WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aSACICT

SACICT รวมนักสะสมงานหัตถกรรมชื่อดังของไทย ตื่นตาตื่นใจสมบัติล้ำค่า ในเสวนา ‘หัตถกรรมของบรรพชน ของรัก ของหวง รักษาไว้ให้ถึงลูกหลาน’

      ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT เปิดเวทียิ่งใหญ่ดึงนักสะสม ชั้นนำของเมืองไทย นำของรัก ของหวง ของสะสมงานศิลปหัตถกรรมบรรพชนล้ำค่า เผยแพร่ให้ร่วมชื่นชม ในงานเสวนา’หัตถกรรมของบรรพชน ของรักของหวง รักษาไว้ให้ถึง ลูกหลาน’มุ่งหวังถ่ายทอดประสบการณ์ในงานสะสม เพื่อสร้างแรงบันดาลใจกลุ่มนักสะสม และผู้รักงานศิลปหัตถกรรม ณ โรงแรม แมนดาริน โอเรียลเต็ล

       นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า SACICT มีบทบาท ในด้านการส่งเสริมเพื่อการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาในงานศิลปหัตถกรรม และส่งเสริมการสร้างสรรค์งานหัตถศิลป์สู่ความร่วมสมัย และเชิงพาณิชย์ เห็นถึงความสำคัญการเผยแพร่องค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมแห่งบรรพชนที่สะท้อนถึงซึ่งภูมิปัญญาทั้งศาสตร์และศิลป์เชิงช่างที่มีการสะสมไว้เป็นสมบัติล้ำค่าของผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการนักสะสมแห่งสยาม จึงได้จัดกิจกรรมเสวนา “หัตถกรรมของบรรพชน ของรัก ของหวง รักษาไว้ให้ถึง ลูกหลาน” ขึ้นเพื่อเป็นเวทีให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการนักสะสม ผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปหัตถกรรมได้มีโอกาสพบปะ แลกเปลี่ยนมุมมอง ถ่ายทอดแรงบันดาลใจ และแบ่งปันประสบการณ์ ซึ่งผลงานบางชิ้นมีอายุเกินกว่า 200 ปี และบางชิ้นเป็นงานระดับชิ้นเอก (Masterpiece) ของนักสะสมที่อาจไม่เคยนำมาเผยแพร่ที่ใดมาก่อน

       ในโอกาสนี้ SACICT ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญ นักสะสม ที่เป็นครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม มาถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมา ความสำคัญ รวมถึงความแตกต่างของงานศิลปหัตถกรรมในแต่ละยุคสมัย จำนวน 6 ท่าน ได้แก่ ครูเสน่ห์ แจ่มจิรารักษ์ ครูศิลป์ของแผ่นดินงานเครื่องมุก ครูวีรธรรม ตระกูลเงินไทย ครูศิลป์ของแผ่นดิน งานผ้ายก-ศิลปะสมัยอยุธยา ครูมีชัย แต้สุจริยา ครูศิลป์แห่งแผ่นดินงานผ้าทอ ครูวิรัช ปิ่นสุวรรณ ครูศิลป์แห่งแผ่นดินงานเครื่องเบญจรงค์ ครูดิเรก สร้อยสีดา ครูช่างศิลปหัตถกรรมงานสลักดุน ครูอุทัย เจียรศิริ ครูช่างหัตถกรรมงานเครื่องถม-คร่ำ

        นอกจากนี้ SACICT ยังได้เชิญนักสะสมชื่อดังของเมืองไทย มาถ่ายทอดเรื่องราวความน่าสนใจ เสน่ห์ที่ดึงดูดของงานศิลปหัตถกรรมตั้งแต่รุ่นปู่ย่ามาจนถึงรุ่นปัจจุบัน อีกกว่า 10 ท่าน ได้แก่ นายกฤษณ์ โรจนะเสนา นักสะสมงานเครื่องเงิน – สลักดุน แบบราชสำนัก ที่มีการใช้งานนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ นายศักดิ์ชัย กาย นักสะสมงานเครื่องดนตรีประเภทซอที่แกะสลักจากกะลามะพร้าว อาจารย์บุญชัย ทองเจริญบัวงาม งานสะสมงานหัตถกรรมโบราณ – เครื่องเงิน ผ้าทอและจักสาน นายปัญญา พูนศิลป์ นักสะสม ผ้าโบราณและของใช้

       โบราณวัตถุของภาคใต้ นางศิริลักษณ์ ภัทรประสิทธิ์ ไม้ไทย นักสะสมเครื่องกระเบื้องและ เครื่องเงินจากทั่วโลก นายเนธิชัย ปานสุวรรณ นักสะสมชิ้นงานกระเบื้องประเภทจานเชิงเขียนลายสีน้ำเงินบนพื้นขาว (กระเบื้องลายคราม) นายพิพัฒน์พงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา นักสะสมเครื่องมุกโบราณ นายสมคิด เจริญธุระยนต์ นักสะสมงานเครื่องแก้วเจียรนัยทั้งของโบราณของไทย และจากนานาประเทศ รศ.นพ.มนัท สูงประสิทธิ์ นักสะสมงานเครื่องถมโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงรัตนโกสินทร์ นายชาย มีจำรัส  นักสะสมงานกริซโบราณ ทุกยุค ทุกสมัย เป็นผู้ที่สะสม กริซ มากที่สุดรายหนึ่งของประเทศไทย 

        นางอัมพวัน กล่าวเสริมว่าการจัดงานในครั้งนี้ มิได้เป็นเพียงการสร้างความตื่นตา ตื่นใจในผลงานที่เป็นของรัก ของหวง เป็นสมบัติอันล้ำค่าของนักสะสมทุกท่านเท่านั้น แต่เป็นโอกาสให้นักสะสม หรือผู้ที่กำลังจะผันตัวเองมาเป็นนักสะสม ทุกรุ่น ได้มีโอกาสแบ่งปันประสบการณ์การสะสมระหว่างกัน เป็นแรงผลักดันให้เกิดความนิยมของกลุ่มผู้ริเริ่มสะสมงานศิลปหัตถกรรม เสมือนเป็นการสืบสานต่อเส้นทางงานศิลปหัตถกรรมให้คงอยู่ และที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ทำให้ได้มีโอกาสเห็นฝีมือ เทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานของบรรพชนที่มีมาแต่โบราณ ก่อเกิดเป็นแรงบันดาลใจหรือแนวคิดผ่านชิ้นงานเหล่านี้ของผู้ที่มีทักษะฝีมือเชิงช่าง เกิดการนำไปพัฒนาเป็นผลงาน Masterpiece หรือปรับประยุกต์เป็นผลงานเชิงสร้างสรรค์พัฒนาต่อยอดขยายผลองค์ความรู้เชิงนวัตศิลป์ต่อไป

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!