WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สศอ.เผยปี 58 ไทยได้โควต้านำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนตามข้อตกลง JTEPA 5.3 แสนตัน

     นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารการนำเข้าสินค้าหมวดเหล็กและเหล็กกล้าที่มีโควตาตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ว่า ผลจาก

     การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารการนำเข้าสินค้าหมวดเหล็กและเหล็กกล้าที่มีโควตาตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น มีดังนี้ เหล็กแผ่นรีดร้อนกัดกรดเคลือบน้ำมัน (Q9)  ปริมาณ 210,000 ตัน, เหล็กแผ่นรีดร้อนหน้ากว้างสำหรับนำไปรีดเย็นต่อ (ที่มีส่วนผสมของคาร์บอนน้อยกว่า 0.01%) (Q10) ปริมาณ 150,000 ตันและ เหล็กแผ่นรีดร้อนหน้ากว้างสำหรับนำไปรีดเย็นต่อเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ (ที่มีส่วนผสมของคาร์บอน 0.01-0.1 %) (Q11) ปริมาณ 170,000 ตัน

      ทั้งนี้ ปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่นสำหรับปี 2558 ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากภาครัฐต้องการจะส่งเสริมให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น เพราะอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศยังมีกำลังการผลิตเหลืออยู่เป็นจำนวนมากและผลิตภัณฑ์บางชนิดไม่จำเป็นต้องใช้เหล็กที่นำเข้าจากต่างประเทศ

     นอกจากนี้ ภาครัฐยังต้องการให้ปริมาณโควตานำเข้าสมดุลกับการดำเนินโครงการความร่วมมือทางด้านวิชาการของฝ่ายญี่ปุ่นในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไทยในช่วง 7 ปี ที่ผ่านมาอาจกล่าวได้ว่าความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของไทยนั้นยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

     อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริหารการนำเข้าสินค้าหมวดเหล็กและเหล็กกล้าที่มีโควตาตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น จะมีการทบทวนปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่นสำหรับปี 2558 อีกครั้งในราวเดือนมิถุนายน 2558 เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป

                อินโฟเควสท์

อุตฯลดโควตานำเข้าเหล็กหลังยอดผลิตรถต่ำ

      แนวหน้า : นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึงการกำหนดโควตาการนำเข้าเหล็กตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (เจเทปป้า) ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารการนำเข้าสินค้าหมวดเหล็กและเหล็กกล้าที่มีโควตาตามความตกลงเจเทปป้า โดยได้กำหนดปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่นสำหรับปี 2558 เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน,เครื่องใช้ไฟฟ้า,ท่อเหล็ก และเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งสาเหตุที่ลดจำนวนโควตาได้มาก ก็เพราะคาดว่าปริมาณการผลิตรถยนต์จะต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ในปี 2557 ดังนั้นในปี 2558 จึงได้กำหนดโควตาไว้ที่ 5.3 แสนตัน ลดลงจากหลายปีที่ผ่านมา

    ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับปี 2551 เคยให้โควตา 1 ล้านตัน ปี 2555 ให้ 1.33 ล้านตัน ปี 2556 ให้ 1.23 ล้านตัน และปี 2557 ให้ 1.22 ล้านตัน

     “คาดว่า ปริมาณการผลิตรถยนต์จะต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ในปี 2557 ที่ตั้งเป้าไว้ช่วงต้นปีที่ 2.7 ล้านคัน แต่ผลิตได้จริงเพียง 2 ล้านคัน โดยในปีหน้าจะยึดตามตัวเลขของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ที่คาดว่าจะมียอดผลิตประมาณ 2.2 ล้านคัน”

     นายอุดมกล่าวว่า สาเหตุการปรับลดยังมาจาก กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เปลี่ยนวิธีการคำนวณปริมาณการใช้เหล็กในอุตสาหกรรมรถยนต์ใหม่จากเดิมที่คำนวณจากการใช้เหล็กในรถยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดคูณกับจำนวนรถยนต์ที่คาดว่าจะผลิตได้ มาเป็นการแบ่งการใช้เหล็กในรถยนต์ 3 ขนาด เล็ก กลาง และใหญ่ ตามประมาณการที่จะผลิตได้ และนำมาหาค่าเฉลี่ยเป็นปริมาณการใช้เหล็ก ทำให้ได้จำนวนการใช้เหล็กใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

สศอ.เผยนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนลด

         บ้านเมือง : นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารการนำเข้าสินค้าหมวดเหล็กและเหล็กกล้าที่มีโควตาตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ณ กรมการค้าต่างประเทศ โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมร่วมเป็นกรรมการและเป็น ผู้แทนฝ่ายไทยเจรจากับฝ่ายญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2557 ว่า ในการประชุมมีการพิจารณากำหนดปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่นสำหรับปี 2558 ซึ่งภายใต้ความตกลงฯ ไทยจะยกเว้นภาษีศุลกากรในบางพิกัดเป็นระยะเวลา 10 ปี (ปี 2550-2559) โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนเหล่านี้จะใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมท่อเหล็ก อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์

        การประชุมครั้งนี้คณะกรรมการบริหารการนำเข้าฯ ได้พิจารณากำหนดโควตาโดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของความตกลง JTEPA ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดสมดุลใน 4 ด้าน คือ 1.การสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กในประเทศไทย 2.การสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมการผลิต "ผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต้องใช้เหล็กแผ่นที่มีคุณสมบัติเฉพาะจากญี่ปุ่น" ในประเทศไทย 3.การนำเข้าเหล็กจากประเทศญี่ปุ่น และ 4.การได้รับความร่วมมือจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็กของญี่ปุ่นในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเหล็กไทย

     จากประเด็นเหล่านี้ทำให้ปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่นสำหรับปี 2558 ลดลงจากปีก่อน เนื่องจากภาครัฐต้องการจะส่งเสริมให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องได้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล็กภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น เพราะอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศยังมีกำลังการผลิตเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก และผลิตภัณฑ์บางชนิดไม่จำเป็นต้องใช้เหล็กที่นำเข้าจากต่างประเทศ

      นอกจากนี้ ภาครัฐยังต้องการให้ปริมาณโควตานำเข้าสมดุลกับการดำเนินโครงการความร่วมมือทางด้านวิชาการของฝ่ายญี่ปุ่น ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กไทยในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาอาจกล่าวได้ว่าความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กของไทยนั้นยังไม่บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารการนำเข้าสินค้าหมวดเหล็กและเหล็กกล้าที่มีโควตาตามความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทยญี่ปุ่นจะมีการทบทวนปริมาณโควตานำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศญี่ปุ่นสำหรับปี 2558 อีกครั้งในราวเดือนมิถุนายน 2558 เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและสถานการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!