WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

'เชฟรอน-ปตท.สผ.'ชวดสัมปทาน หมดอายุ 2565 กม.ไม่ให้ต่อกรมเชื้อเพลิงเร่งแก้ปมวุ่น

      ไทยโพสต์ : วิภาวดีรังสิต * กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติยัน ไม่สามารถต่อสัมปทานปิโตรเลียมให้ 'เชฟรอน-ปตท.สผ'ที่จะหมดอายุในปี 2565 ได้ เหตุกฎหมายไม่เปิดช่องให้ทำ พร้อมตั้งกรรมการพิจารณาหาทางออกให้เสร็จก่อนปี 2560 ป้องกันขาดเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า

     นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยถึงกรณีกระ แสการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความพยายามของภาครัฐ ในการต่อสัญญาสัมป ทานแหล่งก๊าซธรรมชาติ 2 แหล่งในอ่าวไทย ซึ่งจะสิ้นอายุสัมปทานในปี 2565 ว่า ในปี 2565 จะมีแหล่งก๊าซธรรม ชาติ 2 แหล่งหลักๆ ที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทาน

     ได้แก่ 1.แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณและใกล้เคียง ซึ่งมีบริษัท เชฟรอน ประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นผู้รับสัมปทาน ในแปลงสำรวจหมายเลข 10 และ 11 ได้รับสัมปทานตั้งแต่ 1 มี.ค.2515 เริ่มผลิตตั้งแต่ 24 มี.ค.2515 และจะสิ้นอายุสัมปทาน 23 เม.ย.2565 และแปลงสำรวจหมายเลข 12 และ 13 ได้รับสัมปทานตั้งแต่ 6 มี.ค.2515 เริ่มผลิตตั้งแต่ 24 เม.ย.2525 และจะสิ้นสุดอายุสัมปทาน 23 เม.ย.2565

   2.แหล่งก๊าซธรรมชาติ บงกช ซึ่งมี บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) เป็นผู้รับสัมปทาน ในแปลงสำรวจหมายเลข 15 ได้รับสัมป ทานตั้งแต่ 10 มี.ค.2515 เริ่มผลิตตั้งแต่ 24 เม.ย.2525 และ จะสิ้นสุดอายุสัมปทาน 23 เม.ย. 2565 และในแปลงสำรวจหมาย เลข 16 และ 17 ได้รับสัมป ทาน 8 มี.ค.2515 เริ่มผลิตตั้งแต่ 8 มี.ค.2526 และจะสิ้นอายุสัมปทาน 7 มี.ค.2566

   ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า แหล่งปิโตรเลียมทั้งสองแหล่งอยู่ในระบบไทยแลนด์ 1 ซึ่งตามกฎกระทรวง กำหนดตามแบบสัมปทานปิโตรเลียม พ.ศ.2555 เกี่ยวกับการสิ้นอายุสัมปทานไว้ชัดเจนว่า ไม่สามารถดำเนิน การต่ออายุสัมปทานสำหรับทั้ง 2 แปลงสัมปทานได้ และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม ผู้รับสัมปทานต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เกี่ยวกับพื้นที่ผลิตแปลงนั้นให้แก่รัฐบาลไทย

    แต่เนื่องจากแหล่งก๊าซ ธรรมชาติทั้ง 2 แหล่งมีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติคิดเป็น 60% ของการจัดหาก๊าซธรรม ชาติทั้งหมดของทั้งประเทศ จึงต้องหาแนวทางในการบริหารจัดการที่เหมาะสมต่อไป

   ปัจจุบันอยู่ระหว่างการหาแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมโดยกระทรวงพลัง งาน การจัดตั้งคณะอนุกรรม การ คณะกรรมการ ซึ่งประ กอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากทั้งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง รวม ถึงผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยว ชาญเกี่ยวกับกฎหมายหรือความรู้ทางด้านวิชาการที่เกี่ยว ข้องกับการประกอบกิจการด้านปิโตรเลียม ร่วมพิจารณาและกำหนดแนวทางการดำเนิน การ โดยทุกขั้นตอนจะต้องแล้วเสร็จก่อนปี 2560 เพื่อจะไม่ให้การจัดหาปิโตรเลียมโดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าเกิดการชะงัก ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศได้

    อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า การบริหารจัดการแหล่งสัมป ทานที่กำลังจะสิ้นสุดอายุดังกล่าว จะดำเนินการด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับอย่างสูงสุดเป็นสำคัญ.

กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติแจงทำตามกม. ไม่ต่อสัมปทานแหล่งปิโตรเลียม

     แนวหน้า : ตามที่มีการนำเสนอข่าวกรณีมีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความพยายามของภาครัฐในการต่อสัญญาสัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติ 2 แหล่ง ในอ่าวไทย ซึ่งจะสิ้นอายุสัมปทานในปี 2565  นั้น

     นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวว่า ในปี 2565 จะมีแหล่งก๊าซธรรมชาติ 2 แหล่งหลักๆ ที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

     1.แหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณและใกล้เคียง ซึ่งมีบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นผู้รับสัมปทาน

   1.1 แปลงสำรวจหมายเลข 10 และ 11 ได้รับสัมปทานตั้งแต่ 1 มีนาคม 2515 เริ่มผลิตตั้งแต่ 24 มีนาคม 2515 และจะสิ้นอายุสัมปทาน 23 เมษายน 2565

    1.2 แปลงสำรวจหมายเลข 12 และ 13 ได้รับสัมปทานตั้งแต่ 6 มีนาคม 2515 เริ่มผลิตตั้งแต่ 24 เมษายน 2525 และจะสิ้นสุดอายุสัมปทาน 23 เมษายน 2565

     2. แหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช ซึ่งมีบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับสัมปทาน

      2.1 แปลงสำรวจหมายเลข 15 ได้รับสัมปทานตั้งแต่ 10  มีนาคม 2515 เริ่มผลิตตั้งแต่ 24  เมษายน 2525 และจะสิ้นสุดอายุสัมปทาน 23 เมษายน 2565

    2.2 แปลงสำรวจหมายเลข 16 และ 17 ได้รับสัมปทาน 8 มีนาคม 2515 เริ่มผลิตตั้งแต่ 8 มีนาคม 2526 และจะสิ้นอายุสัมปทาน 7 มีนาคม 2566

    ในการนี้ ขอยืนยันว่า แหล่งปิโตรเลียมทั้งสองแหล่งอยู่ในระบบ Thailand I ซึ่งตามพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 มาตรา 26 กำหนดว่า ระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมตามสัมปทานให้มีกำหนด ไม่เกินสามสิบปี นับแต่วันถัดจากวันสิ้นระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียม แม้จะมีการผลิตปิโตรเลียมในระหว่างระยะเวลาสำรวจปิโตรเลียมด้วยก็ตาม ถ้าผู้รับสัมปทานได้ปฏิบัติตามสัมปทานทุกประการและขอต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมก่อนสิ้นระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมไม่น้อยกว่าหกเดือน ผู้รับสัมปทานมีสิทธิได้รับการต่อระยะเวลาผลิตปิโตรเลียมภายใต้ข้อกำหนด ข้อผูกพัน และเงื่อนไขที่ใช้อยู่ทั่วไป ในขณะนั้นได้อีกครั้งหนึ่งเป็นเวลาไม่เกินสิบปี อีกทั้ง ตามกฎกระทรวง กำหนดตามแบบสัมปทานปิโตรเลียม พ.ศ.2555 ข้อ 15 เกี่ยวกับการสิ้นอายุสัมปทาน (4) ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าไม่สามารถดำเนินการต่ออายุสัมปทานสำหรับทั้ง 2 แปลงสัมปทานได้ และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาผลิตปิโตรเลียม ผู้รับสัมปทานต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เกี่ยวกับพื้นที่ผลิตแปลงนั้นให้แก่รัฐบาลไทย แต่เนื่องจากแหล่งก๊าซธรรมชาติทั้งสองแหล่งมีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติคิดเป็นร้อยละ 60 ของการจัดหาก๊าซธรรมชาติทั้งหมดของทั้งประเทศ จึงต้องหาแนวทางในการบริหารจัดการที่เหมาะสมต่อไป

   ปัจจุบันอยู่ระหว่างการหาแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมโดยกระทรวงพลังงาน การจัดตั้งคณะอนุกรรมการ คณะกรรมการ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจากทั้งกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกฎหมายหรือความรู้ทางด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการด้านปิโตรเลียม ร่วมพิจารณาและกำหนดแนวทางการดำเนินการ โดยทุกขั้นตอนจะต้องแล้วเสร็จก่อนปี 2560 เพื่อจะไม่ให้การจัดหาปิโตรเลียมโดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติที่เป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าเกิดการชะงัก ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ

     อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ยืนยันว่า การบริหารจัดการแหล่งสัมปทานที่กำลังจะสิ้นสุดอายุดังกล่าว  จะดำเนินการด้วยความโปร่งใส เป็นธรรม และคำนึงถึงผลประโยชน์ที่ประเทศชาติจะได้รับอย่างสูงสุดเป็นสำคัญ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!