WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1ลดใชนำสภยแลง

วปอ. 2550 ปลุกกระแสคนเมือง ลดใช้น้ำสู้ภัยแล้ง ผนึกความร่วมมือ ในเสวนา 'น้ำน้อย แพ้ พลังใจ รวมพลังคนไทย ร่วมใจฝ่าภัยแล้ง'

   วปอ.จับมือภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ภาคประชาสังคม ผู้ประกอบการ เตรียมรับสถานการณ์ภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปีหวังร่วมหามาตรการ และนำเสนอนโยบายเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งในช่วง 3 เดือนข้างหน้านี้ กระตุ้นคนไทยรณรงค์ลดการใช้น้ำ20% รวมพลังคนไทย ร่วมใจฝ่าภัยแล้งไปพร้อมกัน 

      คณะนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่น 2550 (วปอ.รุ่น 2550) จัดงานเสวนา "น้ำน้อย  แพ้พลังใจ รวมพลังคนไทย ร่วมใจฝ่าภัยแล้ง" พร้อมด้วยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านน้ำของประเทศร่วมถกประเด็น ผนึกความร่วมมือ หารือทางออก ร่วมกู้วิกฤตภัยแล้งในครั้งนี้ ประกอบด้วย นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายต่างประเทศ บริษัท ทีม กรุ๊ป ออฟ คัมปานีส์ จำกัด ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำ นายชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) ผู้ประกอบการน้ำประปาเอกชนรายใหญ่ของประเทศ นายเจริญ ภัสระ ประธานกรรมการ การประปานครหลวง ผู้ทำงานด้านการประปา มากว่า 30 ปี นายวิทยา ฉายสุวรรณ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานกรรมการ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) (อีสท์วอเตอร์) ผู้ส่งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ของไทย ดำเนินรายการโดย นายกิตติ สิงหาปัด ณ ห้องคอนเวนชั่น เอ 2 ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์

     การจัดงานเสวนาในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อร่วมรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญ และผลกระทบของปัญหาภัยแล้งในปี 2559 ซึ่งมีแนวโน้มวิกฤตรุนแรงกว่าทุกปี และเป็นการสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของสังคมออกมาแสดงบทบาทและมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาภัยแล้งเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ อีกทั้งเป็นการแสดงพลังเพื่อขับเคลื่อนการช่วยเหลือสังคมของ วปอ.รุ่น 2550 ทั้งนี้มีแนวคิดในการผนึกกำลังจาก ทั้งภาครัฐ และเอกชน ร่วมถกประเด็น เพื่อหารือทางออก ในการเตรียมแผนรองรับวิกฤตภัยแล้งที่กำลังจะมาถึง รวมถึงปลูกจิตสำนึก ปลุกกระแสประชาชน โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยตามหัวเมืองใหญ่ให้รวมพลัง ร่วมใจลดใช้น้ำ เพื่อฝ่าวิกฤตภัยแล้งไปด้วยดี

    นายชวลิต จันทรรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ฝ่ายต่างประเทศ บริษัท ทีม กรุ๊ป ออฟ คัมปานีส์ จำกัด ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำ เปิดเผยว่า ปริมาณน้ำในเขื่อน 4 แห่ง ที่เป็นหัวใจสำคัญต่อพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ได้แก่ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก  เขื่อนสิริกิติ์ จ. อุตรดิตถ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ. พิษณุโลก เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ  ใช้งานได้ 6,962 ล้าน ลบ.ม. เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2557 แต่เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 เขื่อนทั้ง 4 เหลือปริมาณน้ำใช้งานได้เพียง 3,988 ล้าน ลบ.ม. และคาดการณ์ว่ามกราคม 2559 จะมีปริมาณน้ำเหลืออยู่ 3,500 ล้าน ลบ.ม. เท่านั้น  ประกอบกับปรากฎการณ์ เอลนีโญ ด้วยแล้ว ยิ่งทำให้สถานการณ์น้ำในบ้านเรากำลังเข้าสู่วิกฤตภัยแล้งที่คนไทยต้องเผชิญอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม ซึ่งจะยังไม่เข้าสู่ช่วงฤดูฝน

    นายชวลิต ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สถิติการใช้น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาปัจจุบันมีปริมาณการใช้เพิ่มสูงขึ้นจากทั้งภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรม สถานประกอบการ และภาคครัวเรือน โดยใช้รวมกันประมาณ 20 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ประชากรหนาแน่น ใช้น้ำถึงวันละ 5 ล้าน ลบ.ม. สำหรับในภาคการเกษตร ภาครัฐมีมาตรการขอความร่วมมือให้ชาวนาและเกษตรกรงดทำนาปรัง และหันมาปลูกพืชทดแทนแทนการทำนาดังกล่าว  แม้จะสามารถช่วยบรรเทาวิกฤตภัยแล้งนี้ได้ระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นเรื่องที่ผู้ใช้น้ำทุกฝ่ายต้องเข้ามารับผิดชอบร่วมกัน

      สำหรับ แนวคิดเบื้องต้น ที่ทุกภาคส่วนสามารถทำได้เพื่อฝ่าวิกฤตสถานการณ์ภัยแล้งนี้คือ รณรงค์  ลดใช้น้ำ ประหยัดการใช้น้ำลงร้อยละ 20 ทั้งในภาคครัวเรือน อุตสาหกรรม องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน  ก็จะช่วยบรรเทาให้คนไทยทุกภาคส่วนได้มีน้ำใช้ไปได้ถึงกลางปี หรือจนถึงมิถุนายน 2559

   “นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เป็นตัวเร่งให้เกิดสถานการณ์ภัยแล้ง อาทิ แหล่งน้ำเสื่อมโทรมเพิ่มมากขึ้น ทำให้ต้องใช้น้ำรักษาระบบนิเวศน์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีภาครัฐได้มีแผนการจัดสรรน้ำ และมาตรการ รวมถึงผลสำรวจ และความเสี่ยงต่อสถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังจะมาถึง สถานการณ์ภัยแล้งไม่ได้เป็นวิกฤต ที่ภาครัฐให้ความสำคัญและเร่งหาทางออกเพียงฝ่ายเดียว หากแต่เป็นปัญหาระดับชาติ ที่ทุกภาคส่วน  ทั้งประชาชน สถานประกอบการ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ต้องให้ความร่วมมือนายชวลิตกล่าว               

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ คุณอัจฉรา, คุณเวณิกา โทร 02-6633226-9 ต่อ 56 และ 65

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!