WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gไพรนทร ชโชตถาวรสั่งขยายทางด่วน'บูรพาวิถี' เคาะลงทุนสายสีเหลือง 4 พันล.

   ไทยโพสต์ : ไทยโพสต์ * 'ไพรินทร์' สั่ง กทพ.เร่งขยายทางด่วนบูรพาวิถี เชื่อมมอเตอร์เวย์ เพื่อรองรับอีอีซี ด้าน รฟม.เคาะราคาส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเหลือง 4 พันล้านบาท คาดกลางปี 62 ตอกเข็ม

    นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)  ได้เร่งรัดให้ กทพ.ขยายทางด่วนเพื่อรองรับการพัฒนาโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) จากช่วงทางพิเศษบูรพาวิถี ที่สิ้นสุดลงที่หน้านิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ทำ ให้เกิดปัญหาการจราจร และไม่สามารถเชื่อมต่อกับมอเตอร์เวย์ได้

      "ให้ กทพ.ขยายทางด่วน บูรพาวิถีไปถึง ทล.331 บ้าน บึง เพื่อเชื่อมกับมอเตอร์เวย์ของกรมทางหลวง โดยให้ กทพ. ไปศึกษาความเหมาะสมของ โครงการนี้ นอกจากนี้ยังมีทางด่วนสายใหม่ที่จะลงทุน คือ สายพระราม 3-ดาวคะนองวงแหวนรอบนอกตะวันตก ระยะทาง 19 กม. วงเงิน 31,244 ล้านบาท คาดว่า จะเสนอกระทรวงคมนาคมภายในเดือน  ธ.ค.นี้" นายไพรินทร์กล่าว

    นายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า มูลค่าการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองส่วนต่อขยาย ระยะทาง 2.6 กิโลเมตร จากสถานีลาดพร้าว บริเวณแยกรัชดาลาดพร้าว ไปเชื่อมต่อกับสถานีรัชโยธิน หรือสถานีพหลโยธิน บริเวณแยกรัชโยธิน เพื่อเชื่อม กับรถไฟฟ้าสายสีเขียวช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสารนั้น อยู่ที่ 4,000 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงกลางปี 2562 ใช้ก่อ สร้าง 18 เดือน และจะเปิดให้บริการช่วงต้นปี 2564 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบ รวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับรับฟังเสียงผู้เกี่ยว ข้อง โดยจะเปิดเวทีรับฟังความ คิดเห็นประชาชนครั้งที่ 2 ในเดือน มี.ค.61.

รมช.คมนาคม สั่งศึกษาสร้างทางด่วนระดับภูมิภาค พร้อมต่อขยายด่วนบางนา-ชลบุรีหนุน EEC

    นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังตรวจเยี่ยมการดำเนินงานและมอบนโยบาย การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ว่า ภาพรวมการดำเนินงานของ กทพ.มีผลประกอบการที่ดี มีความเข้มแข็ง แผนงานโครงการมีความชัดเจน เป็นระบบทางด่วนที่ช่วยด้านการจราจรของคนกรุงเทพฯ นอกจากนี้ ยังมีแผนจะสร้างทางด่วนเพิ่มเติมในเมืองใหญ่ เช่น ภูเก็ต จึงมอบหมายให้มองไปที่ภูมิภาคอื่นให้ครอบคลุมด้วย เช่น เชียงใหม่ และภาคอีสาน

     นอกจากนี้ ในการให้บริการระบบทางด่วนนั้น ควรเป็นโครงข่ายที่แบบไร้รอยต่อ ซึ่งได้ให้นโยบาย กทพ.ศึกษา ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ในการต่อเชื่อมทางด่วนบางนา-ชลบุรี ซึ่งปัจจุบันสิ้นสุดเส้นทางที่บริเวณนิคมอุตสาหกรรม อมตะนคร ทำให้บริเวณนั้นมีความแออัดมาก หากสามารถต่อขยายเส้นทางออกไปน่าจะทำให้ดีขึ้น โดยมองว่าทางด่วนสายนี้จะเป็นเส้นทางที่ช่วยรองรับการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ได้โดยต่อออกไปถึงบริเวณบ้านบึง เชื่อมกับทางหลวงหมายเลข 331 และเป็นใจกลางของ EEC และเป็นจุดสำคัญที่มีแหล่งนิคมอุตสาหกรรมอีกด้วย

      สำหรับ การปรับขึ้นค่าทางด่วนนั้น เป็นการดำเนินการตามสัญญาสัมปทาน ส่วนการระดมทุนจากกองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ (TFF) เพื่อลงทุนก่อสร้างทางด่วนสายพระราม3-ดาวคะนอง-ถนนวงแหวนรอบนอกนั้นอยู่ในขั้นตอนดำเนินการ ซึ่งจะเป็นเส้นทางที่มีความสำคัญที่ควรเร่งดำเนินการเพื่อช่วยระบายการจราจรจาก กทม.ไปยังภาคใต้

              อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!