WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

PWAรตนา กจวรรณ copyกปภ.ทุ่มสุดตัวลงทุนกว่า 6,000 ล้าน เร่งรับมือภัยแล้งช่วยประชาชน

    บ้านเมือง  : ความแห้งแล้งเป็นภัยธรรมชาติประเภทหนึ่งสาเหตุอย่างหนึ่งเกิดมาจากฝีมือมนุษย์เอง ความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมก่อให้เกิดโลกร้อนขึ้น ความแห้งแล้งก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจในแต่ละปีหลายพันล้านหรือกว่าหมื่นล้าน พืชผลเกษตรกรได้รับความเสียหาย บางปีถึงกับแย่งน้ำกัน จนกระทั่งหวั่นว่าจะเกิดการปะทะกันขึ้นหน่วยหนึ่งโดดเข้ามาร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ แก้ไขปัญหาความแห้งแล้งได้แก่การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เตรียมพร้อมมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปีหน้าในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ

       โดยนางรัตนา กิจวรรณ ผู้ว่าการ กปภ. กล่าวว่า จากการประสานติดตามสถานการณ์ฝนและน้ำท่าร่วมกับกรมชลประทานและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด กปภ.ประเมินว่าในปี 2559 อาจเผชิญกับภัยแล้งที่รุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมาและประเมินปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตและจ่ายน้ำให้บริการประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวังช่วงฤดูแล้งปีหน้า 57 สาขา จากพื้นที่ให้บริการของ กปภ.ทั้งหมด 234 สาขา 358 หน่วยบริการ กปภ. จึงได้จัดทำมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง 3 ระยะ ทั้งในระยะเร่งด่วน ระยะสั้น และระยะยาว โดยแผนงานระยะเร่งด่วนจะดำเนินการปรับปรุงแหล่งน้ำ สูบผันน้ำ ขุดลอกคูคลอง ขุดสระเก็บน้ำ เจาะบ่อบาดาล ก่อสร้างระบบผลิตและวางท่อขยายเขตจำหน่ายน้ำเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ปี 2559 วงเงินรวม 1,000 ล้านบาท แผนงานระยะสั้น กปภ.ได้เพิ่มงบลงทุน 1,155 ล้านบาท ในการปรับปรุงเส้นท่อ วางท่อจำหน่ายน้ำ ก่อสร้างระบบผลิต จัดหาอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้เพิ่มเติม จำนวน 17 โครงการในพื้นที่เฝ้าระวังที่ประสบปัญหาปริมาณน้ำดิบในแหล่งน้ำหลักที่ใช้ผลิตน้ำประปาลดลงอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่เศรษฐกิจที่มี

     การขยายตัวของชุมชนอย่างรวดเร็ว ส่วนแผนระยะยาว ปี 2560-2561 ประกอบด้วยแผนงานเจาะบ่อบาดาล วางท่อน้ำดิบ ก่อสร้างระบบผลิตและวางท่อ ปรับปรุงแหล่งน้ำและขุดสระเก็บน้ำ วงเงินรวมประมาณ 4,000 ล้านบาท นอกจากนี้ กปภ.ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่ กปภ.สำนักงานใหญ่ และ กปภ.เขต 1-10 ติดตามสถานการณ์น้ำในแต่ละพื้นที่เพื่อบูรณาการข้อมูลป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้ทันต่อสถานการณ์ ควบคู่ไปกับการจ่ายน้ำให้ประชาชนที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคโดยไม่คิดมูลค่า ร่วมกับ กองทัพบก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรมทรัพยากรน้ำบาดาล และบริษัท ปตท. จำกัด มหาชน ในโครงการ ราษฎร์ รัฐ ร่วมใจ ช่วยภัยแล้ง ที่ดำเนินการต่อเนื่องมากว่า 12 ปี

       ผู้ว่าการ กปภ. กล่าวอีกว่า มั่นใจในมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มงบลงทุน 17 โครงการในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกที่ประสบปัญหาในปี 2558 จะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดย กปภ.จะเร่งรัดติดตามทุกแผนงานการลงทุนให้แล้วเสร็จพร้อมมือภัยแล้งครั้งหน้าตามเป้าหมายที่วางไว้

      ด้านนายจิรชัย มูลทองโร่ย ประธานกรรมการกปภ. กล่าวว่า จากการประเมินสถานการณ์ภัยแล้งร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในทุกภาคส่วนอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการติดตามปริมาณฝนและน้ำท่าร่วมกับกรมชลประทาน ทำให้คาดการณ์ได้ว่าในปี 2559 ประเทศไทยจะประสบกับปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงและยาวนานกว่าทุกปี กปภ. จึงได้จัดประชุมประเมินปัญหาภัยแล้งในปี 2559 ร่วมกับกรมชลประทาน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อบูรณาการความร่วมมือกันแก้ปัญหาภัยแล้งให้ผ่านพ้นไปให้ได้ด้วยดีให้ได้ โดยกรมชลประทาน ได้นำข้อมูลของ กปภ.สาขา ที่ประสบปัญหาภัยแล้งในปี 2558 เข้ามาอยู่ในแผนงานของกรมชลประทานที่จะจัดสรรน้ำ ในปี 2559 ยืนยันจะกักเก็บน้ำไว้สำหรับการอุปโภคบริโภคเป็นอันดับแรก

    ในกรณีพื้นที่ใดมีน้ำดิบไม่เพียงพอสำหรับผลิตน้ำประปา กรมชลประทานพร้อมจะสูบหรือผันน้ำจากแหล่งน้ำใกล้เคียงเข้ามาช่วยเหลือ ส่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จะให้ความร่วมมือกับ กปภ. ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำดิบ ตลอดจนเตรียมความพร้อมเพื่อให้การช่วยเหลือประชาชนในแต่ละพื้นที่หากประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรง นอกจากนี้ ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน กปภ. ได้กำหนดยุทธศาสตร์ปี 2560 - 2561 เดินหน้าแผนงานเจาะบ่อบาดาล วางท่อน้ำดิบ ก่อสร้างระบบผลิตและวางท่อ ปรับปรุงแหล่งน้ำและขุดสระเก็บน้ำ วงเงินรวมประมาณ 4,000 ล้านบาท เสริมสร้างศักยภาพการกักเก็บน้ำและสูบจ่ายน้ำประปาให้กับประชาชนได้มีน้ำประปาใช้สำหรับอุปโภคบริโภคอย่างต่อเนื่องตลอดปีแม้ว่าภัยแล้งจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปกติทุกปี และ กปภ. มีการลงทุนแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบมาอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม แต่คงยังต้องขอความร่วมมือลูกค้าให้ใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่าอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งตรวจสอบระบบท่อประปาภายในบ้านมิให้มีการรั่วไหลด้วย หากประชาชนขาดแคลนน้ำประปาเพื่อใช้ในการอุปโภคและบริโภค แจ้งได้ที่ กปภ. ทั้ง 234 สาขาในแต่ละพื้นที่ หรือ PWA Call Center 1662

       เราในฐานะประชาชนที่เฝ้าสังเกตการณ์แก้ไขปัญหา ในเมื่อทุกหน่วยงานได้ร่วมมือกันอย่างจริงจัง ก็ทำให้เชื่อว่าปัญหาภัยแล้งจะได้รับการแก้ไขให้บรรเทาเบาลง ประชาชนได้รับการช่วยเหลือมีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ ขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานด้วย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!