- Details
- Category: การแพทย์-สธ
- Published: Thursday, 26 October 2023 21:52
- Hits: 3368
ออมรอน เฮลธแคร์ นำเสนอแบบประเมินคำนวณความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง พร้อมคำแนะนำบนเว็บไซต์ออมรอน เพื่อช่วยคนไทยป้องกันโรคร้ายได้ด้วยตนเอง
อรุชา พรหมยานนท์ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ สิงคโปร์ (ซ้าย); ยูซุเกะ คาโตะ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด (กลาง); ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข สังกัด หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ขวา)
ออมรอน เฮลธแคร์ (OMRON Healthcare) บริษัทสาขาในประเทศไทยภายใต้บริษัทแม่ในญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้นำด้านอุปกรณ์การตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้าน ได้นำเสนอแบบประเมิน คำนวณความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Risk Calculator) บนเว็บไซต์ ซึ่งเป็นเครื่องมือออนไลน์อันเปี่ยมประสิทธิภาพซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองรายบุคคลโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโอ๊กแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ โครงการส่งเสริมสุขภาพ ผ่านแบบประเมินความเสี่ยง เกิดจากความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมองกว่า 300 คนจาก 102 ประเทศ จึงนับเป็นความร่วมมือทางการแพทย์ระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในสาขานี้
แบบประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ถูกนำเสนอบนเว็บไซต์ของออมรอน เฮลธแคร์ ภายใต้แคมเปญ “Sleeves Up, Stroke Risk Down” เพื่อตอกย้ำความสำคัญของการเฝ้าสังเกตระดับความดันโลหิตและช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้คนเข้าใจถึงความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและส่งเสริมให้ทำการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ การศึกษาของออมรอน (ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงตุลาคม 2565) พบว่าการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านเป็นประจำสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ถึง 54% โครงการนี้ยังสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของบริษัทในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและสอดรับต่อแคมเปญ World Stroke Day ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ทั่วโลกถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการป้องกันและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะโรครุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหลายล้านคนทั่วโลก ซึ่งมักนำไปสู่ผลเสียที่ร้ายแรงในภายหลัง โรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นเมื่อการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองเกิดการติดขัด ส่งผลให้เซลล์สมองตาย โดยอาจมีสาเหตจากการอุดตันของหลอดเลือด (หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน) หรือการแตกของหลอดเลือด (ภาวะหลอดเลือดสมองแตก) โดยรายงานล่าสุดของ Lancet Commission ระบุว่าโรคหลอดเลือดสมองอาจคร่าชีวิตผู้คนกว่า 10 ล้านคนต่อปีภายในปี 2593 โดยเพิ่มขึ้น 50% ในอีก 30 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ยังแนะนำให้เห็นถึงความสำคัญของการควบคุมปัจจัยการใช้ชีวิตอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เนื่องจากความพิการหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง มีผลกระทบต่อสุขภาพที่หนักหนาสาหัสมาก การไปพบแพทย์อย่างทันท่วงทันทีจึงเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เพราะการดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะสามารถลดความเสียหายต่อสมองและเพิ่มโอกาสในการฟื้นตัวได้มากขึ้น
โรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและความพิการในประเทศไทย ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 เผยถึงแนวโน้มที่น่าวิตกกังวลถึงอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองที่สูงขึ้นจาก 278.49 ต่อประชากรแสนคนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในปี 2560 เพิ่มขึ้นเป็น 330.72 ต่อประชากรแสนคนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในปี 2565 ความชุกของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทยยังคงมีระดับค่อนข้างคงที่ที่ประมาณ 4% ตั้งแต่ปี 2557 ถึง 2561[1] ซึ่งรายงานของ Statista[2] ในปี 2564 ระบุว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงประมาณ 2.3 พันต่อประชากรแสนคนหรือคิดเป็นประมาณ 12.3 ล้านคน
โรคความดันโลหิตสูง (ภาวะความดันโลหิตสูงผิดปกติ) ซึ่งมักถูกเรียกว่า “นักฆ่าเงียบ[3]” ยังคงเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงระดับสูงของโรคหลอดเลือดสมอง รายงานของ Lancet ยังระบุว่าการให้ความสำคัญต่อการตรวจและควบคุมความดันโลหิตสูงตั้งแต่เนิ่นๆ ถือเป็นสิ่งที่แนะนำอย่างยิ่ง ให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองทั้งในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ
ออมรอน เฮลธแคร์ ดำเนินการเชิงรุกเพื่อรับมือกับ “นักฆ่าเงียบ” รายนี้ ด้วยการนำเสนอแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อช่วยให้บุคคลสามารถประเมินความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของตนเองได้ในอีก 5 หรือ 10 ปีข้างหน้า การประเมินจะอ้างอิงจากชุดคำถามที่ผ่านการทดสอบทางวิทยาศาสตร์โดยครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ของสุขภาพและการดำเนินชีวิต และเนื่องจากรูปแบบการรับประทานอาหาร กิจวัตร และการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมาก ดังนั้น การทำความเข้าใจความเสี่ยง และตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านอย่างสม่ำเสมอสามารถนำไปสู่การดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันให้ดีขึ้น และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพได้
“ดังที่เรามักพูดกันบ่อยๆ ว่า ‘One small squeeze a day keeps the BIG stroke away!’ เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก ระหว่างการใช้ชีวิต ความดันโลหิตสูง และความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง การวัดความดันโลหิตที่บ้านและการประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลอย่างได้มีประสิทธิภาพ” ยูซุเกะ คาโตะ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว
“ฟีเจอร์การคำนวณความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองนี้ทำงานได้รวดเร็วและใช้ง่ายมาก หลังจากเราตอบคำถาม 20 ข้อสำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 90 ปีขึ้นไป ก็สามารถดูความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 3 นาที นอกจากนี้ ฟีเจอร์ยังให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับวิธีการลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย เพราะโรคนี้สามารถเกิดได้กับผู้คนทุกช่วงอายุและทุกเวลา แม้แต่ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำถึงปานกลางก็ตาม ดังนั้น การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงและการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก” อรุชา พรหมยานนท์ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ สิงคโปร์ กล่าว
ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข สังกัด หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นย้ำถึงความสำคัญในการตรวจวัดความดันโลหิตเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองว่า “ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจาก ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้น เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและรูของหลอดเลือดแดงตีบแคบลง ก้อนไขมันที่ผนังหลอดเลือดเกิดการปริแตก เลือดไหลผ่านไม่สะดวกทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื้อสมองตาย หรือทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงมีเลือดออกในสมองซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำจะช่วยให้บุคคลสามารถตรวจพบความผิดปกติ และใช้แนวทางที่เหมาะสมเพื่อรักษาให้มีระดับความดันในช่วงที่ดีต่อสุขภาพได้ ขั้นตอนที่เรียบง่ายแต่สำคัญนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง”
ผู้สนใจต้องการคำนวณความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง สามารถใช้งานได้ที่
https://www.omronhealthcare-ap.com/th/how-lower-blood-pressure-can-prevent-stroke
[1] https://www.nature.com/articles/s41598-021-96878-4.pdf
[2] https://www.statista.com/statistics/1104418/thailand-number-of-hypertension-patients/
[3] WHO, Scale-up efforts to prevent, detect and control hypertension
A10853