WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คมนาคม ลุยตั้งอินฟราฯฟันด์ สั่งเร่งศึกษาผลกระทบ หวังลดภาระลงทุนรัฐ

     ไทยโพสต์ * คมนาคมเดินหน้าตั้งอินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์ หวังระดมทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ลดการใช้งบประมาณประเทศและหนี้สาธารณะ เตรียมตั้งคณะกรรมการศึกษาข้อดี-ข้อเสีย และปัญหาด้านกฎหมาย เผยมี 4 รัฐวิสาหกิจเข้าข่ายสามารถจัดตั้งกองทุนได้

     นางสร้อยทิพย์ ไตร สุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรม การกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ หรือ กลต. ในการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานหรืออินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์ เพื่อมาใช้ในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งการตั้งกองทุนดังกล่าวถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสม จากเดิมที่ต้องใช้งบประมาณจากภาครัฐ บาล หรือการกู้เงิน หรือการให้ภาคเอกชนร่วมลงทุน ส่งผลต่อสถาบันหนี้สาธารณะของประเทศไทยอยู่ในระดับสูง

    ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุด เพื่อมาดำเนินการศึกษาและแก้ไขกฎหมาย รวมถึงการ จัดตั้งกองทุนอินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์ ของหน่วยงานของภาครัฐที่อยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงคมนาคม เช่น กรมทางหลวง (ทล.) กรมการบินพลเรือน (บพ.) หรือกรมเจ้าท่า (ทจ.) ว่าให้สามารถนำรายได้ในอนาคตของแต่ละหน่วยงานเป็นฐานข้อมูล เพื่อนำมาจัดตั้งกองทุนอินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์ แต่ต้องมีการศึกษาว่ามีความเป็นไปได้มากน้อย เพียงใด เนื่องจากในข้อกฎหมายมีการกำหนดว่าต้องนำรายได้ทั้ง หมดให้ภาครัฐ และไม่สามารถโอนเงินเข้าไปสู่กองทุนอินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์ได้ ดังนั้นต้องมีการแก้กฎหมายของทั้งแต่ละหน่วยงานและกฎหมายการคลัง ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลามากพอสมควร เนื่องจากกฎหมายในแต่ละข้อมีความสัมพันธ์กัน

    นางสร้อยทิพย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมี 4 หน่วยงานรัฐวิสาห กิจที่เข้าข่ายจะสามารถจัดตั้งกอง ทุนได้คือ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) การท่าเรือแห่งประเทศ ไทย (กกท.) และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์ พอร์ตเรลลิงค์ ทั้งนี้ คณะกรรม การที่ดูแล ทั้งหน่วยงานของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ จะมีเจ้าหน้าที่ของ กลต.เป็นที่ปรึกษา และจะต้องกลับมารายงานความคืบหน้าให้กระทรวงคมนาคมรับทราบในช่วงปลายไตรมาสแรกของปีหน้า"

    สำหรับ ทอท.นั้นที่ต้องใช้เงินลงทุนในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทางอากาศทั้งหมด 1.29 แสนล้านบาท แต่ปัจจุบัน ทอท.มีสภาพคล่องอยู่เพียง 6 หมื่นล้านบาท โดยในเบื้องต้น ทอท.มีแผนที่จะพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 วงเงินรวม 85,000 ล้านบาท, พัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง วงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท และพัฒนาท่าอาอากาศยานภูเก็ต วงเงิน 5,000 ล้านบาท ดังนั้นหากสามารถจัดตั้งกองทุน อินฟราสตรัคเจอร์ ฟันด์ได้ก็จะช่วยลดระยะเวลาในการดำเนินโครงการทั้งหมดจาก 7-8 ปี เหลือเพียง 3-5 ปีเท่านั้น เพราะเชื่อว่าหากมีงบประมาณเพียงพอก็จะสามารถดำเนินโครงการได้อย่างรวดเร็ว.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!