WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สินค้า-บริการ ปรับตัวตามผู้ซื้อ

     ไทยโพสต์ : หลายประเทศของโลกเริ่มกลายมาเป็นสังคมผู้สูงอายุกันถ้วนหน้า จะเห็นได้ว่าในปี 2556 สัดส่วนของกลุ่มผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีการปรับสูงขึ้นเป็นร้อยละ 11.7 หากเทียบกับปี 2553 อยู่ที่ร้อยละ 9.2 และยังคาดการณ์กันว่าในปี 2593 จะเพิ่มเป็นร้อยละ 21.1 หรือประมาณ 2,000 ล้านคนทั่วโลก

     ประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก 10 อันดับ ได้แก่ 1.ญี่ปุ่น 2.อิตาลี 3.เยอรมนี 4.บัลแกเรีย 5.ฟินแลนด์ 6.กรีซ 7.สวีเดน 8.โครเอเชีย 9.โปรตุเกส และ 10.ลัตเวีย

     ขณะที่จำนวนประชากรในประเทศไทยจะเต็มไปด้วยผู้สูงอายุมากขึ้น เห็นได้จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า จำนวนประชากรผู้สูงอายุเมื่อปี 2513 มีอยู่เพียง 1.7 ล้านคน หรือร้อยละ 4.9 ของประชากรทั้งหมด ต่อตัวเลขปี 2543 เพิ่มเป็น 5.9 ล้านคน หรือร้อยละ 9.5 โดยในปี 2554 เพิ่มเป็น 9 ล้านคน หรือร้อยละ 12 ของประชากรทั้งหมด  และคาดการณ์กันว่าจะมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มเป็นร้อยละ 16.8 ในปี 2563

    จากการขยายตัวของจำนวนประชากรในกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้มุมมองของผู้ประกอบการที่จะเข้ามาทำธุรกิจต้องปรับตามไปด้วย สินค้าและบริการจะต้องมีการพัฒนาให้รองรับการใช้ชีวิตของกลุ่มผู้สูงอายุเหล่านี้ให้มากที่สุด

   โดยลักษณะของ สินค้าที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ควรจะเน้นความง่ายเข้าไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดผลิตภัณฑ์ที่ง่าย มองเห็นฉลากได้ง่าย น้ำหนักก็ต้องทำให้รู้สึกเบาถือได้ง่าย เพราะคนสูงอายุค่อนข้างมีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างจากกลุ่มวัยรุ่น

    สำหรับ กลุ่มธุรกิจบริการด้านสุขภาพ ค่อนข้างมีความเกี่ยวข้องกับคนกลุ่มนี้มากพอสมควร เพราะความสูงวัยจะยิ่งทำให้มีความต้องการด้านการพยาบาลมากตามไปด้วย ผู้ประกอบการหลาย สถานพยาบาล ได้เริ่มมีการหันมาสร้างแผนกที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุโดยเฉพาะ ไม่เว้นแม้แต่ โรงพยาบาลยันฮี ที่ขึ้นชื่อทางด้านศัลยแพทย์ ก็เตรียมความพร้อมรองรับคนกลุ่มนี้ไว้แล้วด้วยเช่นกัน จึงมีโครงการจะสร้างบ้านพักคนชราจำนวน 100 ห้อง บนพื้นที่ 200 ไร่ บริเวณภาคกลาง ซึ่งจะทำให้ยันฮีสามารถบริการคนไข้ได้ตั้งแต่เกิดจนถึงเป็นผู้สูงวัยแบบครบวงจร

     อีกหนึ่งธุรกิจบริการที่จะช่วยสนับสนุนให้กลุ่มผู้สูงวัยได้มีกิจกรรมทำกันเมื่อมีเวลาว่าง คงจะเป็น โรงภาพยนตร์ แม้จะยังไม่มีโรงภาพยนตร์หรือฉายหนังเจาะจงให้คนวัย 60 ปีขึ้นไปโดยเฉพาะ แต่ทาง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ซึ่งก็เป็นผู้ประกอบการที่มีโรงหนังมากที่สุดของเมืองไทย ได้ทำการออกบัตรสมาชิกวัยอิสระ "M Generation Freedom" เพื่อขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จากตอนนี้ลูกค้าในกลุ่มนี้มีอยู่เพียง 1% เท่านั้น ส่วนใหญ่เป็น กลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุ 18-30 ปี หรือราว 70% ที่เข้ามาดูหนัง

    ค่ายเมเจอร์ มองว่า ปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยมีมากกว่า 9 ล้านคน หรือคิดเป็นประมาณ 15% จากจำนวนประชากรทั้งหมด ซึ่งหากเปรียบเทียบกับประเทศอเมริกาและสิงคโปร์ที่ผู้เข้าชมภาพยนตร์เป็นผู้สูงวัยถึง 30% คาดการณ์ว่าหลังจากที่ได้ออกบัตรสมาชิก พร้อมกับมอบสิทธิประโยชน์ต่างๆ ดังกล่าวแล้ว จะกระตุ้นการดูหนังในคนกลุ่มนี้เพิ่มมากขึ้น รวมถึงยังจะเพิ่มฐานลูกค้าในกลุ่มผู้สูงวัยได้เป็น 10% จากจำนวนผู้สูงอายุในไทย

   ส่วน ร้านสะดวกซื้อ ก็เชื่อได้เลยว่าจะเป็นทางเลือกของกลุ่มผู้สูงวัยของคนไทย ในการจะซื้อสินค้าตามใจต้องการทุกประเภท เพราะชื่อก็ค่อนข้างจะตอบโจทย์และแสดงให้เห็นอยู่แล้วว่า "สะดวกซื้อ" แน่นอน และจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการร้านสะดวกซื้อของประเทศ ไทยเริ่มทยอยปรับตัวเพื่อต้อนรับผู้สูงวัยในอนาคตกันบ้างแล้ว

    'สุวิทย์ กิ่งแก้ว'รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บมจ.ซีพี ออลล์ ในฐานะนายกสมาคมพัฒนาผู้ประกอบการค้าปลีกทุนไทย กล่าวว่า การปรับตัวของผู้ประกอบการค้าปลีกเพื่อรองรับกลุ่มผู้สูงอายุ นับว่าเป็นแผนระยะยาวที่ต้องเตรียมตัวไว้อยู่แล้ว

    ส่วนสำคัญที่จะต้องเตรียมตัว คงจะเป็นเรื่องของสินค้าที่จะนำเข้ามาจำหน่ายแก่ผู้สูงอายุ ต้องหาสินค้ากลุ่มเพื่อสุขภาพและอาหารสำเร็จรูปเข้ามา เพราะกลุ่มคนในวัยนี้จะค่อนข้างให้ความสำคัญกับอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ

   ขณะเดียวกัน ขนาดของสินค้าจะต้องมีขนาดเล็ก หรือทำให้ง่ายต่อการรับประทานให้มากที่สุด โดยอาจมีการจัดเป็นชุดให้เรียบร้อย หลังจากลูกค้าซื้อไปสามารถรับประทานได้ทันที หรืออาจจะเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมปรุงและเป็นลักษณะของอาหารกล่องที่เปิดมาก็นำเข้าไมโครเวฟทานได้ทันที

   รวมถึงองค์ประกอบที่อยู่ภายในร้านสะดวกซื้อต้องมีสิ่งอำ นวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุเพิ่มเข้ามา อาทิ ทางเดิน ห้องสุขา สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นที่ร้านค้าต้องคำนึงถึง.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!