WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ก.พลังงาน คาดจะระดมความคิดเห็นด้านพลังงานจากทั่วประเทศเสร็จ ก.ย.นี้ ก่อนเดินหน้าสู่การปฏิรูปพลังงาน

            กระทรวงพลังงาน  คาดจะรวมข้อมูล-ความคิดเห็นทั่วประเทศ  เกี่ยวกับทิศทางพลังงานเสร็จ ก.ย.นี้ ประเดิมเวทีแรกที่ กทม.ก่อน เมื่อครบทั่วทุกภาคแล้วจะนำมาประมวลผล  เพื่อหาข้อสรุปและกำหนดยุทธศาสตร์สู่การปฏิรูปพลังงาน  พร้อมระบุแผน PDPอีก 20ปีข้างหน้า (58-79)ตั้งเป้าลดสัดส่วนการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลือ 30%จากปัจจุบันที่ 57% 

                นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า  กระทรวงพลังงานได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน ในเรื่องการปฏิรูปพลังงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นการปฏิรูปในระดับชาติ  เพื่อสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนต่อเรื่องพลังงาน จึงได้สานต่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ  เพื่อให้ภาครัฐได้นำไปกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของชาติในระยะยาวต่อไป

                โดยการเปิดรับฟังความคิดเห็น "ทิศทางพลังงานไทย"จะจัดให้มีขึ้นตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ  โดยวันนี้จัดเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ต่อไปก็จะเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะจัดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้น จะรวบรวมข้อมูลที่ได้รับฟังความคิดเห็นในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2557 ก่อนจะนำข้อเสนอจากการรับฟังตามภูมิภาคมาสรุปประมวลผลที่กรุงเทพฯ

                เนื้อหาในการสัมมนาจะระดมความเห็นเกี่ยวกับแผนหลักๆ ด้านพลังงาน ทั้งจากแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) แผนอนุรักษ์พลังงาน แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ตลอดจนแผนด้านการจัดหาพลังงาน เพื่อปรับปรุงแผนด้านพลังงานด้านต่างๆ ที่มีอยู่พัฒนาไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันความต้องการใช้ไฟฟ้ากับกำลังผลิตไฟฟ้าในแต่ละภูมิภาคยังคงมีบางส่วนที่ต้องได้รับการพัฒนาให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการ เช่น ในภาคใต้ปัจจุบันมีกำลังผลิตไฟฟ้า 2,416 เมกะวัตต์ ขณะที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่ 2,683 เมกะวัตต์ และเป็นพื้นที่ที่มีความสวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงต้องดูความเหมาะสมของประเภทของโรงไฟฟ้า ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่การวางแผนยุทธศาสตร์พลังงานชาติในภาพรวมที่สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป

                ทั้งนี้ คาดว่าผลจากการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องด้านพลังงานทั่วประเทศจะมีส่วนช่วยสร้างความเข้าใจต่อแผนด้านพลังงานต่างๆ มากขึ้น และจะมีการรวบรวมข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ได้รับมาสรุปเป็นข้อมูลนำเสนอเพื่อการกำหนดเป็นนโยบายพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

                นอกจากหนี้  การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนจากทุกภาคส่วน  ยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการสร้างแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDPปี 58-79)โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าพลังงานคิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท และมีอัตราการเติบโตของการใช้พลังงานอยู่ที่ 4.5% ต่อปี ทำให้ต้องมีการวางแผนในเรื่องพลังงานในการลดการนำเข้าพลังงานเพื่อประหยัดเงินทุนสำรองของประเทศ ซึ่งนำเงินไปใช้หมุนเวียนในการลงทุนอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศแทน และทำให้อัตราการใช้พลังงานมีการเติบโตที่ลดลง

                "วันนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นในเรื่องแผนเตรียมความพร้อมของแผน PDP ใน 20 ปีข้างหน้า ได้มีการนำแผนไปเสนอแก่ประชาชนและนักวิชาการต่างๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็น ว่าเขามีความคิดเห็นอย่างไร สิ่งที่สำคัญคือเราต้องมีการประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน ทุกวันนี้ประเทศไทยนำเข้าพลังงาน 2 ล้านล้านบาท และการใช้พลังงานมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นปีละ 4.5% เราจะทำอย่างไรให้การเติบโตลดลง และทำให้การนำเข้าลดลง เพื่อประหยัดทุนสำรองและนำเงินไปใช้หมุนเวียนลงทุนอย่างอื่นที่เกิดประโยชน์" นายอารีพงศ์ กล่าว

                สำหรับก๊าซธรรมชาติในแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP ปี 58-79) ตั้งเป้าลดสัดส่วนการใช้ให้เหลือ 30% จากแผนปัจจุบันที่มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนอยู่ที่ 57% และสร้างสมดุลในการใช้พลังงานด้านอื่น อย่างเช่น น้ำ ถ่านหินสะอาด และถ่านหินลิกไนต์ ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนค่าพลังงานให้ต่ำลงและสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ อีกทั้งรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ในปี 58 และเป็นการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้มีความมั่นใจเกี่ยวกับราคาต้นทุนพลังงานในประเทศไทย

                นายอารีพงศ์  ยังกล่าวต่อถึง การดำเนินงานของกองทุนน้ำมันว่า ยังดำเนินการเป็นปกติไม่ได้มีแผนยกเลิก เนื่องจากกองทุนน้ำมันเป็นสิ่งที่ช่วยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาด และทำให้ราคาน้ำมันมีการเปลี่ยนแปลงราคาไม่มากเกินไป ช่วยให้ไม่กระทบการเปลี่ยนแปลงรายจ่ายของประชาชน ซึ่งการปรับราคาน้ำมันเบนซินลดลง 3 บาท และเก็บภาษีน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเป็น 75 สตางค์ เป็นการทำให้ราคาน้ำมันในประเทศไม่เกิดความแตกต่างกันมากนัก

                "เรื่องของกองทุนน้ำมัน ในช่วงเช้าที่ผ่านมาที่มีการประกาศปรับราคาน้ำมัน ซึ่งราคาน้ำมันเบนซินลดลง 3 บาท และกองทุนก็เก็บภาษีน้ำมันดีเซลเพิ่มเป็น 75 สต.ทำให้ราคาเชื้อเพลิงในประเทศไม่แตกต่างกันมาก และไม่บิดเบือนตลาด สะท้อนให้เห็นราคาเชื้อเพลิงที่แท้จริง ที่ผ่านมาเราเก็บภาษีน้ำมันเบนซินเยอะ ดีเซลน้อย ตอนนี้ราคาเบนซินลดลง มีรถจักรยานยนต์ 20 ล้านคนได้ประโยชน์ ส่วนกองทุนน้ำมันยังดำเนินการไปตามปกติ ไม่ยกเลิก เพราะเป็นการช่วยราคาน้ำมันให้เป็นไปตามกลไกตลาด ไม่เปลี่ยนแปลงหวือหวาจนกระทบรายจ่ายของประชาชน" นายอารีพงศ์ ระบุ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ก.พลังงาน เดินหน้ารับฟังความเห็นประชาชนเตรียมพร้อมสู่การปฏิรูปพลังงาน

               นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP ปี 58-79) โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าพลังงานคิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท และมีอัตราการเติบโตของการใช้พลังงานอยู่ที่ 4.5% ต่อปี ทำให้ต้องมีการวางแผนในเรื่องพลังงานในการลดการนำเข้าพลังงานเพื่อประหยัดเงินทุนสำรองของประเทศ ซึ่งนำเงินไปใช้หมุนเวียนในการลงทุนอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศแทน และทำให้อัตราการใช้พลังงานมีการเติบโตที่ลดลง

          "วันนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นในเรื่องแผนเตรียมความพร้อมของแผน PDP ใน 20 ปีข้างหน้า ได้มีการนำแผนไปเสนอแก่ประชาชนและนักวิชาการต่างๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็น ว่าเขามีความคิดเห็นอย่างไร สิ่งที่สำคัญคือเราต้องมีการประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน ทุกวันนี้ประเทศไทยนำเข้าพลังงาน 2 ล้านล้านบาท และการใช้พลังงานมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นปีละ 4.5% เราจะทำอย่างไรให้การเติบโตลดลง และทำให้การนำเข้าลดลง เพื่อประหยัดทุนสำรองและนำเงินไปใช้หมุนเวียนลงทุนอย่างอื่นที่เกิดประโยชน์" นายอารีพงศ์ กล่าว

          สำหรับก๊าซธรรมชาติในแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP ปี 58-79) ตั้งเป้าลดสัดส่วนการใช้ให้เหลือ 30% จากแผนปัจจุบันที่มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนอยู่ที่ 57% และสร้างสมดุลในการใช้พลังงานด้านอื่น อย่างเช่น น้ำ ถ่านหินสะอาด และถ่านหินลิกไนต์ ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนค่าพลังงานให้ต่ำลงและสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ อีกทั้งรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ในปี 58 และเป็นการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้มีความมั่นใจเกี่ยวกับราคาต้นทุนพลังงานในประเทศไทย

          "ปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติยังมีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนพลังงานในประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ยังไม่มีการตัดสินใจเข้ามาลงทุนที่แน่นอน โดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุนที่เขาไม่มั่นใจต้นทุนพลังงานของเราในขณะนี้" นายอารีพงศ์ กล่าว

          ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงการดำเนินงานของกองทุนน้ำมันว่า ยังมีการดำเนินการเป็นปกติไม่ได้มีแผนยกเลิก เนื่องจากกองทุนน้ำมันเป็นสิ่งที่ช่วยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาด และทำให้ราคาน้ำมันมีการเปลี่ยนแปลงราคาไม่มากเกินไป ช่วยให้ไม่กระทบการเปลี่ยนแปลงรายจ่ายของประชาชน ซึ่งการปรับราคาน้ำมันเบนซินลดลง 3 บาท และเก็บภาษีน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเป็น 75 สตางค์ เป็นการทำให้ราคาน้ำมันในประเทศไม่เกิดความแตกต่างกันมากนัก

          "เรื่องของกองทุนน้ำมัน ในช่วงเช้าที่ผ่านมาที่มีการประกาศปรับราคาน้ำมัน ซึ่งราคาน้ำมันเบนซินลดลง 3 บาท และกองทุนก็เก็บภาษีน้ำมันดีเซลเพิ่มเป็น 75 สต. ทำให้ราคาเชื้อเพลิงในประเทศไม่แตกต่างกันมาก และไม่บิดเบือนตลาด สะท้อนให้เห็นราคาเชื้อเพลิงที่แท้จริง ที่ผ่านมาเราเก็บภาษีน้ำมันเบนซินเยอะ ดีเซลน้อย ตอนนี้ราคาเบนซินลดลง มีรถจักรยานยนต์ 20 ล้านคนได้ประโยชน์ ส่วนกองทุนน้ำมันยังดำเนินการไปตามปกติ ไม่ยกเลิก เพราะเป็นการช่วยราคาน้ำมันให้เป็นไปตามกลไกตลาด ไม่เปลี่ยนแปลงหวือหวาจนกระทบรายจ่ายของประชาชน" ปลัดกระทรวงพลังงาน ระบุ

          นายอารีพงศ์ ยังกล่าวถึง การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนในเรื่องการปฏิรูปพลังงานว่า เป็นหนึ่งในประเด็นการปฏิรูปในระดับชาติ ซึ่งกระทรวงพลังงานเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนต่อเรื่องพลังงาน จึงได้สานต่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องทั่วทุกภูมิภาคของประเทศเกี่ยวกับทิศทางพลังงานของไทย เพื่อให้ภาครัฐได้นำไปกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของชาติในระยะยาวต่อไป

          โดยการเปิดรับฟังความคิดเห็น "ทิศทางพลังงานไทย" จะจัดให้มีขึ้นตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ หลังจากการสัมมนาครั้งนี้ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ กระทรวงพลังงานมีกำหนดการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะจัดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นจะรวบรวมข้อมูลที่ได้รับฟังความคิดเห็นในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2557 จากนั้นจะนำข้อเสนอจากการรับฟังตามภูมิภาคมาสรุปประมวลผลที่กรุงเทพฯ

          เนื้อหาในการสัมมนาจะระดมความเห็นเกี่ยวกับแผนหลักๆ ด้านพลังงาน ทั้งจากแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) แผนอนุรักษ์พลังงาน แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ตลอดจนแผนด้านการจัดหาพลังงาน เพื่อปรับปรุงแผนด้านพลังงานด้านต่างๆ ที่มีอยู่พัฒนาไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันความต้องการใช้ไฟฟ้ากับกำลังผลิตไฟฟ้าในแต่ละภูมิภาคยังคงมีบางส่วนที่ต้องได้รับการพัฒนาให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการ เช่น ในภาคใต้ปัจจุบันมีกำลังผลิตไฟฟ้า 2,416 เมกะวัตต์ ขณะที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่ 2,683 เมกะวัตต์ และเป็นพื้นที่ที่มีความสวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงต้องดูความเหมาะสมของประเภทของโรงไฟฟ้า ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่การวางแผนยุทธศาสตร์พลังงานชาติในภาพรวมที่สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป

          ทั้งนี้ คาดว่าผลจากการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องด้านพลังงานทั่วประเทศจะมีส่วนช่วยสร้างความเข้าใจต่อแผนด้านพลังงานต่างๆ มากขึ้น และจะมีการรวบรวมข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ได้รับมาสรุปเป็นข้อมูลนำเสนอเพื่อการกำหนดเป็นนโยบายพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

ก.พลังงานเดินหน้ารับฟังความเห็นประชาชนเตรียมพร้อมสู่การปฏิรูปพลังงาน

            นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้เปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP ปี 58-79) โดยในปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าพลังงานคิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 2 ล้านล้านบาท และมีอัตราการเติบโตของการใช้พลังงานอยู่ที่ 4.5% ต่อปี ทำให้ต้องมีการวางแผนในเรื่องพลังงานในการลดการนำเข้าพลังงานเพื่อประหยัดเงินทุนสำรองของประเทศ ซึ่งนำเงินไปใช้หมุนเวียนในการลงทุนอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศแทน และทำให้อัตราการใช้พลังงานมีการเติบโตที่ลดลง

                "วันนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นในเรื่องแผนเตรียมความพร้อมของแผน PDP ใน 20 ปีข้างหน้า ได้มีการนำแผนไปเสนอแก่ประชาชนและนักวิชาการต่างๆ เพื่อรับฟังความคิดเห็น ว่าเขามีความคิดเห็นอย่างไร สิ่งที่สำคัญคือเราต้องมีการประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน ทุกวันนี้ประเทศไทยนำเข้าพลังงาน 2 ล้านล้านบาท และการใช้พลังงานมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นปีละ 4.5% เราจะทำอย่างไรให้การเติบโตลดลง และทำให้การนำเข้าลดลง เพื่อประหยัดทุนสำรองและนำเงินไปใช้หมุนเวียนลงทุนอย่างอื่นที่เกิดประโยชน์" นายอารีพงศ์ กล่าว

                สำหรับก๊าซธรรมชาติในแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP ปี 58-79) ตั้งเป้าลดสัดส่วนการใช้ให้เหลือ 30% จากแผนปัจจุบันที่มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนอยู่ที่ 57% และสร้างสมดุลในการใช้พลังงานด้านอื่น อย่างเช่น น้ำ ถ่านหินสะอาด และถ่านหินลิกไนต์ ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนค่าพลังงานให้ต่ำลงและสามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ อีกทั้งรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ในปี 58 และเป็นการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติให้มีความมั่นใจเกี่ยวกับราคาต้นทุนพลังงานในประเทศไทย

                "ปัจจุบันนักลงทุนต่างชาติยังมีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนพลังงานในประเทศไทยยังอยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ยังไม่มีการตัดสินใจเข้ามาลงทุนที่แน่นอน โดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุนที่เขาไม่มั่นใจต้นทุนพลังงานของเราในขณะนี้" นายอารีพงศ์ กล่าว

                ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงการดำเนินงานของกองทุนน้ำมันว่า ยังมีการดำเนินการเป็นปกติไม่ได้มีแผนยกเลิก เนื่องจากกองทุนน้ำมันเป็นสิ่งที่ช่วยให้ราคาน้ำมันเป็นไปตามกลไกตลาด และทำให้ราคาน้ำมันมีการเปลี่ยนแปลงราคาไม่มากเกินไป ช่วยให้ไม่กระทบการเปลี่ยนแปลงรายจ่ายของประชาชน ซึ่งการปรับราคาน้ำมันเบนซินลดลง 3 บาท และเก็บภาษีน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเป็น 75 สตางค์ เป็นการทำให้ราคาน้ำมันในประเทศไม่เกิดความแตกต่างกันมากนัก

                "เรื่องของกองทุนน้ำมัน ในช่วงเช้าที่ผ่านมาที่มีการประกาศปรับราคาน้ำมัน ซึ่งราคาน้ำมันเบนซินลดลง 3 บาท และกองทุนก็เก็บภาษีน้ำมันดีเซลเพิ่มเป็น 75 สต. ทำให้ราคาเชื้อเพลิงในประเทศไม่แตกต่างกันมาก และไม่บิดเบือนตลาด สะท้อนให้เห็นราคาเชื้อเพลิงที่แท้จริง ที่ผ่านมาเราเก็บภาษีน้ำมันเบนซินเยอะ ดีเซลน้อย ตอนนี้ราคาเบนซินลดลง มีรถจักรยานยนต์ 20 ล้านคนได้ประโยชน์ ส่วนกองทุนน้ำมันยังดำเนินการไปตามปกติ ไม่ยกเลิก เพราะเป็นการช่วยราคาน้ำมันให้เป็นไปตามกลไกตลาด ไม่เปลี่ยนแปลงหวือหวาจนกระทบรายจ่ายของประชาชน" ปลัดกระทรวงพลังงาน ระบุ

                นายอารีพงศ์ ยังกล่าวถึง การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนในเรื่องการปฏิรูปพลังงานว่า เป็นหนึ่งในประเด็นการปฏิรูปในระดับชาติ ซึ่งกระทรวงพลังงานเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนต่อเรื่องพลังงาน จึงได้สานต่อเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นอย่างต่อเนื่องทั่วทุกภูมิภาคของประเทศเกี่ยวกับทิศทางพลังงานของไทย เพื่อให้ภาครัฐได้นำไปกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของชาติในระยะยาวต่อไป

                โดยการเปิดรับฟังความคิดเห็น "ทิศทางพลังงานไทย" จะจัดให้มีขึ้นตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ หลังจากการสัมมนาครั้งนี้ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ กระทรวงพลังงานมีกำหนดการจัดสัมมนารับฟังความคิดเห็นตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะจัดขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น ภาคใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนั้นจะรวบรวมข้อมูลที่ได้รับฟังความคิดเห็นในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2557 จากนั้นจะนำข้อเสนอจากการรับฟังตามภูมิภาคมาสรุปประมวลผลที่กรุงเทพฯ

                เนื้อหาในการสัมมนาจะระดมความเห็นเกี่ยวกับแผนหลักๆ ด้านพลังงาน ทั้งจากแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) แผนอนุรักษ์พลังงาน แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ตลอดจนแผนด้านการจัดหาพลังงาน เพื่อปรับปรุงแผนด้านพลังงานด้านต่างๆ ที่มีอยู่พัฒนาไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันความต้องการใช้ไฟฟ้ากับกำลังผลิตไฟฟ้าในแต่ละภูมิภาคยังคงมีบางส่วนที่ต้องได้รับการพัฒนาให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการ เช่น ในภาคใต้ปัจจุบันมีกำลังผลิตไฟฟ้า 2,416 เมกะวัตต์ ขณะที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่ 2,683 เมกะวัตต์ และเป็นพื้นที่ที่มีความสวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยว จึงต้องดูความเหมาะสมของประเภทของโรงไฟฟ้า ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่การวางแผนยุทธศาสตร์พลังงานชาติในภาพรวมที่สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป

                ทั้งนี้ คาดว่าผลจากการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องด้านพลังงานทั่วประเทศจะมีส่วนช่วยสร้างความเข้าใจต่อแผนด้านพลังงานต่างๆ มากขึ้น และจะมีการรวบรวมข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ได้รับมาสรุปเป็นข้อมูลนำเสนอเพื่อการกำหนดเป็นนโยบายพลังงานของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

ลดน้ำมัน 3 บ.-ตรึงค่าไฟ คนไทยเฮ-คสช.คืนความสุข

            แนวหน้า : ลดน้ำมัน 3 บ.-ตรึงค่าไฟ คนไทยเฮ-คสช.คืนความสุข เบนซินลง-แต่ดีเซลขึ้น 14 สต. รื้อใหญ่โครงสร้าง‘พลังงาน’ เรกูเลเตอร์มีมติไม่ขึ้น‘เอฟที’

                วันที่ 28 สิงหาคม มีการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) โดยมี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะประธาน กบง. เป็นประธานการประชุม โดยนายชวลิต

                พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยการประชุมว่า กบง. มีมติเห็นชอบปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดใหม่ตามนโยบาย คสช. โดยให้ปรับลดอัตราจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันทุกชนิดใหม่ มีผลตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคมเป็นต้นไป

                จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันในกลุ่มเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลเกือบทุกชนิดลดลง โดยน้ำมันเบนซิน 95 ลดลง 3.89 บาท/ลิตร จากเดิมลิตรละ 48.75 บาท เหลือ 44.86 บาท น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 ลดลง 2.13 บาท/ลิตร จากเดิมลิตรละ 39.93 บาท เหลือ 37.80 บาท น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 ลด 1.70 บาท/ลิตร จากเดิมลิตรละ 37.48 บาท เหลือ 35.78 บาท น้ำมันแก๊สโซฮอล อี20 ลดลง 1.00 บาท จากเดิมลิตรละ 34.98 บาท เหลือ 33.98 บาท ขณะที่น้ำมันแก๊สโซฮอล อี85 ราคายังคงเดิม ส่วนน้ำมันดีเซลมีการเพิ่มภาษีสรรพสามิตและภาษีเทศบาล แต่ลดการเก็บเข้ากองทุนน้ำมันลง ทำให้ราคาขายปลีกเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.14 บาท/ลิตร จากเดิม 29.85 บาท เป็น 29.99 บาท

                นายชวลิต กล่าวอีกว่า การปรับโครงสร้างราคาน้ำมันดังกล่าว ส่งผลให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีรายรับลดลง 1,109 ล้านบาท/เดือน จาก 3,557 ล้านบาท/เดือน เป็น 2,448 ล้านบาท/เดือน ส่วนรายได้ที่เกี่ยวกับภาษีอื่นๆ จะหายไปหรือเพิ่มขึ้นอย่างไร ขณะนี้คงตอบไม่ได้เพราะต้องรอให้กระทรวงพลังงานโดยกรมธุรกิจพลังงานไปตรวจเช็คสต็อกน้ำมันก่อน

                ด้าน นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า การปรับลดราคาน้ำมันนั้น สศค. ประเมินไว้ในเบื้องต้นว่า จะยังคงไม่ส่งผลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศมากนัก แต่จากการปรับลดราคาน้ำมันจะช่วยลดค่าครองชีพให้กับประชาชนได้มากกว่า เพราะสามารถใช้น้ำมันในราคาที่ถูกลง

                รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังแจ้งว่า การดำเนินการดังกล่าว เป็นไปตามมติที่ประชุม คสช. เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา ที่กำหนดให้ปรับอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำมันสำเร็จรูปทุกชนิดใหม่ เพื่อให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะมีการปรับลดการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันแล้ว คสช. ยังขอให้กระทรวงการคลังปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซินทุกประเภทลงลิตรละ 1-2 บาท จากปัจจุบันเก็บอยู่ 5-7 บาท

                ขณะเดียวกันให้มีการปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลิตรละ 1.40 บาท จากปัจจุบันที่เก็บอยู่ลิตรละ 0.005 บาท แต่การปรับเพิ่มภาษีน้ำมันดีเซลจะไม่มีผลทำให้ราคาขายปลีกเพิ่มขึ้น เพราะมีการลดเงินนำส่งเข้ากองทุนน้ำมัน ไม่ให้กระทบกับผู้ใช้น้ำมัน จนทำให้ต้นทุนขนส่งและราคาสินค้าเพิ่มขึ้น

                วันเดียวกัน นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า เรกูเลเตอร์ได้พิจารณาอัตราค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดใหม่ ที่จะเก็บในบิลค่าไฟประชาชนรอบเดือนกันยายน-ธันวาคมที่จะถึงนี้ ซึ่งหากพิจารณาตามต้นทุนที่แท้จริง ต้องเพิ่มขึ้น 2.66 สตางค์ต่อหน่วย เป็นจัดเก็บ 71.66 สตางค์ต่อหน่วย แต่เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนจึงมีมติให้ตรีงค่าเอฟทีไว้เดิมที่ 69 สตางค์ต่อหน่วย

                “งวดที่แล้วการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) รับภาระไว้ 2,942 ล้านบาท แต่ล่าสุดเหลือภาระเพียง 1,426 ล้านบาท จึงให้กฟผ.แบกรับภาระส่วนนี้ไปต่อ ซึ่งเห็นว่าไม่มาก โดยต้นทุนก๊าซไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น ทำให้ต้นทุนค่าไฟไม่ได้สูงขึ้นมาก” นายวีระพลกล่าว

วินธัยยันปรับลดราคาน้ำมันเพื่อสะท้อนราคาแท้จริง ปัดถูกกดดันจากภาคปชช.

                พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก(ทบ.) กล่าวถึงการปรับราคาน้ำมันล่าสุดว่า ไม่เกี่ยวข้องกับการพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มภาคประชาชนกับ บมจ.ปตท.(PTT) เนื่องจากการปรับราคาน้ำมันในครั้งนี้เป็นเรื่องของการปรับอัตราภาษีของรัฐจาก 2 ส่วนหลัก คือ ภาษีสรรพสามิต ที่ได้มีการปรับเกลี่ยใหม่ให้เหมาะสมสะท้อนความจริงที่เป็นธรรม และการปรับลดอัตราภาษีที่มีการจัดเก็บเข้ากองทุนน้ำมันจากผู้ใช้น้ำมัน ด้วยเหตุที่ปัจจุบันรัฐมีแนวโน้มที่จะแบกรับภาระการชดเชยให้กับผู้ใช้ LPG ลดลง เนื่องจากนโยบายการทยอยขอปรับขึ้นราคา LPG เป็นรายเดือนตามแผนเดิมที่ได้ทำไว้ก่อนหน้านี้ จากเหตุที่ปัจจุบันราคา LPG ยังไม่เป็นไปตามกลไกตลาดที่แท้จริง ซึ่งที่ผ่านมาใช้วิธีนำเงินที่ได้จากการจัดเก็บภาษีเข้ากองทุนน้ำมันจากผู้ใช้น้ำมันบางส่วนมาชดเชย

                ทั้งนี้ ยืนยันว่า การปรับราคาน้ำมันในครั้งนี้เป็นไปตามแผนการบริหารจัดการพลังงานที่ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้วระยะหนึ่ง เพื่อให้ราคาพลังงานค่อยๆ ปรับไปใกล้เคียงสะท้อนความเป็นจริงของตลาด และเป็นธรรมต่อผู้ใช้พลังงานอย่างเท่าเทียมกัน

                อินโฟเควสท์

SCB EIC ชี้กบง.ปรับโครงสร้างราคาน้ำมันส่งสัญญาณ LPG ปรับขึ้น-จูงใจใช้พลังงานทดแทน

                ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB EIC) ระบุว่า กรณีคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) มีมติเห็นชอบปรับอัตราเงินจัดส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรื่องมาตรการเร่งด่วนในการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ในการประชุมวันที่ 28 สิงหาคม 2014 และให้มีผลบังคับใช้วันที่ 29 สิงหาคม 2014 นั้น จะทำให้รายรับของกองทุนฯ ลดลงราว 1 พันล้านบาท/เดือน เหลือประมาณ 2.5 พันล้านบาท/เดือน แต่เป็นสัญญาณว่าน่าจะมีการทยอยปรับขึ้นราคา LPG ในภาคขนส่งและภาคครัวเรือนให้เท่ากับราคาหน้าโรงแยกก๊าซฯ ที่ 24.82 บาท/กิโลกรัม เพื่อลดการชดเชยราคา LPG ซึ่งจะช่วยให้สถานะกองทุนฯ กลับมาดีขึ้น

                อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ใช้ E20 และ E85 ยังจะได้รับการชดเชยราคาจากกองทุนฯ ซึ่งเป็นแนวทางสอดคล้องกับภาครัฐที่ต้องการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนให้มากขึ้นในอนาคต

                สำหรับ มติดังกล่าวส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในกลุ่มเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮอลลดลงเกือบทุกชนิด โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินลดลงมากที่สุดที่ 3.89 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 ลดลง 2.13 บาท/ลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 ลดลง 1.70 บาท/ลิตร E20 ลดลง 1 บาท/ลิตร ส่วน E85 ราคาคงเดิม สำหรับน้ำมันดีเซลราคาปรับเพิ่มเล็กน้อย 0.14 บาท/ลิตร กลับไปสู่เพดานเดิม โดยราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลยังคงไม่เกิน 30 บาท/ลิตร

                "การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ เป็นไปตามแผนปฏิรูปพลังงานที่มุ่งให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ใช้น้ำมัน จากเดิมที่มีการเก็บเงินเข้ากองทุนฯ ในอัตราที่สูงจากผู้ใช้น้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล E10 เพื่อไปชดเชยการตรึงราคา LPG ขณะที่กลุ่มผู้ใช้ E20 และ E85 ยังจะได้รับการชดเชยราคาจากกองทุนฯ ซึ่งเป็นแนวทางสอดคล้องกับภาครัฐที่ต้องการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนให้มากขึ้นในอนาคต" เอกสารเผยแพร่ ระบุ

                ขณะที่ผู้ขับขี่ยานยนต์ส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์ ส่วนต้นทุนภาคขนส่งไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ราคาน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลที่ปรับลดลงช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพให้กับภาคครัวเรือนผู้ขับขี่ยานยนต์ ซึ่งมีปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล รวมประมาณ 700 ล้านลิตร/เดือน สำหรับผู้ประกอบการขนส่งซึ่งส่วนใหญ่ใช้น้ำมันดีเซลนั้น ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยกลับไปสู่เพดานเดิม และยังคงตรึงราคาไว้ไม่เกิน 30 บาท/ลิตร ซึ่ง SCB EIC ประเมินว่าต้นทุนขนส่งจะเพิ่มขึ้นเพียง 0.5% ต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร เมื่อเทียบกับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลก่อนหน้า

                โดยส่วนต่างราคาน้ำมันแก๊สโซฮอลกับเบนซินจะช่วยสร้างแรงจูงใจในการใช้พลังงานทดแทน แม้ส่วนต่างราคาจะแคบลงกว่าเดิม แต่ราคาขายปลีกแก๊สโซฮอลชนิดต่างๆ ยังมีราคาถูกกว่าน้ำมันเบนซินค่อนข้างมาก เช่น แก๊สโซฮอล 95 ถูกกว่า 7.06 บาท/ลิตร หรือ E85 ถูกกว่าถึง 20.58 บาท/ลิตร ทำให้คนยังนิยมใช้แก๊สโซฮอลที่มีส่วนผสมของเอทานอลที่ผลิตจากพืช เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ทั้งนี้ คาดว่าปริมาณการใช้แก๊สโซฮอลโดยรวมจะขยายตัวราว 5% โดยแก๊สโซฮอล E20 และ E85 จะมีสัดส่วนการใช้เพิ่มขึ้นตามลำดับ ในระยะยาวจะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศและสนับสนุนความมั่นคงทางพลังงาน

TMB ชี้ปรับโครงสร้างราคาน้ำมันภาคธุรกิจยังรับประโยชน์น้อย

                ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี(TMB Analytics) ประเมินผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจหลังการปรับโครงสร้างราคาในครั้งนี้ ออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้  ผลต่อภาคครัวเรือน คาดว่าจะส่งผลทำให้ผู้บริโภคประหยัดการใช้จ่ายด้านราคาน้ำมันในการขนส่งประมาณ 32 ล้านบาท/วัน หรือคิดเป็น 11,855 ล้านบาท/ปี นั่นหมายถึงกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น 176 บาท/คน/ปี นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง จะส่งผลทำให้เงินเฟ้อลดลงเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.03 ต่อปี จากกรณีปกติหากไม่มีการปรับโครงสร้างพลังงาน

                ส่วนต่อมา ผลต่อภาคธุรกิจ คาดว่าการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันจะทำให้ต้นทุนด้านพลังงานของภาคธุรกิจลดลงเฉลี่ย ร้อยละ 0.14 หรือคิดเป็นเม็ดเงินราว 820 ล้านบาท/ปี ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าภาคธุรกิจได้รับผลดีในระดับหนึ่ง เนื่องจากส่วนใหญ่ใช้พลังงานจากน้ำมันดีเซลมากกว่าน้ำมันเบนซิน (สัดส่วนใช้น้ำมันดีเซลร้อยละ 73 น้ำมันเบนซินร้อยละ 27) โดยภาคธุรกิจที่จะได้รับผลประโยชน์จะอยู่ในธุรกิจขนส่งที่เป็นขนาดย่อมเป็นส่วนใหญ่ เช่น บริการรับส่งเอกสาร บริการรถเช่า เป็นต้น

                ทางด้าน ผลต่อภาครัฐ นั้น ประเมินว่า แม้ว่ารายได้จากการจัดเก็บภาษีน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์จะลดลงจากการปรับโครงสร้างพลังงานใหม่ แต่ก็จะได้รับส่วนชดเชยจากการเก็บภาษีน้ำมันดีเซลที่มีสัดส่วนการใช้มากกว่า ทำให้คาดว่าภาครัฐจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีเทศบาลเพิ่มขึ้นประมาณ 6,800 ล้านบาท/ปี

                เมื่อพิจารณาผลกระทบในภาพรวม จะพบว่า ภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลประโยชน์จะเป็นภาคครัวเรือนที่จะมีค่าครองชีพลดลง มีกำลังใช้จ่ายมากขึ้น ในขณะที่ภาครัฐเองก็จะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีที่มากขึ้น ส่วนภาคธุรกิจได้รับผลประโยชน์น้อย เนื่องจากส่วนใหญ่ใช้พลังงานจากน้ำมันดีเซล และน้ำมันเตา มีเพียงภาคธุรกิจขนาดย่อมบางกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์ ซึ่งหากภาครัฐสามารถผลักดันการปรับโครงสร้างราคาพลังงานที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่ ให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและลดต้นทุนได้ จะหนุนให้ภาคธุรกิจเข้มแข็งมากขึ้น

                อย่างไรก็ตาม หากภาครัฐยังตรึงราคาน้ำมันดีเซลไว้ที่ 30 บาท/ลิตร อาจลดทอนประสิทธิผลของการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันในครั้งนี้ หากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกเร่งตัวสูงขึ้น จนทำให้ต้องมีการพิจารณาทบทวนนโยบายการจัดเก็บภาษี/การนำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันใหม่อีกครั้ง

                วานนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติเห็นชอบปรับอัตราการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล และทบทวนการนำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม เป็นต้นไป ส่งผลให้ราคาน้ำมันขายปลีกในกลุ่มเบนซิน ลดลง 3.89 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ลดลง 2.13 บาทต่อลิตร น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ลดลง 1.70 บาทต่อลิตร E20 ลดลง 1 บาทต่อลิตร ส่วนE85 ราคาไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่ราคาน้ำมันดีเซลถูกปรับสูงขึ้นเล็กน้อย 0.14 บาทต่อลิตร

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!