WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เบรนท์ปรับเพิ่ม หลังกังวลสถานการณ์ในลิเบียและรัสเซีย ขณะที่เวสเท็กส์ซัสปรับลด ตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ซบเซา

  + ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ความรุนแรงในลิเบียหลังมีการโจมตีสนามบินทางตะวันออกของเมืองทริโปลีเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ทำให้มีความกังวลว่าอาจกระทบต่อการผลิตน้ำมันดิบแม้ว่าลิเบียจะส่งออกน้ำมันดิบเพิ่มมาอยู่ที่ระดับ 612,000 บาร์เรลต่อวันเมื่ออาทิตย์ก่อนหน้า

  + ประกอบกับปัญหาระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ยังคงครุกรุ่น หลังรัสเซียส่งทหาร ข้ามชายแดนเข้าไปยังยูเครน  อย่างไรก็ตามประธานาธิปดีวลาดิมีร์ ปูตินของรัสเซียเตรียมจะพบประธานาธิบดีเปโตร โปโรเชนโก ของยูเครน ที่กรุงมินสก์ เมืองหลวงของเบลารุส ในวันที่ 26 ส.ค.นี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ทางภาคตะวันออกของยูเครน  โดยหวังว่าสถานการณ์ในยูเครนจะคลี่คลายลงได้

  - ในทางกลับกันราคาน้ำมันเวสเท็กซัสปรับลดลงเนื่องจากตลาดกังวลถึงภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และยุโรปที่ยังคงเปราะบาง ทำให้คาดการณ์ว่าอุปสงค์การใช้น้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในอนาคต  สงผลกดดันราคาน้ำมัน โดยยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ  เดือน ก.ค. 57 ปรับลดลง  2.4% จาก มิ.ย. 57 มาอยู่ที่ ระดับ 0.412 ล้านหน่วย ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน มี.ค. 57 ที่ผ่านมา และต่ำกว่าที่คาดการณ์ที่  0.425 ล้านหน่วย  เช่นเดียวกับดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ เดือน ส.ค. 57 ที่ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 58.5 จุด ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ที่ระดับ 62.0 จุด

  - เศรษฐกิจทางยุโรป โดยเฉพาะเศรษฐกิจเยอรมันที่ซบเซาลง หลังความเชื่อมั่นภาคธุรกิจปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 106.3  จุดมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่108 จุด ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดในรอบปี อันเป็นผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงระหว่างรัสเซียและยูเครน

  ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่เบาบางและปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังที่สิงค์โปร์ที่เพิ่มขึ้นมากถึง 10.16 ล้านบาร์เรล  โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปทานจากโรงกลั่นทางเอเชียเหนือ

  ราคาน้ำมันดีเซล ปรับลดลงสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังคงอ่อนตัวลง ประกอบกับอุปทานที่เพิ่มขึ้นภายในภูมิภาค รวมถึงอุปทานจากอินเดียและแอฟริกาใต้ที่มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น

ทิศทางราคาน้ำมันดิบ

  ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 92-98 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 100 - 105 เหรียญฯ

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

  ลิเบียยังคงพยายามส่งออกน้ำมันดิบอย่างต่อเนื่อง หลังการส่งออกจากท่าเรือ Es Sider มีปัญหาทางเทคนิคทำให้ไม่สามารถขนถ่ายน้ำมันดิบลงเรือได้ในสัปดาห์ก่อน โดยท่าเรือดังกล่าวถือเป็นคลังเก็บน้ำมันดิบซึ่งมีปริมาณราว 4.5 ล้านบาร์เรล และเชื่อมต่อกับท่อขนส่งน้ำมันดิบจากหลุมผลิตน้ำมันดิบด้วย

  การตอบโต้ของกลุ่มกบฏแบ่งแยกดินแดนฝักใฝ่รัสเซียต่อรัฐบาลยูเครนจะเป็นอย่างไร ภายหลังรัฐบาลสามารถยึดเมืองลูฮานสก์ได้ โดยล่าสุดยังมีการปะทะกันต่อเนื่องและยังคงเป็นปัจจัยหนุนราคาน้ำมันดิบอยู่เป็นระยะ

  จับตาการประกาศจีดีพีไตรมาส 2/57 ของสหรัฐฯ (ครั้งที่ 2) ในวันที่ 28 ส.ค.นี้ ที่หลายฝ่ายคาดว่าจะมีการปรับลดลงเล็กน้อยมาเติบโตที่ 3.8% จาก 4.0% ในการประกาศครั้งก่อนหน้า ซึ่งตัวเลขจีดีพีสหรัฐฯ จะสะท้อนถึงแนวโน้มความต้องการใช้น้ำมันจากประเทศผู้นำของโลกได้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!