WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ICT ถก'กสทช'จ่อทำงานร่วม แก้กม.-เร่งนโยบายดิจิตอลอีโคโนมี

    แนวหน้า : นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับ พล.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ว่า ในการหารือร่วมกับ กสทช. ในครั้งนี้ เพื่อหาแนวทางในการทำงาร่วมกันในเรื่องต่างๆ ทั้งเรื่องงาน หรือข้อกฎหมายที่ยังคงทับซ้อนกันอยู่ โดยการหารือร่วมกันในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรก จึงเป็นการพูดคุยกันในเชิงหลักการเบื้องต้นในเรื่องต่างๆระดับผู้นำสูงสุดของทั้ง 2 องค์กรเท่านั้น ยังไม่ได้มีการลงในรายละเอียดเชิงลึกแต่อย่างใด ซึ่งเร็วๆทั้ง 2 หน่วยงานยังมีแผนที่จะจัดตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อขับเคลื่อนงาน โดยเป็นในลักษณะประธานคู่ ที่เป็นตัวแทนจากทั้ง 2 หน่วยงาน ทั้งนี้ขอยืนยันว่าการทำงานในส่วนดังกล่าวจะต้องรวดเร็ว เพราะรัฐบาลชุดนี้นั้นทำงานเร็ว ส่วนจะเริ่มงานได้เมื่อใด จะต้องขอพิจารณาเนื้อหาของงานก่อน

    นอกจากนี้ ในส่วนการขับเคลื่อนนโยบาย'ดิจิตอลอีโคโนมี'เร็วนี้ๆ จะมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันกับภาคส่วนต่างที่เกี่ยวข้อง รวมถึง กสทช. ในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว ในลักษณะการทำงานเดียวกันกับ คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก หรือ อิสเทิร์นซีบอร์ด โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และมีกระทรวงไอซีทีเป็นเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อนนโยบาย

    อย่างไรก็ตาม จากการที่ภาระงานของกระทรวงไอซีทีจะเพิ่มขึ้น เร็วนี้ๆทางกระทรวงไอซีทีจึงมีแผนปรับบทบาทการทำงานของกระทรวงครั้งใหญ่ ให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนงานต่างๆตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งจะมีการปรับเปลี่ยนชื่อกระทรวงใหม่ด้วยเช่นกัน เพื่อให้เข้ากับบทบาทใหม่ของกระทรวง ซึ่งจากที่มีกระแสข่าวบอกว่าจะเปลี่ยนชื่อใหม่จากกระทรวงใหม่จากกระทรวงไอซีที ไปเป็น กระทรวงดิจิตอล ขอยังไม่ยืนยันคำตอบดังกล่าว แต่ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะใหม่จะเป็นในแนวทางนั้น ทั้งนี้กระทรวงไอซีทียังอยู่ระหว่างการทาบทาม ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) ซึ่งขณะนี้ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาอยู่ใต้สังกัดกระทรวงไอซีทีด้วยเช่นกัน

    พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธาน กสทช. กล่าวว่า จากการหารือร่วมกันกับกระทรวงไอซีทีในครั้งนี้ ทาง กสทช. เห็นด้วยกับหลักการตามที่กระทรวงไอซีทีนำเสนอมาทุกประการ และพร้อมทำงานร่วมกันเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งในส่วนของการแก้ไขปัญหาที่คงค้างอยู่เดิม เช่น การแก้กฎหมายใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 การแก้ปัญหาเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ หลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน ของ บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) ไปจนถึงการร่วมขับเคลื่อน นโยบายดิจิตอลอีโคโนมี เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม การทำงานร่วมกันกับ กระทรวงไอซีที ในครั้งนี้ จะเป็นการจัดตั้งใหม่ขึ้นมาทั้งหมด โดยจะไม่สานงานเดิมที่เคยตั้งคณะกรรมการร่วมกับกระทรวงไอซีที มาทำงานในเรื่องเดียวกัน เมื่อสมัยรัฐบาลชุดท่าผ่านมา ทั้งนี้ ในส่วนของ กสทช. เอง ยอมรับว่าเร็วๆนี้อาจมีแผนปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเช่นกัน 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!