WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ANAN-ChanondANAN แย้มอาจเพิ่มเป้ายอดขายอีกรอบ เหตุคอนโดฯแนวรถไฟฟ้ายังฮ็อต จับมือมิตซุย ฟูโดซัง ลุยเปิดอีก 5 โครงการ มูลค่ากว่า 1.9 หมื่นลบ.

   ANAN จับมือมิตซุย ฟูโดซัง ร่วมเปิดโครงการอสังหาฯ อีก 5 โครงการ รวม 4200 ยูนิต มูลค่ากว่า 1.9 หมื่นลบ. เตรียม Presale ใน Q2/58 หลังร่วมมือพัฒนาไปแล้ว 4 โครงการ รวม 9 โครงการ คิดเป็นมูลค่ารวม 4.5 หมื่นลบ. ขณะที่มิตซุย ประกาศพร้อมจับมือ ANAN ลุยอสังหาฯใน ตปท. วางงบลงทุนฯ ทั้งหมดรวมประเทศไทย 1.55 แสนลบ. ด้าน "บิ๊กอนันดา" รับมีโอกาสปรับเพิ่มเป้ายอดขายอีกครั้งเหตุคอนโดฯติดรถไฟฟ้าความต้องการยังสูง

  นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ ANAN เปิดเผยว่า จากความสำเร็จในการบรรลุข้อตกลงการร่วมทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แนวรถไฟฟ้าในประเทศกับบริษัท มิตซุย ฟูโดซัง เรสซิเด็นเชียล จำกัด (MFR) ในปี 2555 ภายใต้ชื่อบริษัท อนันดา เอ็มเอฟ เอเชีย จำกัด (Ananda MF Asia) นำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมบนทำเลศักยภาพสูงสุด 4 โครงการ ภายในระยะเวลาเพียง 2 ปี ด้วยจำนวนยูนิตกว่า 4,100 ยูนิต มูลค่าโครงการกว่า 26,000 ล้านบาท ซึ่งได้รับการตอบรับดีเยี่ยมจากกลุ่มลูกค้า Gen C และนักลงทุนเกินความคาดหมายที่ตั้งไว้เป็นอย่างมาก

  ดังนั้น ในปี 2558 บริษัทฯ ยังได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจในการร่วมทุนครั้งใหญ่อย่างต่อเนื่องอีกครั้งด้วยการพัฒนาคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้าร่วมกันอีก 5 โครงการ จำนวนยูนิตรวมกว่า 4,200 ยูนิต มูลค่าโครงการรวมกว่า 19,000 ล้านบาท

  " สำหรับการร่วมทุนในครั้งนี้ นอกจากได้รับความเชื่อมั่นและไว้วางใจในการบริหารงานแล้ว กลุ่มมิตซุยยังคงมองเห็นศักยภาพของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้นจากเศรษฐกิจที่มีทิศทางดีขึ้น การเมืองสงบ ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและผู้บริโภค รวมทั้งการเดินหน้าลงทุนโครงการรถไฟฟ้าของรัฐบาล หนุนให้ความต้องการที่อยู่อาศัยตามแนรถไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น บวกกับศักยภาพของอนันดาฯที่มีความโดดเด่นและความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ติดรถไฟฟ้า จึงทำให้เกิดข้อตกลงในสัญญาร่วมทุนครั้งใหญ่อีกครั้ง" นายชานนท์ กล่าว

  สำหรับการร่วมทุนกับบริษัท มิตซุย ฟูโดซัง อนันดาฯ จะถือครองหุ้นในสัดส่วน 49% กลุ่มมิตซุย 49% และนักลงทุนรายย่อยถือหุ้นสัดส่วน 2% ที่เหลือ ซึ่งอนันดาฯ จะรับหน้าที่หลักในการบริหารงานโครงการทั้งหมด และจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารร่วมกันระหว่างมิตซุย ฟูโดซังฯ และอนันดาฯ ฝ่ายละ 3 คน มาร่วมกันตัดสินใจและอนุมัติค่าใช้จ่ายและการลงทุนต่างๆ

  โดยแผนการดำเนินงานพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้าร่วมกันอีก 5 โครงการ ประกอบด้วยโครงการคิว ชิดลม-เพชรบุรี ซึ่งเป็นคอนโดมิเนียมแบบ Hi-rise สูง 40 ชั้น ใกล้สถานีบีทีเอสชิดลม 650 เมตร จำนวน 359 ยูนิต โดยจะเปิด Presales ในไตรมาสที่ 2-ต้นไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ นอกจากนี้ยังเตรียมเปิดอีก 4 โครงการ 4 ทำเล ย่านสีลม บางนา บางซื่อ ในไตรมาส 4 และโครงการย่านท่าพระในไตรมาส 1 ปีหน้า

  มร.อะกิฮิโกะ ฟูนาโอกะ Executive Managing Offecer. บริษัท มิตซุย ฟูโดซัง กล่าวว่า บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นในศักยภาพของอนันดาฯ ที่มีความเชี่ยวชาญและศักยภาพในการพัฒนาโครงการที่โดดเด่นทั้งคุณภาพและการออกแบบที่บริษัทได้สะสมประสบการณ์ ผ่านกระบวนการความคิดสร้างสรรค์และพัฒนามาเป็นอย่างดี จนก่อให้เกิดโครงการที่พักอาศัยที่มีความโดดเด่นด้านสถาปัตยกรรมและมีเอกลักษณ์ และที่สำคัญที่สุด คือ กลยุทธ์ในการเลือกทำเลที่ดีที่สุดเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีระบบขนส่งมวลชนรองรับ อาทิ รถไฟฟ้าสายต่างๆ ในกรุงเทพฯ ที่สามารถตอบโจทย์สอดรับกับไลฟ์สไตล์ของคนกรุงเทพ สร้างความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคในการเดินทางหลีกเลี่ยงการจราจรที่ติดขัดได้เป็นอย่างดี ในราคาสมเหตุผลสามารถเป็นเจ้าของได้

  ปัจจุบันนี้ มิตซุยฯมีเม็ดเงินลงทุนในต่างประเทศรวมทั้งประเทศ 1.55 แสนล้านบทท เป็นการลงทุนร่วมกับ อนันดาฯ 5 พันล้านบาท อย่างไรก็ดีบริษัทมีแนวคิดที่จะร่วมกับอนันดาเพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ในต่างประเทศในอนาคนด้วยเช่นกัน

  เขากล่าวว่า มิตซุยมีรายได้ในปี 2014 อยู่ที่ 4.3 แสนล้านบาท และมีกำไร 2.8 หมื่นล้านบาท

  สำหรับในส่วนของผลประกอบการ อนันดาฯ นั้น นายชานนท์ กล่าวว่า บริษัทฯมีโอกาสจะปรับเป้าหมายยอดขายในปีนี้เพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังจากเพิ่งปรับเพิ่มเป้ายอดขายปีนี้ขึ้นเป็น 2.56 หมื่นล้านบาท ซึ่งรวม 5 โครงการที่ทำร่วมกับมิตซุยด้วยแล้ว แต่ยังคงเป้ารายได้เท่าเดิมที่ 1-1.1 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเชื่อว่าตลาดคอนโดฯ ติดรถไฟฟ้ายังมีดีมานด์ หรือความต้องการจากผู้บริโภคอยู่มากยอดขายส่วนใหญ่ยังคงไปได้ดี อย่างในช่วงไตรมาสแรกที่ผ่านมานั้น ยอดขายทำได้ถึง 9000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 300% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

  ขณะที่ในส่วนของลูกค้านั้น ปัจจุบันมียอดลูกเปลี่ยนใจไม่ทำสัญญา และโอน เมื่อจองแล้วประมาณ 2% เท่านั้น ขณะที่ยอดปฏิเสธสินเชื่อมี 5% ทรงตัวจากปีก่อนหน้า

  "มีโอกาสที่เราจะปรับ ซึ่งจริงๆ เราก็พยายามจะทำให้เพิ่มขึ้นอยู่แล้ว และการปรับเป้านั้นเราดูจากข้อมูลปัจจุบัน เราดูทุกสัปดาห์ รวมถึงดูปัจจัยหลายๆด้านว่ามีอะไรใหม่ๆ เข้ามามั๊ย เช่น หนี้ครัวเรือน อัตราดอกเบี้ย ตัวเลขส่งออก และการเมือง แต่เลรายได้ที่ยังคงเป้านั้น เพราะเราขอคอนเซอร์เวทีฟไว้ก่อน"นายชานนท์ กล่าว

  ส่วนนโยบายเรื่องพัฒนาที่ดินหรือแลนด์แบงก์ของบริษัทนั้น ยังคงเน้นนโยบายพัฒนาที่ดินแถบรถไฟฟ้าในกทม. และชานเมือง แต่ไม่เน้นเก็บแลนด์แบงก์ไว้ โดยจะนำออกมาพัฒนาโครงการทั้งหมด

  ปัจจุบันนี้ อนันดาฯ เปิดโครงการคอนโดมิเนียมติดรถไฟฟ้าแล้ว 30 โครงการรวม 2.2 หมื่นยูนิต มูลค่า 8.2 หมื่นล้านบาท โดยก่อนหน้านี้บริษัทตั้งเป้าจะครองส่วนแบ่งการตลาดอันดับ1 ของตลาดคอนโดมิเนียม

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!