WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รฟม.เสนอขอ คสช.พิจารณาจ่ายค่า K ผู้รับเหมาสายสีม่วงวงเงินราว 1 พันลบ.

    นายชูศักดิ์ เกวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้แทนการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่า ได้พิจารณาการคำนวณเงินชดเชยค่างานก่อสร้าง (ค่า K) โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วง บางใหญ่-บางซื่อ ซึ่ง รฟม.เสนอขอเพิ่มค่าก่อสร้างงานโยธาสัญญาก่อสร้างที่ 1,2,3  เนื่องจากค่าวัสดุก่อสร้างและราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น คิดเป็นวงเงินรวมประมาณ 1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม รฟม.ต้องเสนอให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาก่อน

     สำหรับสัญญาที่ 1 งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ (ส่วนตะวันออก) ผู้รับเหมาคือ กลุ่มกิจการร่วมค้า CKTC (บมจ. ช.การช่าง (CK) และบริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด) เป็นผู้รับงาน

    สัญญาที่ 2งานก่อสร้างโครงสร้างยกระดับ (ส่วนตะวันตก)   ผู้รับเหมาคือ บมจ. ซิโน-ไทย เอนจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC)

    สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร  ผู้รับเหมาคือ กลุ่มกิจการร่วมค้า PAR (บมจ. แอสคอน คอนสตรัคชั่น (ASCON) บมจ. เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง (PLE) และ บริษัท รวมนครก่อสร้าง (ประเทศไทย) จำกัด)

    ทั้งนี้ รฟม.และสำนักงบประมาณ มีการพิจารณาหลักเกณฑ์การคำนวณค่า K ต่างกัน โดย รฟม.ได้ยึดตามหลักเกณฑ์ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (JICA) ซึ่งให้คำนวณค่า K โดยใช้ดัชนีราคา 28 วันก่อนวันยื่นข้อเสนอราคา ส่วนสำนักงบประมาณได้กำหนดให้คำนวณค่า K โดยใช้ดัชนีราคาในเดือนที่เปิดข้อเสนอราคา ดังนั้นทางสำนักงบประมาณจึงไม่สามารถพิจารณาค่า K เพื่ออนุมัติงบประมาณหรือจัดหาแหล่งเงินทุนมาจ่ายชดเชยให้กับผู้รับเหมางานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ สัญญาที่ 1-3 ตามที่ รฟม.ร้องขอมาได้ เนื่องจากไม่ได้ใช้หลักเกณฑ์ของสำนักงบประมาณในการคำนวณค่า K ตั้งแต่เริ่มต้น

            อินโฟเควสท์

ค่าสร้างรถไฟสายสีม่วงเพิ่มพันล.

        แนวหน้า : นายชูศักดิ์ เกวี รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้สั่งให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.)กลับไปจัดทำหลักเกณฑ์การขออนุมัติการคำนวณเงินชดเชยค่างานก่อสร้าง(ค่าเค) เพิ่มเติมของโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กม. โดยเฉพาะสัญญาที่ 1-3 อีก 1,000 ล้านบาท จากเดิมที่มีวงเงินค่างานโยธา 32,842 ล้านบาท โดยให้รฟม.นำกลับมาเสนอกระทรวงคมนาคม และขออนุมัติจาก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อีกครั้ง

      ในการพิจารณาครั้งนี้ อาจต้องพิจารณาไปตามหลักเกณฑ์ที่รัฐได้ประโยชน์เพราะถือว่าโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงได้ขอกู้เงินจาก องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ไปแล้ว และเงินในส่วนที่เพิ่มขึ้นมาเพื่อเยียวยาเอกชนสัญญาที่ 1-3 รัฐจะต้องเป็นผู้จ่ายชดเชยให้ จึงต้องคำนวณเงินให้สอดคล้องกับราคาค่าวัสดุที่แท้จริงกับท้องตลาด ช่วงที่เอกชนดำเนินงาน”

     นายชูศักดิ์กล่าวว่า สาเหตุที่ รฟม.กำหนดค่าดัชนีราคาฐานค่าเค 28 วัน ก่อนเปิดซอง เนื่องจากช่วงยื่นเปิดซองราคาสัญญาที่ 1 (วันที่ 18 ส.ค.2551) ราคาน้ำมัน และเหล็กมีความผันผวน ทำให้ผู้ที่ร่วมประกวดราคาเสนอราคามาสูงตามสภาพเศรษฐกิจที่ผันผวนในขณะนั้นต่อมาในช่วงเปิดข้อเสนอด้านราคา ราคาน้ำมันและราคาเหล็กได้ปรับตัวลงมาสู่ภาวะปกติ เพื่อให้กู้เงินไจก้าในวงเงินที่สูงกว่ามูลค่างาน และให้มูลค่างานสะท้อนความเป็นจริง รฟม.ได้เจรจากับผู้ชนะประกวดราคาเพื่อปรับราคาฐานใหม่เป็น 28 วัน ก่อนเปิดซองโดยคิดราคาเดือน ธ.ค.2551 ซึ่งเป็นการใช้ดัชนีราคาของรฟม.นั้นเป็นประโยชน์ต่อรัฐ เนื่องจากมีการเบิกจ่ายค่าเค น้อยกว่าหลักเกณฑ์ของสำนักงบประมาณ เกือบ 100 ล้านบาท

     มีรายงานจากรฟม.แจ้งว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือ (ช่วงบางใหญ่-เตาปูน) จะเปิดทดสอบเดินรถได้ปลายปี 2558 และเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้เร็วกว่าแผนหลังกลางปี 2559

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!