WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASIAพชต อคราทตยคมนาคม อัดแสนล.หนุนอีอีซี เน้นพัฒนาราง-น้ำ/สั่งอุตฯโปรโมตค้าชายแดนลุยโรดโชว์

    ไทยโพสต์ ซ ราชดำเนิน * คมนาคม กางแผน ปี 62 อัดงบแสนล้าน ลุยพัฒนาโลจิสติกส์ทางน้ำ หวังบูรณาการร่วมกับระบบขนส่งอื่น ด้าน'นายก'สั่งอุตฯ ทำแผนประชาสัมพันธ์ 10 เขตการค้าชายแดน ชูจุดเด่นแต่ละพื้นที่หวังให้นักลงทุนเห็นศักยภาพอย่างเจาะจง พร้อมนำผู้ประกอบการโรดโชว์ประเทศเพื่อนบ้านชักจูงลงทุน

      นายพิชิต อัคราทิตย์ รมช. คมนาคม เปิดเผยว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ได้ สั่งการให้จัดทำงบประมาณปี 2562 เน้นไปที่การพัฒนาโครง สร้างพื้นฐานระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยเฉพาะด้านการเชื่อมโยงระบบขนส่งทางบก ทางรางและทางน้ำทั้งในประเทศและการเชื่อมโยงระบบขนส่งไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างกลุ่ม CLMV ซึ่งกระทรวงคมนาคมให้ความสำคัญในอันดับต้นๆ

      ทั้งนี้ งบประมาณด้านการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในปี 2563-2564 ของกระทรวงคมนาคม จะอยู่ที่ประมาณ 200,000 ล้านบาทหรือเฉลี่ยปีละ 100,000 ล้านบาท โดยในปี 62 การลงทุนจะเน้นไปที่งบประมาณลงทุนโครงสร้างพื้นฐานส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ระบบรถไฟทางคู่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ การพัฒนาสนามบินภูมิภาค 28 แห่ง ตลอดจนการพัฒนาศูนย์ขนส่งสินค้าภูมิภาค และจุดพักรถบรรทุกตามถนนเส้นสำคัญ นอกจากนี้ยังเน้นให้มีการพัฒนาท่าเรือตามแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะท่าเรือที่เป็นจุดเชื่อมต่อระบบขนส่งรถไฟฟ้าและรถโดยสารสาธารณะอย่างท่าเรือสาทร และท่าเรือพระนั่งเกล้า

      นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า การจัดทำงบประมาณปี 62 ที่เน้นไปเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ทางน้ำนั้น จะมีการจัดทำแผนของแต่ละโครงการให้บูรณาการในภาพ รวมกับระบบขนส่งอื่นมากขึ้น เช่นการขอขุดร่องน้ำใหม่ทางภาคใต้และภาคตะวันออกของไทย เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางบกมาเป็นทางน้ำ (Shift Mode)

      "ปัจจุบันการสร้างถนนไม่เพียงพอต่อการรองรับการขนส่งทางบก และยังมีต้นทุนด้านการซ่อมบำรุงสูง มีการเติบโตที่รวดเร็ว ส่วนการขนส่งทางน้ำมีต้นทุนน้อยกว่าทางบกถึง 3 เท่าอีก ดังนั้นโครงการพัฒนาจะเน้นไปที่การ พัฒนาร่องน้ำ การพัฒนาท่า เรือ และการสร้างถนนเชื่อมต่อเข้าไป ยังท่าเรือทั่วประเทศ" นายชัยวัฒน์ กล่าว

      นายอุตตม สาวนายน รมช.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ในการประ ชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน ได้มีมติกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งจัดทำแผนการประชาสัมพันธ์และการตลาดของทั้ง 10 เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพื่อชูจุดเด่นของแต่ละเขตเศรษฐกิจพิเศษให้นักลงทุนได้เห็นศักยภาพของพื้นที่อย่างชัดเจน และนำแผนส่งให้คณะกรรมการชุดใหญ่พิจารณาในวันที่ 17 พ.ย.นี้

     "ที่ผ่านมามีเพียงแผนการตลาดในภาพใหญ่ทั้ง 10 เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ทำให้นักลงทุนสับสน ไม่รู้ว่าอุตสาหกรรมของตัวเองเหมาะสมที่จะลงทุนในพื้นที่ไหน แต่ในแผนใหม่จะจัด ทำแผนการตลาด และประชาสัม พันธ์อย่างเจาะจงของแต่ละเขต เพื่อให้มีแผนชัดเจนในการโฟกัสนักลงทุนกลุ่มต่างๆ ส่วนการดึง ดูดนักลงทุน จะมุ่งเข้าไปเจาะรายอุตสาหกรรมที่เหมาะสมกับเขต เศรษฐกิจพิเศษต่างๆ ตามฐาน ข้อมูลรายชื่อบริษัทที่คณะกรรม การส่งเสริมการลงทุนมีอยู่" นาย อุตตมกล่าว.

รฟม.แจ้งความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน-สีเขียว-สีส้ม

      การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) แจ้งความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2560 จำนวน 3 โครงการ ได้แก่

 1. โครงการรถไฟฟ้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง – บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ ปัจจุบัน มีความก้าวหน้า 96.42% โดยในส่วนของงานก่อสร้างโครงสร้างเหล็กทางวิ่งรถไฟฟ้าช่วงข้ามทางแยก (BOWSTRING) บางพลัด มีความคืบหน้าใกล้แล้วเสร็จ โดยมีความก้าวหน้า 82 % และในส่วนของ BOWSTRING บริเวณแยกไฟฉาย มีก้าวหน้ารวม 91.64 % ทั้งนี้ โครงการฯ มีกำหนดจะเปิดให้บริการช่วง หัวลำโพง – บางแค ในปี 2562 และ ช่วงบางซื่อ – ท่าพระ เปิดให้บริการในปี 2563

 2. โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (เหนือ) ช่วงหมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต ปัจจุบัน มีความก้าวหน้า 48.56% โดยมีงานก่อสร้างที่สำคัญ ได้แก่ งานก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามแยกเกษตรศาสตร์ มีความก้าวหน้า 66.39% เปิดให้บริการปี 2561 งานก่อสร้างสะพานรถยนต์ข้ามแยกรัชโยธิน มีความคืบหน้า 64.12% เปิดให้บริการปี 2561 และงานก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดบริเวณแยกรัชโยธิน มีความคืบหน้า 53.82% เปิดให้บริการปี 2562 นอกจากนี้ ยังมีงานก่อสร้างทางวิ่งรถไฟฟ้าข้ามทางด่วนดอนเมืองโทลล์เวย์ บริเวณห้าแยกลาดพร้าว มีความก้าวหน้า 25.68% ทั้งนี้ โครงการฯ มีกำหนดแล้วเสร็จและเปิดให้บริการปี 2563

 3. โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ปัจจุบัน รฟม. โดยผู้รับจ้างก่อสร้างฯ อยู่ระหว่างการสำรวจสาธารณูปโภคใต้ดิน มีความก้าวหน้า 3.24% ทั้งนี้ โครงการฯ มีกำหนดเปิดให้บริการปี 2566

      สำหรับ ในส่วนของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง นั้น ปัจจุบัน รฟม. ได้ดำเนินการคัดเลือกกลุ่มบริษัทเพื่อทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาโครงการแล้วเรียบร้อย และขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมเข้าพื้นที่ของบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้างเพื่อเริ่มดำเนินงานสำรวจและรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคใต้ดิน โดยทั้ง 2 โครงการ มีกำหนดจะเปิดให้บริการภายในปี 256

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!