WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

สมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนพื้นที่ภาคเหนือบน พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผลักดันแพร่ก้าวสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก

          เมื่อเร็วๆ นี้ คณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน) โดยพลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ รองประธานกรรมการโครงการฯ พร้อมด้วยสมาชิกวุฒิสภา 27 ท่านลงพื้นที่จังหวัดแพร่ ลำปาง เชียงใหม่ รับฟังข้อมูล ข้อคิดเห็นร่วมกับเครือข่ายทางวัฒนธรรม และสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองที่วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง พร้อมเชิญ สกสว.และบพข.ร่วมลงพื้นที่เพื่อหารือการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของพื้นที่ภาคเหนือตอนบนและพร้อมผลักดันแพร่ก้าวสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก

 

12452 TSRT ผศ สุภาวดี โพธิยะราช


          ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (บพข.) เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วย ดร.ฉัตรฉวี คงดี ผู้ช่วยผู้อำนวยการหน่วยข้อมูลและสำนักงานผู้อำนวยการ สกสว. ได้รับเชิญจากคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาฯให้ร่วมลงพื้นที่และหารือการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ซึ่งนับเป็นภารกิจสำคัญของ สกสว.ในการใช้ผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมหรือ ววน. เพื่อยกระดับและขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจฐานรากมีความมั่นคงและแข็งแรงภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ Creative Economy ที่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาประเทศ ประกอบกับจังหวัดแพร่ มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากร ศิลปวัฒนธรรม อาทิ การแปรรูปไม้สัก งานย้อมผ้าและสิ่งทอ งานโลหะ อาหารและพืชสมุนไพร รวมถึงจุดเด่นใหม่ทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากงานฝีมือ Art & Craft
          ต่อความสำคัญดังกล่าว สกสว.ได้จัดสรรงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ กววน.ให้กับนักวิจัยในพื้นที่ ได้ดำเนินการวิจัยทางด้านทุนทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในหลายโครงการ อาทิ การจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สนับสนุนการวิจัยแก่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ เพื่อดำเนินการวิจัยเรื่อง การจัดการทุนวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนนิเวศน์วัฒนธรรมชุมชน ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เพื่อนำเสนอองค์ความรู้สู่การใช้ประโยชน์สร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ เชื่อมโยงองค์ความรู้ทุนทางวัฒนธรรมเดิมของพื้นที่จากปราชญ์ศิลปินกับกลุ่มนวัตกรทางวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่มาร่วมพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมร่วมกัน และ การจัดสรรงบประมาณ ให้แก่ บพข. สนับสนุนทุนวิจัยให้กับมหาวิทยาลัยพะเยา โดย ผศ.ดร.อัมเรศ เทพมา และคณะนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ดำเนินการวิจัยเรื่อง การยกระดับการท่องเที่ยวด้วยเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์บนฐานคิด “แพร่เมืองมรดกทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์” เพื่อศึกษารูปแบบของกิจกรรมมรดกวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่สามารถยกระดับ เพิ่มประสิทธิภาพ และพัฒนาเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของชุมชนในจังหวัดแพร่ และแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการพัฒนารูปแบบช่วงเวลาแบ่งปัน (Time sharing) ที่เหมาะสม สำหรับการพัฒนาอาคารเก่าที่คงสภาพการใช้งานหรือถูกทิ้งร้างให้เป็นแหล่งกิจกรรมมรดกวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดเศรษฐกิจรายได้ การท่องเที่ยว และการเรียนรู้ของชุมชน ตลอดจนการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อการบริหารจัดการเมืองมรดกทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Creative City Management Organization) ด้วยการขับเคลื่อนความร่วมมือกับภาคประชาชนเครือข่ายภาคพลเมืองท้องถิ่น
          กระทั่งสามารถบูรณาการการศึกษาวิจัยร่วมกับภาคเอกชนในนามกลุ่มเอบีโอพลัส และกลุ่มบริษัทลายโมทีป จำกัด ดำเนินการวิจัยและร่วมกับนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ในจังหวัดแพร่ อีกทั้งได้ร่วมจัดงานแพร่คราฟท์ 2022 โดยจัดเสวนาและนิทรรศการแสดงผลงานงานวิจัยของกองทุน ววน.ร่วมกับนักสร้างสรรค์ของจังหวัดแพร่กว่า 74 รายที่ได้นำสินค้าชิ้นงานสร้างสรรค์มาจัดแสดงและจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจในแพร่คราฟท์ 2022 ในครั้งนี้ด้วย

 

12452 TSRI

 

          สำหรับในพื้นที่จังหวัดลำปางและเชียงใหม่ กองทุนส่งเสริม ววน.ได้มีการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ด้วยงานวิจัยการท่องเที่ยวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข.โดยจังหวัดลำปาง มีการนำเสนอผลงานวิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยรถไฟบนเส้นทางยุคสมัยแห่งล้านนา การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนฐานอัตลักษณ์วัฒนธรรมอาหารลำปางและพื้นที่เชื่อมโยง รวมถึงการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยจากเส้นทางท่องเที่ยวรถไฟสายประวัติศาสตร์ (Lanna Modernization) เชิงพาณิชย์ และต่อยอดการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์บนเส้นทางรถไฟสายเหนือส่วนขยาย (เชียงใหม่ - ลำปาง ไปยังพิษณุโลก)โดยคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง นำโดย ผศ.ดร.ณัฐนันท์ ฐิติยาปราโมทย์ ดร.ปัณณทัต กัลยา และอ.ธวัชชัย ทาทอง
          เช่นเดียวกับจังหวัดเชียงใหม่ มีการนำเสนอผลงานวิจัยในประเด็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างมูลค่าและคุณค่าแก่การท่องเที่ยวเชิงพักผ่อนล้านนา (Creative Leisure Lanna) โดย ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รวมถึงประเด็นของ Festival Economy การพัฒนาต่อยอดการจัดงานเทศกาลประจาเมืองสู่ยุทธศาสตร์การส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในจังหวัดเชียงใหม่ โดย ดร.ณัฐพงศ์ พันธ์น้อย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


A12452

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!