WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ปี’58 ค่าไฟฟ้าลดลงอีกตามราคาพลังงาน หั่น Ft งวดม.ค.-เม.ย.10 สต./หน่วย

    แนวหน้า  : ปี 58 ค่าไฟฟ้าลดลงอีกตามราคาพลังงาน หั่น Ft งวดม.ค.-เม.ย.10 สต./หน่วย กกพ.แย้งตัวเลข 2 0สต.ของสอท.

      นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยภายหลังจากการประชุม กกพ. ได้พิจารณาค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) สำหรับการเรียกเก็บในเดือนมกราคม – เมษายน 2558 โดยในที่ประชุมได้พิจารณาผลการคำนวณค่า Ft และมีมติให้เรียกเก็บในอัตรา 58.96 สตางค์ต่อหน่วย ลดลง 10.04 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อเปรียบเทียบกับค่า Ft งวดที่ผ่านมาจำนวน 69.00 สตางค์ต่อหน่วย

      สำหรับ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อการปรับค่า เอฟที ในงวด ม.ค. – เม.ย. 2558 นี้ กกพ. ได้พิจารณาจากสถานการณ์ราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 เป็นต้นมา และคาดว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ในระดับต่ำที่ 60 เหรียญต่อบาร์เรล ในช่วงเดือนม.ค. – เม.ย. 2558 ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่า Ft ที่เรียกเก็บตั้งแต่ในงวดเดือนก.ย. - ธ.ค. 2557 และต่อเนื่องมาจนถึงงวดเดือนม.ค. – เม.ย. 2558 จนทำให้ค่า Ft ลดลงได้ 10.04 สตางค์ต่อหน่วย

    นายวีระพล กล่าวว่า ปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อราคาเชื้อเพลิงและการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือนมกราคม – เมษายน 2558 ดังนี้ 1. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าคาดว่าจะเท่ากับ 59,424 ล้านหน่วย สูงกว่าช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม 2557 ร้อยละ 1.59 ตามความต้องการที่เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน 2. อัตราแลกเปลี่ยนช่วงต้นปี’58 คาดว่าจะมีแนวโน้มอ่อนค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดือนกันยายน – ธันวาคม 2557

    3. สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าในงวดเดือนมกราคม – เมษายน 2558 เมื่อเทียบกับงวดที่ผ่านมา (กันยายน – ธันวาคม 2557) ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลักร้อยละ 67.86 รองลงมาเป็นถ่านหินลิกไนต์ร้อยละ 9.16 ถ่านหินนำเข้าร้อยละ 8.51 ซื้อไฟฟ้าจากลาวและมาเลเซียร้อยละ 6.94 และจากพลังงานทดแทนร้อยละ 4.88

     4. ในส่วนของราคาเชื้อเพลิง คาดว่าราคาก๊าซธรรมชาติจะอยู่ที่ 285.90 บาทต่อล้านบีทียู ปรับตัวลดลงจากงวดที่ผ่านมา 7.43 บาทต่อล้านบีทียู น้ำมันเตาจะอยู่ที่ 22.03 บาทต่อลิตร ลดลง 5.86 บาทต่อลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลจะอยู่ที่ 24.55 บาทต่อลิตร ลดลง 2.54 บาทต่อลิตร และถ่านหินนำเข้าจะอยู่ที่ 3,383 บาทต่อตันลดลง 249.90 บาทต่อตัน

     ส่วนกรณีที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) ต้องการเห็นค่าเอฟทีงวดนี้ลดลง 20 สตางค์ต่อหน่วยนั้นก็ไม่ทราบว่านำตัวเลขมาจากที่ใด เพราะการพิจารณาก็จะยึดตามต้นทุนที่แท้จริงในแต่ละงวดซึ่งการผลิตไฟเชื้อเพลิงหลักมาจากก๊าซธรรมชาติซึ่งสูตรราคาก๊าซฯจะอิงกับน้ำมันเตาย้อนหลังแล้วแต่สัญญา 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งน้ำมันที่ลงแรงไม่ได้จะมีผลในทันทีทั้งหมด

    นายวีระพลกล่าวว่า ค่าไฟฟ้าในปี 2558 มีแนวโน้มลดลงอีกจากหลายปัจจัย หากราคาพลังงานยังลดลงต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ราคาเชื้อเพลิงโดยเฉพาะน้ำมันดิบในช่วง 4 เดือนแรกของปีจะอยู่ในระดับ 60 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ก๊าซธรรมชาติลดลง ร้อยละ 2.53 น้ำมันเตา ลดลงร้อยละ ร้อยละ 21.01 ดีเซล ลดลงร้อยละ 9.38 และ ถ่านหิน ลดลงร้อยละ 6.88

    อย่างไรก็ตาม จากการกำหนดค่าเอฟทีเรียกเก็บงวดเดือนมกราคม – เมษายน 2558 ในอัตรา 58.96 สตางค์ต่อหน่วย จะมีผลทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทอยู่ที่ 3.86 บาทต่อหน่วย และจากมติ กกพ. ดังกล่าวข้างต้น สำนักงาน กกพ.จะเผยแพร่รายละเอียดทั้งหมดผ่านทาง www.erc.or.th เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2557 – 8 มกราคม 2558 ก่อนที่จะนำผลการรับฟังความคิดเห็น มาพิจารณาและให้การไฟฟ้าประกาศเรียกเก็บค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับค่าเอฟทีสำหรับเรียกเก็บในรอบดังกล่าวอย่างเป็นทางการต่อไป

เฮ! รัฐให้ของขวัญลดค่าไฟผู้ใช้สบายงวด ม.ค.-เม.ย.58 ลง 10.04 สต.ต่อหน่วย

     บ้านเมือง : กกพ.มีมติปรับลดค่าเอฟทีงวดเดือน ม.ค.-เม.ย.58 ลง 10.04 สตางค์ต่อหน่วย ลดภาระผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นของขวัญปีใหม่ จะมีผลทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทอยู่ที่ 3.86 บาทต่อหน่วย ด้าน ปตท.สผ.ได้ ประกาศแผนค่าใช้จ่ายในช่วง 5 ปีข้างหน้า

       นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในฐานะโฆษก กกพ. เปิดเผยภายหลังจากการประชุม กกพ. ได้พิจารณาค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) สำหรับการเรียกเก็บในเดือนมกราคม-เมษายน 2558 โดยในที่ประชุมได้พิจารณาผลการคำนวณค่า Ft และมีมติให้เรียกเก็บในอัตรา 58.96 สตางค์ต่อหน่วย ลดลง 10.04 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อเปรียบเทียบกับค่า Ft งวดที่ผ่านมาจำนวน 69.00 สตางค์ต่อหน่วย

   สำหรับ สาเหตุสำคัญที่ส่งผลต่อการปรับค่า Ft ในงวด ม.ค.เม.ย.58 กกพ.ได้พิจารณาจากสถานการณ์ราคาเชื้อเพลิงในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 เป็นต้นมา และคาดว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ในระดับต่ำที่ 60 เหรียญต่อบาเรล ในช่วงเดือน ม.ค.-เม.ย.58 ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่า Ft ที่เรียกเก็บตั้งแต่ในงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค.57 และต่อเนื่องมาจนถึงงวดเดือน ม.ค.เม.ย.58 จนทำให้ค่า Ft ลดลงได้ 10.04 สตางค์ต่อหน่วย

    ทั้งนี้ นายวีระพล กล่าวสรุปถึงปัจจัยอื่นที่มีผลกระทบต่อราคาเชื้อเพลิงและการผลิตไฟฟ้าในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2558 ดังนี้ 1.ความต้องการพลังงานไฟฟ้าคาดว่าจะเท่ากับ 59,424 ล้านหน่วย สูงกว่าช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม 2557 ร้อยละ 1.59 ตามความต้องการที่เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน 2.อัตราแลกเปลี่ยนช่วงต้นปี 58 คาดว่าจะมีแนวโน้มอ่อนค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม 2557 3.สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าในงวดเดือนมกราคม-เมษายน 2558 เมื่อเทียบกับงวดที่ผ่านมา (กันยายน-ธันวาคม 2557) ยังคงใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลักร้อยละ 67.86 รองลงมาเป็นถ่านหินลิกไนต์ร้อยละ 9.16 ถ่านหินนำเข้าร้อยละ 8.51 ซื้อไฟฟ้าจากลาวและมาเลเซียร้อยละ 6.94 และจากพลังงานทดแทนร้อยละ 4.88

     4.ในส่วนของราคาเชื้อเพลิง คาดว่าราคาก๊าซธรรมชาติจะอยู่ที่ 285.90 บาทต่อล้านบีทียู ปรับตัวลดลงจากงวดที่ผ่านมา 7.43 บาทต่อล้านบีทียู น้ำมันเตาจะอยู่ที่ 22.03 บาทต่อลิตร ลดลง 5.86 บาทต่อลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลจะอยู่ที่ 24.55 บาทต่อลิตร ลดลง 2.54 บาทต่อลิตร และถ่านหินนำเข้าจะอยู่ที่ 3,383 บาทต่อตันลดลง 249.90 บาทต่อตัน

    จากการกำหนดค่า Ft เรียกเก็บงวดเดือนมกราคม-เมษายน 2558 ในอัตรา 58.96 สตางค์ต่อหน่วย จะมีผลทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทอยู่ที่ 3.86 บาทต่อหน่วย และจากมติ กกพ. ดังกล่าวข้างต้น สำนักงาน กกพ.จะเผยแพร่รายละเอียดทั้งหมดผ่านทาง www.erc.or.th เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2557 -8 มกราคม 2558 ก่อนที่จะนำผลการรับฟังความคิดเห็น มาพิจารณาและให้การไฟฟ้าประกาศเรียกเก็บค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับค่า Ft สำหรับเรียกเก็บในรอบดังกล่าวอย่างเป็นทางการต่อไป

   นานเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. กล่าวว่า ในปีหน้าราคาน้ำมันดิบยังผันผวนในช่วงครึ่งปีแรกราคายังต่ำมาก แต่ในครึ่งปีหลังคาดว่าจะปรับเพิ่ม จึงคาดว่าราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบ จะอยู่ที่ประมาณ 70 ดอลลาร์/บาร์เรล บริษัทจึงใช้ราคานี้ประเมินการลงทุนใน 5 ปีข้างหน้า (2558-2562) และลดการลงทุนจากแผนเดิมร้อยละ 4 โดยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทุกด้าน และหากราคาน้ำมันปรับลดต่ำกว่านี้ทางบริษัทก็พร้อมจะทบทวนแผนการลงทุน

    ทั้งนี้ บริษัทมีต้นทุนเฉลี่ย 42 ดอลลาร์/บาร์เรล โดยหากราคาไปอยู่ใกล้ราคาประเมินต่ำสุดที่ 55 ดอลลาร์/บาร์เรลแล้ว บริษัทคงหยุดพัฒนาแหล่งใหม่ๆ เช่น แหล่งเอ็ม 3 ในเมียนมาร์ แหล่งฮัสซีเบอราเกส ประเทศอัลจีเรีย แหล่งแคชเมเปิลในออสเตรเลีย และออยล์แซนด์ในแคนาดา และหากราคาน้ำมันยังดิ่งลงไปถึงระดับ 21 ดอลลาร์/ตัน เป็นต้นทุนที่บริษัทไม่สามารถผลิตได้ ซึ่งไม่น่าจะเกิดขึ้น แต่หากเป็นจริงทางกลุ่มผลิตปิโตรเลียมในประเทศคงจะต้องเจรจากับ ปตท. และรัฐบาลว่าจะดำเนินการอย่างไร ส่วนปีนี้ไม่ได้รับผลกระทบมากนักเพราะราคาขายช่วง3 ไตรมาส ยังได้ 66 ดอลลาร์ /บาร์เรล

    ปตท.สผ.ได้ ประกาศแผนค่าใช้จ่ายในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 58-62) รวม 24.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (รวมค่าใช้จ่ายเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายดำเนินงาน) ลดลงราว 4% จากประมาณการครั้งก่อนในช่วงปี 2557-2561 ค่าใช้จ่ายหลักยังคงเน้นที่สินทรัพย์หลักที่ดำเนินการผลิตอยู่ (ราว 65% ของค่าใช้จ่าย) อย่างไรก็ตาม การตัดสินการลงทุน (Final Investment Decision : FID) ในโครงการใหม่ อาทิ โครงการ Mozambique Offshore Area 1, M3, และ Mariana Oil Sands ได้ถูกเลื่อนไปเป็นช่วงปลายปี 58-60 ซึ่งยังมีความยืดหยุ่นในการลงทุนอยู่ โดยเฉพาะการชะลอค่าใช้จ่ายเงินลงทุนออกไป หากโครงการดังกล่าวไม่คุ้มค่าเชิงพาณิชย์ สำหรับปี 2557 ปตท.สผ.คาดว่าจะมีอัตราการขายปิโตรเลียม 320,000 บาร์เรลและปีหน้าคาดจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 หรือ 343,000 บาร์เรล/วัน ในปี 2558

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!