WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

‘กนอ.’เร่งเปิดวอร์รูม-จัดตั้งศูนย์พักพิง ช่วยผู้ประกอบการในนิคม-ชุมชน

       แนวหน้า : ‘กนอ.’เร่งเปิดวอร์รูม-จัดตั้งศูนย์พักพิง ช่วยผู้ประกอบการในนิคม-ชุมชน หลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมที่สงขลา

     นางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และในฐานะประธานกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า จากการรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมครอบคลุมพื้นที่ของตำบลฉลุง ประมาณ 60% ซึ่งเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ แต่พื้นที่นิคมฯไม่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะในส่วนพื้นที่การประกอบกิจการ มีเพียงบริเวณเส้นทางเข้า-ออกนิคมฯที่มีน้ำท่วมระดับประมาณ 30 ซม. รถยนต์สามารถสัญจรเข้า-ออกได้ สำหรับพื้นที่ชุมชนโดยรอบนิคมฯได้รับผลกระทบประมาณ 2,200 ครัวเรือน

     อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ กนอ.ประจำพื้นที่ เข้าตรวจสอบพื้นที่โดยรอบนิคมฯที่ได้รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลาก โดยการดำเนินการเร่งด่วนจะมีการเปิดวอร์รูม (warroom) เพื่อประสานงานให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการในนิคมฯ และชุมชน ได้มีการจัดเตรียมถุงยังชีพ เพื่อให้การช่วยเหลือ พร้อมประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ในการจัดตั้งศูนย์พักพิง เพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากมลฑลทหารบก ที่ 42 (หน่วยปฏิบัติการ) ส่งกำลังพลเข้าร่วมให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ดังกล่าวด้วย

     นอกจากนี้ กนอ.ยังได้กำชับไปยังนิคมฯภาคใต้ ให้ดำเนินการตามแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีเกิดอุทกภัย และได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งแผนดำเนินการรับมือสถานการณ์น้ำท่วมภายในนิคมฯนั้น เบื้องต้นได้รื้อแนวคันดิน เพื่อเปิดช่องทางระบายน้ำ ให้เกิดความคล่องตัวไหลผ่านออกสู่พื้นที่เฟสที่ 3 ของนิคมฯ ซึ่งเป็นพื้นที่เปล่า อยู่ระหว่างการพัฒนา จะไหลผ่านออกสู่คลองวาดต่อไป ทั้งยังได้กำชับให้นิคมฯภาคใต้ ทำแผนสรุปแนวทางการเฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อม เช่น ขุดลอกและพร่องน้ำในลำระบายน้ำ จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจุดเฝ้าระวังระดับน้ำโดยรอบพื้นที่ ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนป้องกันอุทกภัย ติดตามสถานการณ์ แลประสานงานไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างใกล้ชิด รวมทั้งชี้แจง และสื่อสารกับผู้ประกอบการในนิคมฯอย่างสม่ำเสมอ

กนอ.เปิดศูนย์วอร์รูมช่วยน้ำท่วม

   บ้านเมือง : ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และในฐานะประธานกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า จากการรายงานสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.สงขลา โดยมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม ครอบคลุมพื้นที่ของตำบลฉลุง ประมาณ 60% ซึ่งเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ แต่อย่างไรก็ตา พื้นที่นิคมฯ ไม่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะในส่วนพื้นที่การประกอบกิจการ มีเพียงบริเวณเส้นทางเข้าออกนิคมฯ มีน้ำท่วม ระดับประมาณ 30 ซม. รถยนต์สามารถสัญจรเข้า-ออกได้ สำหรับพื้นที่ชุมชนโดยรอบนิคมฯ ได้รับผลกระทบ จำนวนประมาณ 2,200 ครัวเรือน

      ในขณะนี้ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ กนอ.ประจำพื้นที่เข้าตรวจสอบพื้นที่โดยรอบนิคมฯ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลาก โดยการดำเนินการเร่งด่วนจะมีการเปิดวอร์รูม (warroom) เพื่อประสานงานให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการในนิคมฯ และชุมชน ได้มีการจัดเตรียมถุงยังชีพเพื่อให้การช่วยเหลือ พร้อมประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการจัดตั้งศูนย์พักพิง เพื่อบรรเทาทุกข์ให้กับชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากมณฑลทหารบก ที่ 42 (หน่วยปฏิบัติการ) ส่งกำลังพลเข้าร่วมให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ดังกล่าวด้วยแล้ว

   "ระดับน้ำที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากมีปริมาณฝนตกหนักจำนวนหลายวันติดต่อกัน ซึ่งความคืบหน้าสถานการณ์ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ ยังไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์น้ำท่วมแต่อย่างใด ซึ่งส่วนใหญ่ชุมชนจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กนอ.ได้ประสานงานไปยังหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกและบรรเทาทุกข์ให้กับชุมชน พร้อมเตรียมลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้กับผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอีกด้วย"      ทั้งนี้ กนอ.ยังได้กำชับไปยังนิคมฯ ภาคใต้ดำเนินการตามแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีเกิดอุทกภัย และได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งแผนดำเนินการรับมือสถานการณ์น้ำท่วมภายในนิคมฯ เบื้องต้นได้ดำเนินการรื้อแนวคันดิน เพื่อเปิดช่องทางระบายน้ำให้เกิดความคล่องตัวไหลผ่านออกสู่พื้นที่เฟสที่ 3 ของนิคมฯ ซึ่งเป็นพื้นที่เปล่าอยู่ระหว่างการพัฒนา จะไหลผ่านออกสู่คลองวาดต่อไป

     ทั้งยังได้กำชับให้นิคมฯ ภาคใต้ โดยการทำแผนสรุปแนวทางการเฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อม เช่น ขุดลอกและพร่องน้ำในลำระบายน้ำ จัดเตรียมเครื่องสูบน้ำสำรอง และอุปกรณ์อื่นๆ จัดเจ้าหน้าที่ตรวจสอบจุดเฝ้าระวังระดับน้ำโดยรอบพื้นที่ ตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อนป้องกันอุทกภัย ติดตามสถานการณ์ และประสานงานไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่อย่างใกล้ชิด รวมทั้งชี้แจง และสื่อสารกับผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมอย่างสม่ำเสมอ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!