WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

วันที่ 02 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 00:01 น.  ข่าวสดออนไลน์

 

เจาะลึกแผนคมนาคม ปี 58 'ออร์เดิร์ฟ'ก่อนถึง'3 ล้านล้าน'

     ใน ปี 2557 กระทรวงคมนาคม ถือว่าเป็นหนึ่งในกระทรวงหลักที่มีบทบาทอย่างมาก ชื่อ "พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง" รมว.คมนาคม แทบจะโผล่ออกสื่อมากที่สุด เป็นรองแค่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเท่านั้น

    เนื่องจากรัฐบาลประกาศเดินหน้าโครงการโครงสร้างพื้นฐาน "3 ล้านล้านบาท" ทั้งทางบก-ราง-เรือ และอากาศ ซึ่งเกือบทั้งหมดอยู่ในความดูแลของกระทรวงคมนาคมทั้งสิ้น

    โครงการนี้แปลงร่างมาจาก '2 ล้านล้าน' ของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่มีการปรับเปลี่ยน-เพิ่มเติมบางส่วน และด้วยความที่โครงการมีมูลค่าสูงถึง 3 ล้านล้าน ถือว่าเป็นแผนระยะยาวทำให้กระทรวงคมนาคมต้องวางแนวทาง 'เร่งด่วน' เพื่อรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 ด้วยงบลงทุน 68,970 ล้านบาท

    เรียกว่าเป็น'ออร์เดิร์ฟ'ก่อนจานหลักนั่นเอง

เจาะโครงการ 68,970 ล้านบาท

   แผนปฏิบัติการการลงทุนระยะเร่งด่วนในปี 2558 มีวงเงินลงทุน 68,970 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 4 ด้าน

1.ทางถนน วงเงิน 20,860 ล้านบาท เฉลี่ย 30.25%

2.ทาง ราง วงเงิน 21,500 ล้านบาท เฉลี่ย 31.18% แยกย่อยออกเป็นงบฯ รถไฟทางคู่ วงเงิน 9,249 ล้านบาท และรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน วงเงิน 12,200 ล้านบาท

3.ทางน้ำ วงเงิน 2,200 ล้านบาท และ 4.ทางอากาศ วงเงิน 24,300 ล้านบาท เฉลี่ย 35.37%

ส่วน ของระบบราง จะเร่งรัดให้เปิดประกวดราคารถไฟทางคู่ ขนาดความกว้าง 1 เมตร จำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร, ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร

เร่งจัดทำ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจำนวน 3 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร และนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กิโลเมตร

รวมทั้งจะมีการเร่งศึกษาออกแบบรายละเอียด อีก 8 เส้นทาง

ระบบรางทั้งในกรุง-ตจว.

ส่วน รถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (ไฮสปีดเทรนเดิม) ในปี 2558 จะเร่งดำเนินการศึกษาทบทวน ออกแบบกรอบรายละเอียด และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เส้นทางหนองคาย-ขอนแก่น-นครราชสีมา-แก่งคอย-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง-มาบตาพุด

สำหรับเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และนครราชสีมา-มาบตาพุด จะทบทวน ปรับแบบกรอบรายละเอียดรวมทั้งรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

เส้น ทางกรุงเทพฯ-ระยอง เตรียมขออนุมัติเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อม ระยะทาง 193 กิโลเมตร และเส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย เร่งศึกษาออกแบบกรอบรายละเอียด

หันมาดูการพัฒนาระบบรางในเขต เมืองหลวงและปริมณฑล การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือรฟม. จะเร่งรัดโครงการและเตรียมการประกวดราคารถไฟฟ้าจำนวน 8 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง 1.รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระยะทาง 21.2 กิโลเมตร 2.รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กิโลเมตร

3.รถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 29.1 กิโลเมตร 4.รถไฟฟ้า เชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร 5.รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก, สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง ระยะทาง 25.5 กิโลเมตร และ 6.รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ระยะทาง 10 กิโลเมตร

7.รถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร และ 8.เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ระยะทาง 18.40 กิโลเมตร

พัฒนาถนน 5 เส้นทางหลัก

     แผนลงทุนทางถนนปี 2558 จะมีการพัฒนาทางหลวงสายหลักๆ สำคัญดังนี้ เร่งจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อการก่อสร้างทางหลวง พิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กิโลเมตร ซึ่งขณะนี้ได้รับจัดสรรงบประมาณปี 2558 เรียบร้อยแล้ว, เร่งรัดก่อสร้างขยายทางหลวง 4 ช่องจราจร 5 เส้นทางสำคัญ ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2558

    ได้แก่ เส้นทาง 1.ทล.304 อำเภอกบินทร์บุรี-อำเภอวังน้ำเขียว 2.ทล.304 กบินทร์บุรี-อำเภอปักธงชัย 3.ทล.4 กระบี่-อำเภอห้วยยอด 4.ทล.3138 อำเภอบ้านบึง-อำเภอบ้านค่าย และ 5.ทล.314 อำเภอบางปะกง-ฉะเชิงเทรา ตอน 2

    เริ่มงานก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 4 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทาง 1.ทล.212 อำเภอโพนพิสัย-บึงกาฬ ตอน 2.ทล.12 ตาก-แม่สอด ตอน 3 3.ทล.12 กาฬสินธุ์-อำเภอสมเด็จ ตอน 2 และ 4.ทล.3 ตราด-หาดเล็ก ตอน 2

   ส่วนการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ จะดำเนินการเร่งรัด 4 โครงการ ได้แก่ 1.เริ่มก่อสร้างท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ท่าเรือแหลมฉบัง, 2.พัฒนาศูนย์ขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ระยะที่ 1) 3.ศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ หรือ Cruise จ.กระบี่ และอ.เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี 4.เพิ่มประสิทธิภาพขนส่งสินค้าในแม่น้ำป่าสัก โดยก่อสร้างระบบป้องกันตลิ่งเพื่อพัฒนาร่องน้ำทางเดินเรือ (ระยะที่ 1) 

จัดหนักสนามบินสุวรรณภูมิ

   ด้านการเพิ่มขีดความสามารถการให้บริการขนส่งทางอากาศในปี 2558 จะทบทวน สำรวจ ออกแบบ และก่อสร้าง ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย 1.ทางวิ่งสำรองด้านทิศตะวันตก ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2.งานระบบพื้นที่ปฏิบัติการด้านการบิน จะดำเนินการทบทวนวงเงินงบประมาณให้มีความเหมาะสม

3.งานอาคาร ที่พักผู้โดยสารอเนกประสงค์ พร้อมสะพานเทียบ เครื่องบิน ลานจอดอากาศยาน ระบบขนส่งผู้โดยสารเพื่อเชื่อมกับอาคาร ผู้โดยสารหลัก 4.งานระบบสาธารณูปโภค (ระบบไฟฟ้า ประปา และระบบบำบัดน้ำเสีย)

สำหรับสนามบินภูมิภาคจะเร่งดำเนินการก่อสร้างขยายท่าอากาศยานภูเก็ต และพัฒนาท่าอากาศยานอู่ตะเภา

แผน งานสุดท้ายที่กระทรวงคมนาคมจะเริ่มดำเนินการปี 2558 คือการเร่งรัดจัดซื้อรถโดยสารประจำทางใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ เอ็นจีวี จำนวน 3,183 คัน โดยคาดว่าจะสามารถส่งมอบรถปรับ อากาศล็อตแรกภายในต้นปี 2558 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!