WORLD7

BANPU2024

powertime 950x100pxsmed MTI 720x100

 

 

1742613141575

โครงการ Go Digital ASEAN เร่งพัฒนาศักยภาพทางดิจิทัลให้กับ ผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย กว่า 44,000 รายในประเทศไทย พร้อมส่งเสริมการเติบโตในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

      โครงการ Go Digital ASEAN ของมูลนิธิเอเชียได้เสร็จสิ้นระยะที่สองแล้ว โดยได้สนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) จำนวน 215,892 ราย ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ได้รับทักษะทางดิจิทัลที่จำเป็นต่อการขยายธุรกิจของตน ขณะที่ในประเทศไทยมีผู้ประกอบการรายย่อยและธุรกิจขนาดเล็กมากกว่า 44,000 รายที่ได้รับการฝึกอบรมทักษะทางดิจิทัลฟรี โดย 69% รายงานว่ามีการเติบโตของรายได้ในทางบวก โครงการ Go Digital ASEAN ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้าน

1742613140594

 วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย และดำเนินการโดยมูลนิธิเอเชีย (The Asia Foundation) ด้วยการสนับสนุน จาก Google.org ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการกุศลของกูเกิล เศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลค่าถึง 21 พันล้านเหรียญสหรัฐใน พ.ศ.2563 และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 53 พันล้านเหรียญสหรัฐภายใน พ.ศ.2568 ด้วยอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต 90% (ตามข้อมูลจากธนาคารโลก) ทั้งนี้ ประเทศไทยได้สร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่แข็งแกร่ง ซึ่งช่วยขับเคลื่อนความสำเร็จของ MSMEs ในอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซ ความบันเทิง และอาหารและเครื่องดื่ม ฮันนาห์ นาจาร์ ผู้จัดการโครงการระดับภูมิภาคของ Go Digital ASEAN กล่าวว่า “โครงการ Go Digital ASEAN มุ่งเน้นการให้ความรู้ทางดิจิทัลแก่ผู้ประกอบการรายย่อยในชนบทและธุรกิจขนาดเล็กที่มักขาด

      โอกาสทางเทคโนโลยี โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยให้พวกเขามีเครื่องมือดิจิทัลที่จำเป็นต่อการเติบโตในเศรษฐกิจยุคใหม่” ฮันนาห์ กล่าวเสริมว่า “ในขณะที่เราร่วมมือกับพันธมิตรระดับภูมิภาค เรามีความมุ่งหวังว่าความรู้และทักษะด้านดิจิทัลที่เราได้ส่งเสริมจะสามารถเข้าถึงชุมชนท้องถิ่นได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ความรู้เหล่านี้จะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจทุกขนาดในท้องถิ่นและผู้ประกอบการรายใหม่ รวมถึงบุคคลที่มีความใฝ่ฝันที่จะเริ่มต้นธุรกิจได้รับโอกาสในการเรียนรู้พัฒนา และนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในธุรกิจของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม" มาริยา ราลิช หัวหน้า Google.org APAC กล่าวว่า “Google.org APAC รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนโครงการ Go Digital ASEAN ที่มีคุณค่าและความสำคัญอย่างยิ่งยวดของมูลนิธิเอเชียและองค์กรเครือข่าย พร้อมกับได้เห็นผลกระทบเชิงบวกจากการมุ่งส่งเสริมการเข้าถึงทักษะทางดิจิทัลสำหรับ

       MSMEs ทั่วภูมิภาค ทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถปรับตัวและได้เติบโตในโลกเศรษฐกิจดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว” โครงการ Go Digital ASEAN ได้รับการออกแบบมาอย่างพิถีพิถันเพื่อตอบสนองความต้องการของ MSMEs ในแต่ละขั้นตอนของการเข้าสู่ยุคดิจิทัล โดยมุ่งเน้นการฝึกอบรมใน 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ● Go Digital: มอบทักษะพื้นฐานทางดิจิทัลแก่เจ้าของธุรกิจที่ขาดโอกาส โดยดำเนินกิจกรรมในประเทศลาว อินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม ช่วยให้พวกเขาสามารถเปลี่ยนผ่านธุรกิจเข้าสู่โลกออนไลน์ได้ ● Grow Digital: จัดการฝึกอบรมขั้นสูงทางดิจิทัล เช่น อีคอมเมิร์ซ การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการนำ AI มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจ

       โดยดำเนินกิจกรรมในประเทศบรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เพื่อสนับสนุนการขยายธุรกิจ ● Explore Digital: สร้างเครือข่ายการเชื่อมโยงธุรกิจในอาเซียนผ่านซีรีส์สัมมนาออนไลน์ระดับภูมิภาค ส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างเพื่อนร่วมอุตสาหกรรมและสร้างความร่วมมือข้ามพรมแดน จากการทำงานร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นและองค์กรเครือข่ายด้านการฝึกอบรมในชุมชน ทำให้โครงการนี้สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ MSMEs จากหลากหลายภาคส่วนและอุตสาหกรรม ซึ่งไม่เพียงช่วยพัฒนาธุรกิจ แต่ยังสนับสนุนเศรษฐกิจในชุมชนและท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ หนูกร สุนทรเพราะ จากอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี มีอาชีพทำเส้นขนมจีนขายมากว่าสองทศวรรษ ซึ่งอาชีพนี้ถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการเลี้ยงครอบครัวมาตั้งแต่สามีของเธอเสียชีวิต “การเข้าร่วมโครงการ Go Digital ASEAN ได้เปิดโอกาสใหม่ๆ ได้เรียนรู้วิธีการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ่านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นและดึงดูดลูกค้า รวมถึงการใช้ช่องทางออนไลน์เพื่อขยายตลาด ลูกชายมี

        บทบาทสำคัญในการช่วยถ่ายภาพผลิตภัณฑ์และเผยแพร่ผ่าน Facebook และ Line ทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ที่อยู่นอกเขตชุมชน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจาก 7,000 บาท เป็น 10,000 บาทต่อเดือน ดิฉันมุ่งมั่นที่จะพัฒนาธุรกิจให้ก้าวหน้าไปอีก มีความตั้งใจที่จะเข้าร่วมการอบรมใน ครั้งต่อไป เรียนรู้และต่อยอดทักษะใหม่ ๆ เพื่อสร้างความเติบโตในระยะยาว” หนูกร กล่าว อีกหนึ่งเรื่องราวความสำเร็จคือ พรรณี ระหาร เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวจากอำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ผู้ที่สามารถพัฒนาธุรกิจครอบครัวขนาดเล็กผ่านเครื่องมือดิจิทัลได้อย่างน่าทึ่ง พรรณีได้ขายมะพร้าวที่ตลาดใน

       ชุมชนมานานกว่า 20 ปี จนกระทั่งเข้าร่วมการฝึกอบรมในโครงการ Grow Digital ในปี 2566 เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงลูกค้า พรรณี กล่าวว่า “ได้เรียนรู้การสร้างโปรไฟล์บน Google Business ใช้ Google Maps และโปรโมทมะพร้าวผ่าน Facebook ทำให้สามารถดึงดูดผู้ซื้อจากกัมพูชาและจีนได้สำเร็จด้วยการสื่อสารกับลูกค้าผ่านวิดีโอคอล นอกจากนั้นสามารถรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าและซื้อมะพร้าวจากสวนใกล้เคียง โดยยอดขายต่อวันของเธอเพิ่มจาก 100 ลูก เป็น 5,000 ลูก ด้วยกำไรที่เพิ่มขึ้น ดิฉัน สามารถซื้อรถบรรทุก 2 คันและว่าจ้างเพื่อนบ้านในชุมชนมาช่วยทำงานด้วยกัน ซึ่งการเพิ่มทักษะทางดิจิทัลไม่เพียงแค่ช่วยด้านธุรกิจ แต่ยังยกระดับทั้งชุมชนให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยกันได้” ผลสำรวจสำคัญจากโครงการ Go Digital ASEAN ในประเทศไทย ● ส่งเสริมความปลอดภัยทางออนไลน์: เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นใน

      ประเทศ ผู้เข้าร่วมโครงการ Grow Digital จำนวนมากได้เรียนรู้การระบุความเสี่ยงทางออนไลน์และวิธีปกป้องธุรกิจ โดย 96% ของผู้เข้าร่วมฯ ระบุว่าตอนนี้พวกเขารู้วิธีการปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต ● เสริมสร้างความรู้ด้านดิจิทัล: 77% ของผู้เข้าร่วมฯ ระบุว่าพวกเขากำลังใช้เครื่องมือดิจิทัลอย่างน้อย หนึ่งแพลตฟอร์ม เช่น Facebook Line หรือ TikTok เพื่อพัฒนาธุรกิจของตน โดย 61% เห็นว่ามีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ● เสริมสร้างความยืดหยุ่นทางการเงิน: 91% ของผู้เข้าร่วมฯ ระบุว่าทักษะการวางแผนทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพของพวกเขาได้รับการพัฒนา และ 89% ระบุว่าการวางแผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพช่วยให้พวกเขาสามารถเอาชนะความท้าทายทางเศรษฐกิจและการแข่งขันที่รุนแรงได้ โครงการ Go Digital ASEAN ยังคงมุ่งมั่นสร้างรากฐานที่มั่นคงเพื่อช่วยให้ MSMEs สามารถเติบโตในเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไป โดยมอบทักษะที่สำคัญและเสริมสร้างความมั่นใจในการปรับตัวให้เข้ากับ

      เทคโนโลยีที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ ด้วยการสนับสนุนจากองค์กรเครือข่ายและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โครงการมีเป้าหมายที่จะตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการพัฒนาทักษะของ MSMEs เช่น การนำ AI มาใช้ การรักษาความปลอดภัยทางออนไลน์ และทักษะดิจิทัลที่นำไปใช้ได้จริง ซึ่งจะช่วยสร้างศักยภาพให้กับชุมชนท้องถิ่นและขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนในภูมิภาค

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!