WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

โลจิสติกส์ไทย เป็นรองสิงคโปร์-มาเลย์ 'กพร.'กระตุ้นเอกชนเร่งลดต้นทุน

   แนวหน้า : นางอนงค์ ไพจิตรประภาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า รัฐบาลมีเป้าหมายลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศจาก 15% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เป็น 12% ต่อจีดีพี ภายใน 5 ปี (ปี 2555-2559) ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมต้องเร่งดำเนินการเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ 1% ภายใน 5 ปี

    ทั้งนี้ เนื่องจากต้นทุนโลจิสติกส์ของภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วนเป็น 1 ใน 3 ของต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย 7 กลุ่มอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 1.อุตสาหกรรมอาหาร 2.ปิโตรเคมีและพลาสติก 3.เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 4.ชิ้นส่วนยานยนต์ 5.สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 6.ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพารา 7.วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)

   สำหรับ ต้นทุนโลจิสติกส์ ประกอบด้วย ต้นทุนค่าขนส่ง ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง และต้นทุนการบริหารจัดการ ซึ่งสำนักโลจิสติกส์จะสามารถช่วยผู้ประกอบการในด้านต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลังผ่านโคงการต่างๆ อาทิ โครงการส่งเสริมการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสนับสนุนงานด้านโลจิสติกส์ โครงการจัดทำเครื่องมือพัฒนาเรียนรู้ระบบโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เป็นต้น

   นางอนงค์ กล่าวว่า จากผลการดำเนินงานในปี 2557 จากงบประมาณ 117.68 ล้านบาท มีโครงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม 31โครงการ สามารถช่วยลดต้นทุนได้กว่า 3,500 ล้านบาท พัฒนาบุคลากรกว่า 7,500 คน ดึงผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้ 487 ราย เข้าร่วมโครงการ เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านโลจิสติกส์ของไทย

    ส่วนในปี 2558 สำนักโลจิสติกส์ได้รับงบประมาณ 87.21 ล้านบาท มี 25โครงการ คาดว่าจะสามารถลดต้นทุนได้ 2,500 ล้านบาท มีผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการ 350 ราย พัฒนาบุคลากรได้ 5,800 คน โดยมีโครงการหลักที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการอุตสาหกรรม รวมถึงโครงการใหม่ เช่น RFID, Zoning, Packaging และ Logistics Connect ซึ่งเน้นสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนาธุรกิจและบุคลากรด้านโลจิสติกส์ รองรับการขยายงานในระดับภูมิภาค เป็นต้น

   “หากนับตั้งแต่ปี 2551-2558 จะสามารถลดต้นทุนของผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ได้ 13,008 ล้านบาท จากงบประมาณ 460 ล้านบาท และมีผู้ประกอบเข้าร่วมโครงการ 1,993 ราย รวมทั้งสามารถพัฒนาบุคลกรได้ 39,649 คน และในปี 2559 สำนักโลจิสติกส์เตรียมของบประมาณในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ 280 ล้านบาท แต่ต้องขึ้นอยู่กับคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งและบริการของประเทศ (กบส.) พิจารณาอีกครั้ง”นางอนงค์ กล่าว

   ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า ระบบโลจิสติกส์ของไทยยังเป็นรองมาเลเซียและสิงคโปร์ที่อยู่ในอาเซียนเหมือนกัน ซึ่งมีการใช้งานระบบไอทีอย่างเข้มข้นและมีโครงสร้างพื้นฐานที่สมบูรณ์กว่า แต่หากพิจารณาจากผลผลิตหรือผลิตภาพ (Productivity) ของภาคอุตสาหกรรม ไทยมีอัตราผลิตภาพที่สูง หากมีการเร่งพัฒนาด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เชื่อว่าในอนาคตไทยจะยกระดับมาตรฐานขึ้นตามแผนที่วางไว้ได้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!