WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

TTAส.ยาสูบไทยเตือนบุหรี่ซองเรียบไม่ช่วยลดนักสูบ แต่กลับกระตุ้นบุหรี่เถื่อนทะลัก ร่างพ.ร.บ.ใหม่เสี่ยงข้อพิพาทการค้าระหว่างประเทศ แนะถอนร่างกฎหมายสุดโต่ง

    เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาสภาผู้แทนราษฎรประเทศอังกฤษผ่านร่างกฎหมายซองบุหรี่แบบเรียบ (Plain Packaging) ท่ามกลางข้อพิพาททางการค้าในองค์การการค้าโลก โดยร่างกฎหมายดังกล่าวจะห้ามพิมพ์โลโก้หรือเครื่องหมายการค้าใดๆ ลงบนซองบุหรี่และบังคับให้ซองทุกยี่ห้อใช้สีและรูปแบบตัวอักษรเดียวกัน หากกฎหมายดังกล่าวได้รับการลงมติเห็นชอบจากวุฒิสภาอังกฤษต่อไปจะมีผลบังคับใช้ในสหราชอาณาจักรรวมถึงสกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือในเดือนพฤษภาคม 2559 ด้านสมาคมการค้ายาสูบไทยระบุมาตรการดังกล่าวไม่ช่วยลดนักสูบ แต่จะทำให้บุหรี่เถื่อนไหลทะลัก และเสี่ยงประเด็นพิพาทการค้าละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเช่นในออสเตรเลีย แนะถอนร่างกฎหมายที่มีความสุดโต่งออกไปก่อน

   นางวราภรณ์ นะมาตร์ ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวว่า “สมาคมฯ ได้ติดตามความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้เพราะร่าง พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่ขณะนี้ถูกตีกลับไปยังสธ. ตามคำแนะนำของสำนักเลขาฯ ครม. โดยร่างได้มีการพูดถึงมาตราเรื่องหีบห่อและบรรจุภัณฑ์ที่จะนำไปสู่การบังคับใช้ซองเรียบด้วย สมาคมฯ มองว่ามาตรการเรื่องซองไม่ได้ช่วยลดอัตราการสูบ อีกทั้งจะก่อให้เกิดผลตรงข้ามไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นการค้าบุหรี่เถื่อนบุหรี่ปลอม เพราะซองที่ไร้สีสันที่ง่ายต่อการปลอมแปลง ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิต และยังสร้างภาระให้แก่ผู้ค้าขายอีกนับไม่ถ้วน จากผลสำรวจความคิดเห็นของร้านค้าปลีกทั่วประเทศโดยนิด้าในปี 2557 แสดงว่า ร้อยละ 92 ของร้านค้ามองว่า มาตรานี้จะทำให้กิจกรรมทางการค้ายุ่งยากขึ้นไปอีก เช่น การสั่งหรือบริหารจัดการคลังสินค้าที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกันหมด ในขณะที่ร้อยละ 90 มองว่าซองเรียบจะทำให้บุหรี่ปลอมมีเพิ่มมากขึ้นในตลาด”  

    หลังจากสภาผู้แทนฯ สหราชอาณาจักรได้มีมติเห็นชอบผ่านร่างกม.ซองบุหรี่แบบเรียบ ได้มีเสียงคัดค้านทั้งจากภาครัฐและเอกชนมากมายต่อมาตรการดังกล่าว ด้านสถาบันวิจัยชั้นนำ Centre for Drug Use Research ในเมืองกลาสโกว์เผยว่าจาก กรณีศึกษาจากออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศที่เริ่มใช้ซองบุหรี่แบบเรียบตั้งแต่ปี 2555 ต้องเผชิญกับความล้มเหลวในการลดจำนวนนักสูบซ้ำยังมีผู้สูบเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 60,000 คน และยังส่งผลให้ออสเตรเลียต้องเผชิญต่อคดีฟ้องร้องจาก 5 ประเทศในองค์การการค้าโลก ได้แก่ ยูเครน ฮอนดูรัส สาธารณรัฐโดมินิกัน คิวบา และอินโดนีเซียในประเด็นที่อาจละเมิดต่อสิทธิในการใช้เครื่องหมายการค้า “ในร่าง พ.ร.บ. ยาสูบฉบับใหม่มีการกำหนดข้อห้ามไม่ให้นำกฎหมายทรัพย์สินปัญญามาใช้ซึ่งเรื่องนี้ทางกระทรวงพาณิชย์ได้แสดงความกังวลว่าอาจจะเป็นการขัดต่อข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศขององค์การการค้าโลกและอาจนำไปสู่การฟ้องร้องต่อประเทศไทย ขณะนี้ร่างฯดังกล่าวถูกตีกลับไปที่สธ. แสดงให้เห็นว่าร่างพ.ร.บ. นี้มีปัญหาหลายประการ ผู้ออกกฎหมายจึงต้องพิจารณาให้ดีถึงประสิทธิภาพในการช่วยลดนักสูบและมาตรการนี้จะนำมาซึ่งความยุ่งยากทางการค้าระหว่างประเทศหรือไม่” นางวราภรณ์กล่าวทิ้งท้าย

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!