WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รมช.คมนาคม จี้ ขสมก.เร่งทีโออาร์ประมูลจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี

    รมช.คมนาคม'อาคม เติมพิทยาไพสิฐ'ฟิตจัดหลังรับตำแหน่ง สั่งหน่วยงานที่ควบคุมดูแลทำแผนเพิ่มศักยภาพ ประมูลท่าเรือเฟส 3 แหลมฉบัง ย้ายหมอชิต 2 สร้างมอเตอร์เวย์ พร้อมเร่งทีโออาร์ประมูลจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี 3,183 คันให้แล้วเสร็จก่อนประชุมคณะกรรมการทีโออาร์ 22 กย.นี้

     นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมหัวหน้าหน่วยงานในความรับผิดชอบทั้ง 7 หน่วยงาน คือ กรมทางหลวง(ทล.) บริษัทขนส่งจำกัด(บขส.) กรมการขนส่งทางบก(ขบ.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย(กทพ.) กรมเจ้าท่า(จท.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) ว่า ขณะนี้ได้ให้นโยบายกับบขส. ไปจัดทำรายละเอียดการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ หรือหมอชิต 2 ว่าจะมีแผนการย้ายออกจากพื้นที่เดิมอย่างไร เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นพื้นที่ก่อสร้างสถานีรถไฟสายสีแดง

    นอกจากนั้น ยังให้ขสมก.ไปเร่งรัดการจัดทำร่างเงื่อนไขทีโออาร์เพื่อประมูลจัดหารถเมล์เอ็นจีวี โดยให้จัดทำรายละเอียดให้แล้วเสร็จก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการทีโออาร์ในวันที่ 22 กันยายนนี้ซึ่งหลังจากได้ TOR ในส่วนของการส่งมอบรถเมล์ใหม่ก็คงต้องมีการเลื่อนระยะเวลาการส่งมอบออกไป โดยอาจจะมีการปรับแผนในการส่งมอบเช่น อาจจะมีการเพิ่มจำนวนส่งมอบในแต่ละล็อตมากขึ้นหรือไหม ซึ่งก็ต้องอยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการฯ

    ในส่วนของทล. ได้กำชับให้จัดทำแผนทางหลวงเชื่อมโยงโครงข่ายชายแดนเชื่อมเขตเศรษฐกิจพิเศษ พร้อมจัดทำรูปแบบการลงทุนโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์)ว่ามีความคืบหน้าในการดำเนินการอย่างไรปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการคัดเลือกรูปแบบในการลงทุน ซึ่งจำเป็นต้องดูว่าประชาชนจะได้ประโยชน์อย่างไรมากน้อยแค่ไหน โดยคาดว่าเส้นทางที่จะดำเนินการได้ก่อนคือ เส้นทางบางปะอิน-โคราช,เส้นทางบางใหญ่-บ้านโป่ง ที่จะใช้รูปแบบเอกชนร่วมลงทุนและเส้นทางพัทยา-มาบตาพุดจะใช้กองทุนในการดำเนินโครงการ ซึ่งทั้ง 3 เส้นทางคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณ 2558 นี้

   ส่วนหน่วยงานทางน้ำได้กำชับให้กรมเจ้าท่าเร่งรัดการขุดลอกคูคลอง แม่น้ำตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี บริเวณตื้นเขินตลอดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา (เฉพาะบางช่วงที่มีปัญหา) ซึ่งขณะนี้ทางกรมเจ้าทางได้มีการเตรียมการรับมือไว้แล้ว

    ส่วนกทท.เน้นถึงการปรับปรุงการให้บริการท่าเรือที่มีแนวโน้วที่จะมีความแออัดมากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการจราจรที่จะเข้าสู่ท่าเรือแหลมฉบัง สำหรับการปรับปรุงท่าเรือทางชายฝั่ง ซึ่งจะมีการพัฒนาท่าเรือชายฝั่งที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อให้เรือชายฝั่งได้ใช้บริการได้มากขึ้นโดยจะมีการจัดท่าเรือให้เป็นการเฉพาะด้วยการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการท่าเรือที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน

    ขณะเดียวกัน ทางท่าเรือกรุงเทพก็มีเริ่มมีปริมาณการจราที่มีความหนาแน่นมากขึ้น ซึ่งจำเป็นจัดการแก้ปัญหาในจุดนี้ให้ได้ เดิมทีก็มีมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในการควบคุมปริมาณด้านการขนส่งเทียบท่าเรือคลองเตยอยู่ประมาณ 1 ล้าน TU ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 1.3 ล้าน TU ส่วนอนาคตในการขยายท่าเทียบเรือก็จะมีการตรวจสอบก่อนว่าจะสามารถเร่งรัดในส่วนเฟส 3 ของท่าเรือแหลมฉบังได้เร็วแค่ไหน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการเสนอให้ครม.อนุมัติ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!