WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 76-81 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 82-88 เหรียญสหรัฐฯ'

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (10 – 14 พ.ย. 57)

  ราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้คาดว่าจะยังคงผันผวน โดยได้รับแรงกดดันจากอุปทานที่ล้นตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีแนวโน้มว่าโอเปกจะไม่ปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลง ท่ามกลางการเรียกร้องของเวเนซุเอลาและเอกวาดอร์ ประเทศสมาชิกโอเปกที่มีจุดคุ้มทุนทางงบประมาณ (Fiscal Breakeven Cost) ของราคาน้ำมันดิบ สูงกว่าราคาน้ำมันดิบในตอนนี้ ได้ร่วมมือกันร่างข้อเสนอเพื่อหามาตรการพยุงราคาน้ำมันไว้ อีกทั้งต้องติดตาม รายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน พ.ย. ของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) โอเปกและสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ว่าจะมีการปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันดิบโลกในปีนี้และปีหน้าลงอีกหรือไม่ รวมถึงการเริ่มกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น ทั้งยังอาจทำให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลงด้วย เป็นปัจจัยหนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงไม่มากนัก

 

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  จับตาท่าทีของสมาชิกในกลุ่มโอเปกต่อการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลง โดยล่าสุดมีแนวโน้มว่าโอเปกจะไม่ปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลง ท่ามกลางการเรียกร้องของเวเนซุเอลาและเอกวาดอร์ ประเทศสมาชิกที่มีจุดคุ้มทุนทางงบประมาณ (Fiscal Breakeven Cost) ของราคาน้ำมันดิบ สูงกว่าราคาน้ำมันดิบในตอนนี้ ได้ร่วมมือกันร่างข้อเสนอเพื่อหามาตรการพยุงราคาน้ำมันไว้

  รายงานสถานการณ์น้ำมันประจำเดือน พ.ย. ของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) และ โอเปก ในวันที่ 12 พ.ย. รวมถึงจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ในวันที่ 14 พ.ย. ติดตามว่าจะมีการปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันดิบโลกในปีนี้และปีหน้าลงอีกหรือไม่ หลังหลายฝ่ายยังกังวลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจยุโรปที่ยังคงซบเซา

  การเริ่มกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ อาจส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้น และอาจทำให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลงด้วย นอกจากนี้ล่าสุดมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิทางตอนกลางของสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลงมากในอีก 1-2 สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งอาจเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมัน

  ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดขายปลีกและความรู้สึกของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ จีดีพี ไตรมาส 3/57 ดัชนีราคาผู้บริโภคและยอดขายปลีกยุโรป รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต-ผู้บริโภค ยอดขายปลีกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมจีน

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (3 – 7 พ.ย. 57)

  ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลง 1.89 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 78.65 เหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลงเช่นกัน 2.47 เหรียญสหรัฐฯ ปิดที่ 83.39 เหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับลดลงมาเคลื่อนไหวที่ระดับเฉลี่ย 79 เหรียญสหรัฐฯ

   ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลง โดยได้รับแรงกดดันจากการประกาศลดราคาขายน้ำมันดิบ (OSPs) ที่จะขายไปยังตลาดสหรัฐฯ ในเดือน ธ.ค. ของซาอุดิอาระเบีย เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้ ในฐานะประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดในโลก ส่งผลกดดันต่อตลาดน้ำมันสหรัฐฯ ค่อนข้างมาก นอกจากนี้อุปทานที่ยังคงล้นตลาดและค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น ล้วนส่งผลกดดันราคาน้ำมัน อย่างไรก็ดี ความกังวลของตลาดต่อเหตุการณ์ท่อขนส่งน้ำมันระเบิดในซาอุดิอาระเบีย และปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าคาด รวมถึงตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวดีขึ้น ยังคงส่งแรงหนุนต่อราคาน้ำมันดิบ

   สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 3-7 พ.ย. 57 และแนวโน้มในสัปดาห์ที่ 10-14 พ.ย 57

  สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 2.86 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 83.36 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง 4.20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 79.92 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 3.02 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 78.24 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 4.82 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 93.68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 1.56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 96.89  เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้แก่ :

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!