WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ดันบ้านเอื้อฯ สู่ต้นแบบ การเรียนรู้แหล่งชุมชน

    บ้านเมือง : นางพิมพ์พรรณ นาวีปัญญาธรรม ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตและชุมชน การเคหะแห่งชาติ เปิดเผยว่า โครงการชุมชนแห่งการเรียนรู้ฯ เป็นการต่อยอดจากโครงการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดชุมชนน่าอยู่น่าสบายอย่างยั่งยืน (Eco-village) ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยระบบบริหารและพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่น่าสบายอย่างยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานทดแทน การปล่อยคาร์บอนต่ำ และการประหยัดพลังงาน ซึ่งจะส่งผลต่อการประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้อยู่อาศัยในชุมชน โดยเลือกโครงการบ้านเอื้ออาทรบึงกุ่ม เป็นพื้นที่ศึกษามุ่งให้เป็นชุมชนนำร่องในการพัฒนา

    ทั้งนี้ ผลที่ได้รับจากการศึกษา ส่งผลให้ชุมชนมีแผนบริหารจัดการของเสียและการใช้พลังงานทดแทนมีชุดองค์ความรู้ด้านบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงเครื่องมือและฐานการเรียนรู้ 11 ฐาน จาก 3 กลุ่มการจัดการ ประกอบด้วย กลุ่มจัดการขยะมูลฝอย มี 4 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ กองทุนขยะรีไซเคิล, เครื่องสับย่อยกิ่งไม้, ปุ๋ยหมักอินทรีย์ และตลาดนัดมือสองและ Shop ศูนย์สตางค์ กลุ่มจัดการน้ำเสีย มี 3 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ เครื่องคัดแยกและอบแห้งกากไขมันด้วยพลังแสงอาทิตย์, น้ำหมักชีวภาพ/น้ำหมักจุลินทรีย์ และระบบบำบัดน้ำเสียโดยใช้สาหร่ายที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Eco Tank) กลุ่มพลังงานทดแทน มี 4 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ ระบบไฟส่องสว่างในอาคารและทางเดินเท้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และกังหันลม, ระบบผลิตน้ำร้อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์, เตาชีวมวล และไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว

     นอกจากนี้ ยังมีวิทยากรชุมชนที่สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระบวนการนี้ จะกระตุ้นให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน กลายเป็นเครือข่ายพัฒนาการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน ซึ่งเป็นความมุ่งหวังของการเคหะแห่งชาติที่ต้องการให้มีเครือข่ายระหว่างชุมชนเกิดขึ้น สำหรับในปี 2558 ขยายการดำเนินงานเพิ่มอีก 4 ชุมชน ได้แก่ บ้านเอื้ออาทรบางโฉลง บ้านเอื้ออาทรบางบัวทอง 2 บ้านเอื้ออาทรรังสิต คลอง 9 และบ้านเอื้ออาทรรามอินทรา 117 และคาดหวังว่า ทั้ง 4 ชุมชนนี้จะมีฐานการเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างน้อย 1 ฐาน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!