- Details
- Category: เศรษฐกิจทั่วไป
- Published: Sunday, 09 April 2023 18:27
- Hits: 1799
อังค์ถัดผนึกกำลังพันธิตรไทยผลักดันพลังหญิง ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านการใช้เทคโนโลยี
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ อังค์ถัด ผนึกกำลังประสานความร่วมมือพัฒนาการใช้ประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจัดการฝึกอบรมผู้ประกอบการ และนักวิจัยหญิง เพื่อเพิ่มศักยภาพผลักดันให้เกิดต้นแบบเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียวของประเทศ นำร่อง 15 ตัวแทนจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เข้าร่วมเวิร์คช็อปเดือนสิงหาคม ที่กรุงเทพฯ
ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียวหลังจากที่ประเทศสามารถผ่านวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่จะนำความหลากหลายทางชีวภาพภายในประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงความร่ำรวยทางมรดกวัฒนธรรม โดยคำนึงถึงโอกาสการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ผ่านการสนับสนุนทั้งทางด้านกรอบของกฎหมายและเงินลงทุน จะเป็นต้นแบบในการช่วยให้บริษัทสามารถพัฒนาขีดความสามารถด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมหลักสี่ประเภท คือ อุตสาหกรรมด้านการเกษตรและอาหาร อุตสาหกรรมด้านยาและสุขภาพ อุตสาหกรรมด้านชีวพลังงาน ชีววัตถุ และชีวเคมีภัณฑ์ และรวมถึงอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์
และภายในอีกห้าปีข้างหน้า รัฐบาลคาดว่าโมเดลทางธุรกิจนี้จะสามารถสร้างรายได้เกือบ 30% ของสี่อุตสาหกรรมหลัก จาก GDP รวมที่ 3.4 ล้านล้านบาท (99.5 พันล้านUSD) ถึง 4.4 ล้านล้านบาท (128.7 พันล้านUSD) โดยภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าวนั้น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ อังค์ถัด จะจัดโครงการฝึกอบรมให้นักวิจัยและผู้ประกอบการที่เป็นผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนาได้เรียนรู้โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียว เพื่อนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงธุรกิจ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวได้มีขึ้นในการประชุมครั้งที่ 26 ของคณะกรรมการด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา
“โมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียวมีศักยภาพที่จะขยายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน และเรามีความยินดีที่ประเทศไทยพร้อมที่จะแบ่งปันประสบการณ์เหล่านี้ ซึ่งเราได้รับการตอบรับที่ดีจากหลายประเทศที่แสดงความสนใจมาเข้าร่วมกับโครงการดังกล่าว โดยกรอบความร่วมมือนี้เป็นความสำเร็จอย่างต่อเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 25 ซึ่งได้จัดขึ้นเมื่อปีที่ผ่านมา” คุณชามิกา เอ็น ซิริมัน ผู้อำนวยการอังค์ถัดด้านเทคโนโลยีและการขนส่ง กล่าวในพิธีเซนต์สัญญาความร่วมมือของทั้งสององค์กร
โดยในระยะแรกของโครงการนั้น ทั้งสองภาคีจะร่วมกันฝึกอบรม 15 คน ตัวแทนจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งการฝึกอบรมดังกล่าวจะจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครในเดือนสิงหาคม ปีนี้ โดยจะคัดเลือกจากผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการที่เป็นสมาชิกของของคณะกรรมการด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากประเทศในกลุ่มเอเชีย และแอฟริกา โดยความร่วมมือดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มประเทศสมาชิกถาวรในเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์
ผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับการฝึกอบรมในการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในสี่อุตสาหกรรมหลัก พร้อมทั้งการแบ่งปันประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรม จากผู้ประกอบการชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์จากสถาบันที่มีชื่อเสียง และผู้วางกรอบนโยบายที่สอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจหมุนเวียนสีเขียว
“เมื่อเรามองไปในอนาคต มันถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับวิธีการที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมีความเท่าเทียม และมีประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งพลังของผู้ประกอบการและนักวิจัยผู้หญิงมีศักยภาพที่สูงมาก และไม่ควรถูกจำกัด” ดร.ปัทมาวดี กล่าว
กรอบความร่วมมือดังกล่าว เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างประเทศกำลังพัฒนา (South-South Cooperation) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ส่งเสริมความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา โดย สุพัตรา ศรีไมตรีพิทักษ์ เอกอัครราชทูตไทยและผู้แทนถาวรขององค์การสหประชาชาติ กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเสริมสร้างความสามัคคีในกรอบนโยบายและการเติมเต็มในกรอบของการปฎิบัติ รวมถึงการส่งเสริมยุทธศาสตร์ทางเลือกเพื่อการพัฒนาของกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ของ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กับความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรมของประเทศ เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนามีกำลังขับเคลื่อนภายในเพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
A4295