WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ส.อ.ท.โอดยอดผลิตรถหลุดเป้า ชี้ศก.โลกดึงส่งออกทรุด โอ่เชื่อมั่นอุตฯพ.ย.ดีดตัว

    ไทยโพสต์ : ศูนย์ฯ สิริกิติ์ * ส.อ.ม.ยอมรับยอดผลิตรถปี 2557 พลาดเป้า ได้เพียง 1.9 ล้านคัน จากเดิมที่ตั้งไว้ 2.2 ล้านคัน เหตุเศรษฐกิจโลกจีนไม่โต โรคระบาดอีโบลา ค่าเงินเยนอ่อน และความไม่สงบในตะวันออกกลาง ปีหน้าตั้งเป้า 2.2 ล้านคัน ด้านดัชนีอุตสาหกรรม พ.ย.57 ดีขึ้นจาก 89.7 มาอยู่ที่ 87.5

      นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒน พงษ์ รองประธานสภาอุตสาห กรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย.57 มียอดการผลิตรถยนต์ 158,038 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปี 2556 คิดเป็น 13.55% ส่วนยอดการผลิตในช่วง 11 เดือนแรกปี 2557 (ม.ค.-พ.ย.) อยู่ที่ 1,726,338 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว คิดเป็น 24.88% คาดว่าเดือน ธ.ค.57 จะผลิตได้ 176,000 คัน จากที่ปกติจะผลิตได้ 200,000 คัน รวมแล้วทั้งปีจะมียอดการผลิตรถยนต์ที่ 1.9 ล้านคัน ลดลงจากเป้าหมายตั้งไว้เมื่อต้นปีที่ผ่านมาที่ 2.4 ล้านคัน และได้ปรับลดลงมาอยู่ที่ 2.2 ล้านคัน โดยแบ่งเป็นการส่งออก 1.130 ล้านคัน และขายในประเทศ 880,000 คัน

     สำหรับ ปัจจัยที่ส่งผล กระทบต่อยอดการผลิตโดยรวมมาจากปัญหาความไม่สงบในตะวันออกกลาง, การเกิดโรคระบาดอีโบลา, ค่าเงินเยนญี่ปุ่นที่อ่อนค่าลง รวมถึงเศรษฐกิจจีนไม่มีการเติบโต ทำให้มีการนำเข้ารถยนต์ลดลง นอกจากนี้บางประเทศหันมานำเข้าชิ้นส่วนเพื่อประกอบรถยนต์มากขึ้น ไม่ได้นำเข้ารถยนต์ทั้งคันจากประเทศไทยมากเท่าเดิม ส่วนในปี 2558 นั้นคาดว่าประเทศไทยจะผลิตรถยนต์โดยรวมได้ 2.2 ล้านคัน แบ่งเป็นส่งออก 1.2 ล้าน คัน ขายในประเทศ 1 ล้านคัน

     "ในปีหน้าคงต้องจับตาดูว่า เศรษฐกิจโลก, ยูโรโซน ญี่ปุ่นและจีน จะมีแนวโน้มปรับ ตัวดีขึ้นหรือไม่ ซึ่งถ้า 3 ประ เทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่นี้ไม่ดี ขึ้น จะส่งผลกระทบต่อยอดส่ง ออกรถยนต์ปี 58 อาจจะทรง ตัว หรือปรับลดลงได้ทันที อย่าง ไรก็ตาม ทางออกที่สำคัญคือ พยายามหาตลาดใหม่ๆ มาทดแทน เช่น ตลาดอเมริกา เหนือ

     นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประ ธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า ดัชนีความ เชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 89.7 จากที่เดือนตุลาคม 2557 อยู่ที่ระดับ 87.5 เนื่องจากการส่ง เสริมการขายในช่วงปลายปี ส่ง ผลให้ยอดขายในประเทศกระ เตื้องขึ้นในหลายกลุ่มอุตสาห กรรม เช่น อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ แฟชั่น และการส่งออกไปประเทศคู่ค้าก็มีทิศทางที่ดีขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันในประเทศปรับตัวลงต่อเนื่องช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลง แต่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ยังกังวลต่อสภาพคล่องทางการเงิน การขาดแคลนวัตถุดิบและความผันผวนของราคาวัตถุดิบ

    นายสุพันธุ์กล่าวว่า ขณะที่ราคาน้ำมันลดลงต่อเนื่องช่วยให้ต้นทุนการผลิตลดลง แต่ว่า กลุ่มเอสเอ็มอียังกังวลต่อสภาพ คล่องทางการเงิน การขาดแคลน วัตถุดิบ และความผันผวนของราคาวัตถุดิบ ดังนั้น ส.อ.ท.เรียกร้องให้ลดค่าขนส่งอย่างน้อย 20% ปรับลดค่าไฟฟ้าลง 5-6% ตามราคาน้ำมันที่ลดลง รวมทั้งให้ภาครัฐเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและยกเลิกกฎอัยการศึกด้วย รวมถึงการจัดตั้งศูนย์ติดตามมาตรการกีดกันทางการค้า เพื่อแก้ปัญหาทางการค้าควบคุมการนำเข้าสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) เช่น เหล็ก อาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภคเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและช่วยเหลือผู้ผลิตในประเทศ

   นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม ส.อ.ท. กล่าวว่า สนับสนุนให้เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินสะอาด เพราะว่าปัจจุบันใช้ก๊าซธรรมชาติถึง 67% ทำให้ต้นทุนค่าไฟสูงขึ้น.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!