WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ชูโรดแมปผุดดาวเทียมแห่งชาติ ‘ไอซีที’สรุปใช้งบฯ 4 พันล้าน

   แนวหน้า : นายพรชัย รุจิประภา รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ขณะนี้ไอซีทีกำลังร่างโรดแมปแผนกิจการอวกาศทั้งหมด เพื่อกำหนดเป็นทิศทางการบริหารงานของดาวเทียมทุกดวงที่มีอยู่ในวงโคจรตามสิทธิ์ที่ไอซีทีได้รับจาก สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) โดยเบื้องต้นคาดว่าแผนงานกิจการอวกาศทั้งหมดจะแล้วเสร็จได้ภายในเดือนเม.ย.2558 จากนั้นจะนำเข้าสู่วาระของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)

   ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันภาครัฐที่ใช้ระบบไอทีในการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ต้องใช้ดาวเทียมจาก บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งต้องจ่ายค่าเช่าสัญญาณ ปีละไม่ต่ำกว่า 7,000-8,000 ล้านบาท จึงมองว่าหากนำเงินที่ต้องจ่ายค่าเชื่อมต่อสัญญาณ 7,000-8,000 ล้านบาท มาลงทุนสร้างดาวเทียมเองจะคุ้มค่ากว่า และสร้างผลดีต่อความมั่นคงของประเทศหรือไม่ ในเบื้องต้นสรุปว่าหากจะจัดสร้างดาวเทียมเองจะต้องใช้งบประมาณราว 4,000-5,000 ล้านบาท

    นอกจากนี้ ไอซีที จะกำชับนโยบายไปยังสำนักปลัดกระทรวงไอซีทีเกี่ยวกับการให้ความสำคัญในการส่งบุคลากรมาอบรมเกี่ยวกับกิจการอวกาศเพื่อจะให้ไอซีทีเป็นผู้ออกหน้าเวลาประสานงานกับหน่วยงานต่างชาติ ไม่ต้องอาศัยการเจรจาจากไทยคมและคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เหมือนเช่นที่ผ่านมา

     รมว.ไอซีที กล่าวว่า ที่ผ่านมาไอซีทีได้มีการหารือร่วมกับ นายพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมผู้แทนจาก กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงศึกษาธิการ ในเรื่องการจัดทำยุทธศาสตร์เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในด้านเทคโนโลยีอวกาศ โดยจะวางแผนเป็นโรดแมปในการจัดสร้างดาวเทียมในครั้งนี้ เป็นแผนระยะยาว หรืออย่างต่ำ 5 ปี

    ทั้งนี้ แนวทางการจัดทำแผนกิจการอวกาศนั้น จะมีการกำหนดทิศทางการบริหารวงโคจรดาวเทียมที่ปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 6 วงโคจร ซึ่งมีทั้งที่ใช้งานอยู่และหมดอายุไปแล้ว โดยคณะกรรมการที่ร่างแผนงานนั้นจะพิจารณาดูว่าจะมีวิธีใดที่ทำให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด

   รวมทั้ง การจัดการกับดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ตามที่เคยมีคำสั่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เคยพิพากษาให้เป็นดาวเทียมนอกสัญญาสัมปทานเพราะเป็นดาวเทียมที่สร้างมาทดแทนไทยคม 3 ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการสรุปว่าจะทำอย่างไรกับดาวเทียมดวงดังกล่าว

'ไอซีที'ของบสร้างดาวเทียมแห่งชาติ

   ไทยโพสต์ : แจ้งวัฒนะ * ไอซีทีเล็งขอ ครม. อนุมัติงบ 4 พันล้าน สร้างดาว เทียมแห่งชาติ คาดแผนงานเบื้องต้นแล้วเสร็จสงกรานต์นี้ พร้อมจับมือกระทรวงวิทย์-กลาโหมร่วมทาง ชี้วงโคจรทุกดวงที่มีต้องเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

    นายพรชัย รุจิประภา รัฐ มนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยว่า ปัจจุบันภาครัฐที่ใช้ระบบไอทีในการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร ต้องใช้ดาวเทียมจากบริษัท ไทยคม จำกัด (มหา ชน)  ซึ่งต้องจ่ายค่าเช่าสัญญาณ ไม่ต่ำกว่า 7,000-8,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งการจัดสร้างดาวเทียมเอง คาดว่าจะใช้งบประมาณอยู่ที่ 4,000-5,000 ล้านบาท โดยกระทรวงกำลังร่างแผนงานกิจการอวกาศทั้งหมด เพื่อกำหนดเป็นทิศทางการบริหารงานของดาวเทียมทุกดวงที่มีอยู่ในวงโคจรตามสิทธิ์ที่ไอซีทีได้รับจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือ ไอทียู ซึ่งคาดว่าแผนงานดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในเดือน เม.ย.58 นี้ จากนั้นจะนำเข้าสู่วาระของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

    ทั้งนี้ ได้หารือกับนายพิเชษฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมผู้แทนจากกระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระ ทรวงศึกษาธิการ ในเรื่องการจัดทำยุทธศาสตร์เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานในด้านเทคโนโลยีอวกาศ จากการที่รัฐบาลชุดนี้มีแผนที่จะสร้างดาวเทียมสำหรับสื่อสารและสำรวจได้ด้วยขึ้นเอง หลังหารือร่วมกันได้รับความชัดเจนว่า ทุกหน่วยงานสามารถมีข้อกำหนดร่วมกันได้ ทั้งระยะเวลาการดำเนินการ วางโครงสร้างแผนการดำเนินงานในการจัดสร้างดาวเทียม โดยเบื้องต้นคาดว่าการจัดทำดาวเทียมจะเป็นแผนระยะยาว หรืออย่างต่ำ 5 ปี

   สำหรับ แนวทางการจัดทำแผนกิจการอวกาศ แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1.กำหนดทิศทางการ บริหารวงโคจรดาวเทียมที่ปัจจุบันมีอยู่ 6 วงโคจร ซึ่งมีทั้งที่ใช้งานอยู่และหมดอายุไปแล้ว โดยคณะกรรมการที่ร่างแผนงานนั้นจะพิจารณาว่ามีวิธีใดที่ทำให้ประเทศได้ประโยชน์สูงสุด 2.แนวทางการจัดการ ดาวเทียมไทยคม 4 (ไอพีสตาร์) ซึ่งคำสั่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเคยพิพากษาให้เป็นดาวเทียมนอกสัญญาสัมปทาน เพราะเป็นดาว เทียมที่สร้างมาทดแทนไทยคม 3 ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการสรุปว่าจะทำอย่างไรกับดาวเทียมดวงดังกล่าว และ 3.การจัดทำดาว เทียมสื่อสารแห่งชาติ เพื่อให้บริการความมั่นคงและบริการสาธารณะ โดยมอบหมายให้คณะ กรรมการกิจการอวกาศแห่งชาติไปศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างดาวเทียมภาครัฐ 1 ดวง

   นอกจากนี้ ไอซีทีให้ความสำคัญในการส่งบุคลากรมาอบรมเกี่ยวกับกิจการอวกาศเพื่อจะได้ประสานงานกับหน่วยงานต่างชาติ ไม่ต้องอาศัยการเจรจาจาก บมจ.ไทยคมและคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เหมือนเช่นที่ผ่านมา.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!