสำรองลดน้อยลงเรื่อยๆ คาดว่าราคาค่าไฟฟ้าจะเพิ่มสูง ขึ้นเป็นประมาณ 6 บาทต่อหน่วยในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศลดลง เพราะมีต้นทุนพลังงานที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!