WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ก.พลังงานเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ 29 แปลง ทั้งบนบก-ในทะเล เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน

   นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ประกาศเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ซึ่งเป็นการเปิดให้สัมปทานใหม่ในรอบประมาณ 7 ปีนั้น มีทั้งสิ้น 29 แปลงทั้งบนบกและในทะเลอ่าวไทย เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ขณะที่ยังคงมีกลุ่มต่อต้านการเปิดสัมปทานดังกล่าว เพราะเห็นว่าให้ผลตอบแทนต่อรัฐบาลน้อยมาก ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานได้ลงนามในประกาศดังกล่าวไปแล้วเมื่อวานนี้ และได้รายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ในวันนี้

      นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ความแตกต่าง ของการเปิดให้ยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมครั้งนี้ กับการเปิดสัมปทานรอบที่ผ่านมา ได้แก่ การหลีกเลี่ยงพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A เขตอนุรักษ์และรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ รวมถึงใช้ระบบไทยแลนด์ทรีพลัส (Thailand (III) Plus) ซึ่งเพิ่มผลประโยชน์ จากระบบไทยแลนด์ทรีเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 32  

     ทั้งนี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ประกาศเชิญชวนให้มีการยื่นคำขอ สิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจต่างๆพื้นที่บนบก และในทะเลอ่าวไทย  ในจำนวนนี้ แบ่งเป็นแปลงบนบก 23 แปลง ได้แก่ ภาคเหนือและภาคกลาง  6 แปลง ,ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 แปลง ส่วนแปลงทะเลอ่าวไทย มีทั้งสิ้น 6 แปลง ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถยื่นเอกสารได้ภายในวันที่ 18 ก.พ.58 

     สำหรับ ผลประโยชน์ที่ประเทศจะได้รับจากการให้สิทธิการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รอบใหม่ครั้งนี้ เห็นว่าหากมีผู้ยื่นขอทุกแปลงที่เปิดให้มีการยื่นขอ จะทำให้เกิดการลงทุน ในประเทศไม่น้อยกว่า 5 พันล้านบาท และสร้างรายได้ให้กับประเทศทั้งในรูปแบบค่า ภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และอื่นๆ รวมถึงเกิดการจ้างงานไม่ต่ำกว่า 2 หมื่นอัตรา

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ไฟเขียวสำรวจแหล่งปิโตรเลียม คาดโอกาสพบก๊าซ 5 ล้านลบ.ฟุต

    แนวหน้า : ที่ทำเนียบรัฐบาล นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยผลประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการเปิดให้เอกชนเข้าสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ รอบที่21 ทั้งบนบก และในทะเล จำนวน 29 แปลง หลังจากกระทรวงพลังงานได้ออกประกาศเชิญชวนเอกชนให้เข้ามายื่นสิทธิ์ขอสำรวจไปแล้วตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา คาดว่าหากมีผู้สนใจเข้ามาร่วมสำรวจครบทุกแปลง จะทำให้ประเทศไทยมีโอกาสค้นพบก๊าซธรรมชาติถึง 1-5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และน้ำมันดิบ20-50 ล้านบาร์เรล

    ขณะเดียวกันยังเชื่อว่า จะทำให้เกิดการลงทุนในประเทศไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท ในช่วง 3-5 ปี จากนี้ และสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้กับประเทศทั้งค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ เพื่อนำไปพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่ผลิตโดยตรง พร้อมทั้งยังช่วยจ้างงานในธุรกิจสำรวจและผลิต รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 20,000อัตราด้วย

   ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจเข้ามายื่นขอสำรวจ ต้องมีคุณสมบัติตามข้อกฎหมาย คือ เป็นบริษัทมีทุน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ และมีผู้เชี่ยวชาญเพียงพอที่จะสำรวจ ผลิต และจำหน่ายปิโตรเลียม สามารถยื่นคำขอได้ภายในวันที่ 18ก.พ.58 จากนั้นกระทรวงพลังงานจะกลั่นกรองรอยละเอียด ก่อนเสนอที่ประชุมครม.เห็นชอบ เพื่อได้สิทธิเข้าไปสำรวจ แต่ในขั้นตอนการพิจารณาจากครม.นั้น ก็กำหนดให้รัฐบาลพิจารณาว่า จะไม่ให้สัมปทานหรือไม่ให้ก็ได้ตามความเหมาะสม

   นายคุรุจิต กล่าวว่า ในส่วนของข้อกังวลถึงการส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับนั้น การให้สิทธิครั้งดังกล่าวจะใช้หลักเกณฑ์ตามพ.ร.บ.ปิโตเลียม 2514 โดยใช้รูปแบบใหม่ คือ ระบบไทยแลนด์ทรีพลัส จากเดิมที่เก็บเพียงค่าภาคหลวงปิโตรเลียมอัตราก้าวหน้า 5-15%เก็บภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 50% ของกำไรสุทธิ และเรียกเก็บเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ มีอัตราสูงสุด75% หากพบแหล่งพลังงานที่มีปริมาณมาก หรือราคาพลังงานปรับตัวขึ้นสูง ซึ่งการจัดเก็บรูปแบบใหม่ ได้เพิ่มเติมให้ผู้ยื่นขอต้องสนับสนุนเงินเพื่อการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่น แบ่งเป็น ช่วงสำรวจจะได้ไม่น้อยกว่า ปีละ 1 ล้านบาท และช่วงผลิตจะได้ไม่น้อยกว่า ปีละ 2 ล้านบาท

   พร้อมทั้งเสนอให้บริษัทไทยเข้าร่วมประกอบกิจการในอัตราไม่น้อยกว่า 5% และต้องใช้สินค้าและบริการในประเทศไทยเป็นอันดับแรก ขณะเดียวกันยังกำหนดการจัดเก็บผลประโยชน์เพิ่มเติมคือ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เมื่อมีการลงนามกับผู้ได้รับสัมปทาน แม้ว่าจะสำรวจพบปิโตรเลียมหรือไม่ และเรียกเก็บผลประโยชน์เพิ่มเติม เมื่อเอกชนสามารถผลิตได้ตามเกณฑ์ที่รัฐกำหนด

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!