- Details
- Category: ศิลปวัฒนธรรม
- Published: Tuesday, 20 February 2024 23:24
- Hits: 10795
เปิด ‘การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการสร้างการรับรู้ จ.อุดรธานี’ สืบสานอัตลักษณ์ ส่งเสริมและกระตุ้นผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล
นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการสร้างการรับรู้ และเผยแพร่พระอัจฉริยภาพทางด้านการอนุรักษ์และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาการทอผ้าของไทย ของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญาในการสืบสาน รักษา และต่อยอด พระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” ณ ห้อง Udon Hall ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลอุดร จังหวัดอุดรธานีโดยมี นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วย นายธนิต ภูมิถาวร ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และหัวหน้าส่วนงานราชการจังหวัดอุดรธานี เข้าร่วมพิธีเปิด
ด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีนารีรัตนราชกัญญา ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะในการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาหัตถกรรมไทย ให้ดำรงอยู่ยั่งยืน ด้วยพระอัจฉริยภาพพระองค์ทรงต่อยอดผสมผสานด้านแฟชั่นที่ร่วมสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งการสืบสานอัตลักษณ์ เรื่องราวประจำภูมิภาค ทรงมีแนวพระดำริ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” คือความสุข ที่ได้เลือกใช้ศิลปหัตถกรรมไทย เพื่อให้รายได้กลับสู่ชุมชน ส่งเสริมและกระตุ้นผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล เป็นที่นิยมในทุกเพศทุกวัยและทุกโอกาส พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนินปฏิบัติพระกรณียกิจ และเยี่ยมราษฎร 4 ภูมิภาค
ในการนี้สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ และวิทยากรจากหลากหลายสาขา เพื่อมาให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ช่างทอผ้า ทายาทและเยาวชนของผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ผู้ที่สนใจในภูมิปัญญาด้านผ้าไทย และประชาชนทั่วไป นักเรียนนักศึกษาในจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดใกล้เคียง ที่มีความสนใจในการศึกษาเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาด้านผ้าไทยสู่ชุมชน พร้อมทั้งรับฟังการบรรยายในหัวข้อ “พระอัจฉริยภาพด้านการอนุรักษ์และต่อยอดมรดก ภูมิปัญญาการทอผ้าของไทย” โดยโครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อฟื้นคืนภูมิปัญญาผ้าไทยในภูมิภาคต่างๆ ให้กลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้ง และยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากภูมิปัญญาการทอผ้าของไทย และงานหัตถกรรมไทยตามเทรนด์แฟชั่นที่ร่วมสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งการสืบสานอัตลักษณ์ ส่งเสริมและกระตุ้น ผ้าไทยให้ทันสมัยสู่สากล
2667