WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cม.ร.ว.ปรดยาธรรมว.ไอซีที เสนอครม.อนุมัติงบฯ 3.7 พันลบ.โครงการนำร่องขับเคลื่อนศก.ดิจิทัล

    ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ครั้งที่ 2/2558 ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องต่างๆ ดังนี้ 1. การดำเนินงานของคณะทำงานการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning ) 2. การดำเนินงานด้านศูนย์ข้อมูลในประเทศ (Data Center) 3. การดำเนินงานของคณะทำงานบรอดแบนด์แห่งชาติ (National Broadband) 4. การใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน (Infrastructure Sharing) 5. การเตรียมการประมูลคลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคมของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 6. การดำเนินงานของคณะทำงานติดตามกฎหมายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล 7. การดำเนินโครงการบูรณาการงานบริการภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้คณะอนุกรรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการบริหารโครงการบูรณาการงานบริภาคภาครัฐให้มีประสิทธิภาพ และ 8. โครงการนำร่องเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล

     ในส่วนของคณะทำงานด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้นำเสนอความคืบหน้าในโครงการที่สำคัญ อาทิ โครงการสอนทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะมีการคัดเลือกครูใน 5 วิชาหลักจำนวน 80 คน สอนทางระบบอินเตอร์เน็ต จำนวน 15,000 บาท ซึ่งวิธีการจะให้ทางครูสอนทางอินเตอร์เน็ตในครึ่งชั่วโมงแรก และให้ครูประจำโรงเรียนสอนต่ออีก 20 นาที โดยในขณะนี้มีการเชื่อมโยงไปแล้ว 10,000 โรงเรียน ส่วนอีก 5,000 โรงเรียน ให้ทันเปิดการศึกษาภาคใหม่ประมาณกันยายนนี้

     ขณะเดียวกัน ความคืบหน้าของการจัดตั้งระบบดาต้าเซนเตอร์ ได้มีการพิจารณาแนวทางการจัดการศูนย์ข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้ระบบงานภาครัฐอยู่ในศูนย์ข้อมูลที่มีมาตรฐาน และมีความมั่นคงปลอดภัย รวมทั้งหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำหรับภาคเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งจากการสำรวจสถานภาพศูนย์ข้อมูลภาครัฐจำนวน 300 หน่วยงาน มีหน่วยงานที่ตอบกลับแบบสำรวจแล้ว 83 หน่วยงาน มีจำนวนศูนย์ข้อมูลรวม 143 แห่ง ซึ่งมีอายุเกิน 7 ปี จำนวน 96 แห่ง หรือคิดเป็นร้อยละ 67 และต้องใช้งบประมาณในการบริหารจัดการสูงถึง 6,714 ล้านบาทต่อปี คาดว่าจะสำรวจแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยหลังจากสำรวจครบทุกหน่วยงาน จะมีการจัดทำศูนย์ดาต้าเซนเตอร์ขนาดใหญ่ของประเทศ แต่จะไม่รวมศูนย์เพียงจุดเดียว โดยจะวางเป็นโครงข่าย 40 แห่งเชื่อมโยงเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งในแต่ละศูนย์จะมีการเพิ่มความจุการเก็บข้อมูลเป็น 2 เท่า เพื่อให้เอกชนมีโอกาสเข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งมีบริษัทที่ให้ความสนใจประมาณ 6-7 บริษัท โดยรูปแบบคือ เอกชนจะเป็นผู้ลงทุน และรัฐบาลจะเป็นผู้ควบคุมมาตรฐานทั้งหมด ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดจะเริ่มออกแบบให้เป็นรูปธรรมภายใน 2 เดือน ซึ่งหลังจากนั้นจะทำทีโออาร์ และเปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูล

      ส่วนคืบหน้าของการตั้งบริษัทบรอดแบนด์แห่งชาติ จะมีการนำสินทรัพย์ถาวรโครงข่ายสื่อสารขององค์กรในกำกับของรัฐมาบริหารจัดการร่วมกัน และเห็นชอบให้ กสทช. ดำเนินโครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม (USO) ใน 2 จังหวัดนำร่อง ได้แก่ พิษณุโลกและหนองคาย และเมื่อสิ้นสุดสัญญาโครงการ 5 ปีแล้ว ให้นำสินทรัพย์ภายใต้โครงการ USO เข้าเป็นส่วนหนึ่งของบรอดแบนด์แห่งชาติ รวมทั้งเห็นชอบงบประมาณการดำเนินงานโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ จำนวน 1,710 ล้านบาท และการจัดจ้างที่ปรึกษาตามแผนการดำเนินงานบรอดแบนด์แห่งชาติ 40 ล้านบาท

    ในขณะนี้อยู่ระหว่างรัฐมนตรีเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร จะประเมิน และตัดสินใจเลือกบริษัทที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการวางเครือข่ายบอร์ดแบนทั่วประเทศ ซึ่งบริษัทเหล่านี้จะทำหน้าที่ประเมินมูลค่าสินทรัพย์ของแต่ละบริษัทที่จะเข้าร่วมเป็นบริษัท ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่เกิน 8 เดือนในการดำเนินการ

     สำหรับ ความคืบหน้าการประมูลคลื่นความถี่ 4G นั้น ขึ้นอยู่กับทางกสทช. เป็นผู้ดำเนินการ ขณะเดียวกันได้มีการตกลงกับทาง อสมท. และกรมประชาสัมพันธ์ ในการขอคืนคลื่นความถี่ 2,600 เมกกะเฮิร์ต เพื่อใช้ในการประมูล ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลา 1-2 เดือนในการคืนคลื่นความถี่ หลังจากนั้น กสทช. จะไปดูในเรื่องของการแก้ไขกฎหมายเพื่อเปิดช่องให้มีการประมูลคลื่น 2,600 เมกกะเฮิร์ต ด้วย ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการประมูลภายในสิ้นปีนี้ เพราะต้องขึ้นอยู๋กับการแก้ไขกฎหมายของกสทช.

     ขณะที่ การให้บริการภาครัฐในระบบดิจิทัล มีการรายงานความคืบหน้าหลายโครงการ เช่น การบริการของภาครัฐโดยการลดการใช้กระดาษ ซึ่งมีการนำร่องใน 7 กระทรวง 121 บริการ โดยคาดว่าจะดำเนินได้สมบูรณ์แบบภายใน 7 เดือน ซึ่งประชาชนสามารถนำบัตรประชาชนเพียงใบเดียวไปติดต่อราชการได้ทันที โครงการพัฒนาธุรกรรมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการลงทุน และการค้า เช่น การขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงานสามารถส่งผ่านทางระบบอีเมล์ได้ ขณะที่การขออนุญาตทำทูน่ากระป๋อง ซึ่งมีกระบวนการหลายขั้นตอนจะมีการปรับปรุงด้วยการรวบรวมข้อมูลไว้ที่สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสากรรม โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้

    ด้านนายพรชัย รุจิประภา รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวเสริมว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติงบประมาณโครงการนำร่องเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยเป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง 4 กระทรวง คือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้นประมาณ 3,700 ล้านบาท

     นอกจากนี้ ที่ประชุมได้พิจารณาการดำเนินงานของคณะทำงานติดตามกฎหมายเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ซึ่งกฎหมายทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล กลุ่มสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และกลุ่มความมั่นคง ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าตามลำดับ

     อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!