WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOTอานนท เหลองบรบรณทางคู่' 5 เส้นทางเริ่มสร้างปี'61'สมคิด'จี้รฟม.เร่งผุดรถไฟฟ้าจ.เชียงใหม่

        แนวหน้า : นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการการ รถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยความคืบหน้า โครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ขณะนี้อยู่ ระหว่างการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และได้มีการจัดอบรมและทดสอบวิศวกรจีนเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าปฏิบัติงาน ในช่วง 3.5 กิโลเมตรแรก ระหว่างสถานีกลางดงปางอโศก แล้ว ซึ่งแผนงานเดิมที่จะเริ่มก่อสร้าง ในเดือนพฤศจิกายน 2560 นี้

       ส่วนด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง จำนวน 13 สัญญา ได้แก่ โครงการรถไฟทางคู่ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม-หัวหิน และโครงการรถไฟทางคู่ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร คาดว่าจะเสนอให้ทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2560 และคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปีหน้า

      ด้าน นายฤทธิกา สุภารัตน์ รักษาการ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยเกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดเชียงใหม่ ว่า การสร้างรถไฟฟ้าในจังหวัดเชียงใหม่นั้น ขณะนี้ทาง รฟม.อยู่ระหว่างการจัดทำเอกสารการประกวดราคาจัดซื้อจัดจ้าง (TOR) ในส่วนของการจ้างที่ปรึกษาโครงการเพื่อศึกษาความเหมาะสมของแนวทางการลงทุนรูปแบบ (PPP) คาดว่าจะได้ที่ปรึกษาเร็วๆ นี้ก่อนดำเนินการศึกษาความเหมาะสมซึ่งจะใช้เวลาราว 4-6 เดือน โดยหลังจากนี้ทางรฟม.จะดำเนินการ ของบประมาณเพื่อมาจ้างที่ปรึกษาโครงการต่อไป เพื่อเร่งดำเนินแผนให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล ที่ต้องการเปิดประมูลโครงการดังกล่าวภายในปีหน้า

        ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ทางนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้ เป้าหมายของโครงการดังกล่าวโดยได้กำชับทางกระทรวงคมนาคมให้เร่งดำเนินการศึกษารูปแบบร่วมทุน และการออกแบบโครงการ รวมถึงการเสนอ รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้แล้วเสร็จ ภายในปี 2561 เพื่อให้สามารถเปิดประมูลได้ตามแผน

      ส่วนรูปแบบการลงทุนคาดว่าจะเป็น ในรูปแบบการร่วมทุนแบบประชารัฐ โดยรัฐบาล จะเป็นผู้ลงทุนงานก่อสร้าง 100,000 ล้านบาท โครงข่ายแบบใช้ทางวิ่งบนดินและใต้ดินร่วมกันรวม 3 เส้นทางหลัก ระยะทางรวม 35 กม. ได้แก่ 1.สายสีแดง 12 กม. 2.สายสีเขียว 12 กม. และ 3.สายสีน้ำเงิน 11 กม. วงเงินลงทุน 106,895 ล้านบาท ใช้เวลาสร้าง 6 ปี สำหรับจุดที่จะต้อง ลงใต้ดินในแต่ละสายนั้นประกอบด้วย 1.สายสีแดง ได้แก่ สถานี ข่วงสิงห์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ช้างเผือก และหายยา 2.สายสีเขียว ได้แก่ สถานี กาดหลวง ช้างคลาน และมหิดล 3.สายสีน้ำเงิน ได้แก่ สถานี นิมมานเหมินทร์ เวียงเก่า และท่าแพ นอกจากนี้ ยังมีงานก่อสร้างสะพานรถไฟฟ้าข้ามแม่น้ำปิง ในสายสีเขียวและสายสีน้ำเงิน

        อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าภูมิภาคของจังหวัดเชียงใหม่นั้นมีพื้นที่ชุมชนหนาแน่นตลอดแนวเส้นทางนั้นจึงต้องมีการเวนคืนพื้นที่และการปิดจราจรบางส่วน ทาง สนข.จึงมีแนวคิดการจัดระเบียบรูปแบบจราจร ไว้รองรับแล้ว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!