WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ICTพรชยก.ไอซีที ปิ๊งไอเดียตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิทัล ชูมาตรการด้านสิทธิประโยชน์เป็นแม่เหล็กจูงใจนักลงทุนจากทั่วโลก

     กระทรวงไอซีที โชว์แนวคิดจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิทัล ชูมาตรการด้านสิทธิประโยชน์เป็นแม่เหล็ก ดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก สร้างรายได้เข้าประเทศไทย

   นายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในฐานะประธานคณะทำงานด้านการส่งเสริมการค้าผ่านสื่อดิจิทัล (Digital Commerce) การส่งเสริมธุรกิจเกิดใหม่ดิจิทัล (Digital Entrepreneur) และการส่งเสริมเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content) เปิดเผยว่า การส่งเสริมภาคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และการวางรากฐานเศรษฐกิจดิจิทัลที่ส่งผลต่อทุกภาคเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าและแข่งขันในโลกสมัยใหม่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังขาดมาตรการและสิทธิประโยชน์เฉพาะด้านที่จะดึงดูดการลงทุนจากบริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ชั้นนำจากต่างประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย และสิงคโปร์ ที่สำคัญคือ ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งจะส่งผลให้แนวโน้มการค้า บริการ และการเคลื่อนย้ายทรัพยากรมนุษย์ในอาเซียนและระหว่างภูมิภาคเป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น ประเทศไทยจึงควรใช้ประโยชน์จากโอกาสดังกล่าว กระทรวงไอซีที

    โดยสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA ได้เสนอกรอบแนวคิดในการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1.สร้างระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรมการบริการดิจิทัล 2.ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลอย่างเป็นรูปธรรม 3.เป็นศูนย์กลางการบริการดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนและเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงสู่สากล 4.ดึงดูดให้นักลงทุนจากทั่วโลกเข้ามาลงทุนในประเทศ และ 5.เป็นการสร้างโอกาสการเรียนรู้และถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญทั่วโลก ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการและให้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในลำดับต่อไป

     ทั้งนี้ ลักษณะเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิทัล ประกอบด้วย การให้สิทธิประโยชน์พิเศษด้วยมาตรการต่างๆ เช่น การลงทุน ภาษี และแรงงาน มีโครงสร้างพื้นฐานที่มีเสถียรภาพรองรับการพัฒนาและให้บริการดิจิทัล มีทรัพยากรที่ทันสมัย เอื้อต่อการทำงานและรองรับนักพัฒนานวัตกรรมจากทั่วโลก มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันระหว่างนักลงทุน ผู้ประกอบการ นักพัฒนา และชุมชน มีระบบสนับสนุนเพื่ออำนวยความสะดวกและรองรับการดำเนินธุรกิจครบวงจรสำหรับนักลงทุนและพัฒนาทั่วโลก และมีศูนย์ทดสอบรับรองการผลิตและบริการที่ได้มาตรฐานในระดับสากล เป็นต้น

    “กฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ในการดำเนินการภาคเศรษฐกิจของไทยมีข้อจำกัดด้านการลงทุนจากต่างประเทศ ทำให้สูญเสียโอกาสและรายได้จำนวนมากที่จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งยังขาดความชัดเจนในการกำหนดพื้นที่พิเศษเพื่อพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจในการพัฒนาประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการและนักลงทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศขาดมาตรการและสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน ดังนั้น การเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษดิจิทัลจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มโอกาสการลงทุนและสร้างรายได้จากนักลงทุนต่างประเทศให้กับประเทศไทย” นายพรชัยฯ กล่าว

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!