WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

เทคโนโลยีการจัดการฝูงชนเบียดอัด (Crowd Management) และพาชีวิตรอดปลอดภัย...ไม่ซ้ำรอยอิแทวอน

          หลังยุคโควิด ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังก้าวย่างสู่ช่วงเทศกาลประเพณีและงานรื่นเริงเฉลิมฉลองของประชาชน และยังเป็นช่วงไฮซีซั่นของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สนามบินสุวรรณภูมิแน่นขนัดด้วยนักท่องเที่ยวขาเข้าที่มุ่งมาเที่ยวไทย เวลานี้มองทางไหนก็เต็มไปด้วยสีสันมีชีวิตชีวาของโรงแรม ร้านค้าและกิจกรรม ส่งสัญญาณความคึกคักทางเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว

          นับจากนี้ต่อจากเทศกาลลอยกระทง เทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ เทศกาลตรุษจีน วาเลนไทน์ จนถึงงานประเพณีสงกรานต์ รวมทั้งการจัดอีเว้นท์ขนาดใหญ่กำลังจะกลับมา เช่น คอนเสิร์ตขนาดใหญ่ เทศกาลดนตรี การจัดแข่งขันกีฬา เนื่องจากประเทศไทยเป็นจุดหมายทางการตลาดและฐานแฟนคลับของศิลปินและนักกีฬานานาประเทศ ยังไม่รวมงานประเพณีท้องถิ่น จึงมีคำถามว่า เราจะจัดการฝูงชนให้ปลอดภัยอย่างไร? คณะวิศวกรรมศาสตร์ .มหิดล มีข้อเสนอแนะ เพื่อมิให้ซ้ำรอยโศกนาฏกรรมอิแทวอน ในเกาหลีใต้ที่เป็นข่าวสะเทือนใจคนทั่วโลก

 

11352 MahidolEG ผศดร วรากร ดร สุพรรณ

ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข และ ดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร

 

          ผศ.ดร.วรากร เจริญสุข รักษาการหัวหน้าภาควิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ .มหิดล กล่าวว่า งานรื่นเริงฉลอง Halloween คืนวันที่ 29 ตุลาคม 2565 ในย่านบันเทิงอิแทวอนประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งได้ผ่อนคลายมาตรการไม่บังคับสวมหน้ากากอนามัยครั้งแรกหลังจากระยะ 2 ปีของวิกฤติโควิด-19 ทำให้ผู้คนกว่า 1 แสนคน ทะลักเข้าสู่ย่านอิแทวอน และกลายเป็นฝูงชนเบียดอัด ที่เรียกว่า Crowd Crush หรือ Crowd Surge บริเวณจุดที่เกิดเหตุที่สามแยกในซอยแคบซึ่งเป็นทางลาด กว้างเพียง 4 เมตร ยาว 40 เมตร ใกล้สถานีรถไฟใต้ดินอิแทวอน แรงผลักดันของฝูงชนทำให้ผู้ประสบเหตุถูกเบียดอัดแขน ขา ร่างล็อคติดแน่นจากการล้มทับกันเป็นโดมิโน เสียชีวิตกว่า 150 ราย จากภาวะขาดออกซิเจนโดยทรวงอกถูกกดทับ (Compressive Asphyxia) หรืออัดกำแพงทำให้ทรวงอกขยายไม่ได้จึงหายใจเข้าออกไม่ได้ ไม่ใช่การตายจากวิ่งหนีเหยียบทับกัน (Stampede) 

 

11352 MahidolEG01

 

          ข้อแนะนำสำหรับผู้มางานอีเว้นท์ขนาดใหญ่

          • สังเกตและจดจำทางเข้า-ออกมีกี่ทาง และจุดอื่นๆ ที่ช่วยเพิ่มโอกาสรอด เช่น พื้นที่สูงที่สามารถปีนได้ นึกถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมนั้นเสมอ

          • หากรู้สึกไม่ปลอดภัย ให้หาทางถอยออกจากเหตุการณ์นั้น ไม่ดันทุรังเดินหน้าต่อ ซึ่งอาจจะทำให้ถลำและหนีออกมาไม่ได้

          • เมื่อรู้สึกว่าคนเริ่มแน่น จนเราไม่สามารถยกมือขึ้นจากข้างลำตัวมาแตะที่ใบหน้าเราเองได้ เป็นตัวบ่งชี้ว่าเสี่ยงที่จะเกิด Crowd Crushได้ ยิ่งหากมีการดันก็จะล้มทับต่อกันเป็นโดมิโนได้

          • ให้มีสติเสมอ อย่าเมามายจนเกินไป และไม่ตื่นตระหนก

          • ในฝูงชนที่เริ่มแน่น ให้ยืนแยกขาออกห่างอย่างมั่นคง ยกแขนขึ้นในท่าตั้งการ์ดของนักมวยเพื่อให้มีช่องว่างด้านข้างตัวและด้านหน้าทรวงอกป้องกันแรงปะทะ เพื่อให้กล้ามเนื้อกระบังลมและปอดยังทำงานได้

          • เลี่ยงหิ้วของพะรุงพะรัง ในช่วงวิกฤติให้รักษาชีวิตสำคัญกว่าสิ่งของที่ตกพื้น หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้บริเวณกำแพง รั้ว หรือเสา เพราะอาจโดนแรงอัดอย่างรุนแรงได้

          • อย่าสวนแรงฝูงชนที่ถาโถม หรือพุ่งไปด้านหน้าตรงๆ เพราะอาจถูกแรงกระทำให้ล้มได้ วิธีที่ถูกต้องคือ เคลื่อนที่เป็นแนวทแยงเฉียงออกจากศูนย์กลางของแรงไปด้านข้าง

          • เคลื่อนไหวและล้มให้ถูกวิธี เมื่อล้มลงอย่าแผ่ตัวนอนคว่ำ หรือนอนหงายเพราะน้ำหนักอีกหลายคนที่อาจจะทับตัวเราจะอัดอวัยวะร่างกายจนทำงานไม่ได้ โดยให้นอนตะแคงงอเข่าในท่าคุดคู้ มือป้องศีรษะให้ศอกกับเข่าติดกัน เพื่อป้องกันการกระแทกและยังพอมีช่องว่างให้หายใจ

 

11352 MahidolEG02

 

          ด้าน ดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า แม้เป็นงานที่ไม่มีเจ้าภาพผู้จัดงาน แต่เมื่อเกิดเหตุขึ้น นายกเทศมนตรีท้องถิ่นหรือผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นย่อมปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ หลักการในการจัดการฝูงชน (Crowd Management) ตามมาตรฐานสากลของ National Fire Protection Association (NFPA)’s 101 Life Safety Code กำหนดนิยาม ความหนาแน่นของสถานที่ (Congestion) จะเกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณคนตั้งแต่ 2 คนต่อตารางเมตร หากมีมากกว่า 6 คนต่อตารางเมตร ก็เสี่ยงที่จะเกิดฝูงชนเบียดอัด Crowd Crush ได้ดังในเหตุการณ์ที่อิแทวอน

          ดังนั้นผู้จัดงาน หน่วยงานท้องถิ่น/ จังหวัดจะต้องมีการวางแผนปฏิบัติการ ร่วมกัน กำหนดหน้าที่ให้ชัดเจนและวางบุคลากรเจ้าหน้าที่สำหรับอำนวยความสะดวกและควบคุมความสงบเรียบร้อยของฝูงชน (Crowd Manager) ในอัตราส่วน 250 คนต่อเจ้าหน้าที่ 1 นาย หรือกรณีผู้มางานกว่า 100,000 คนในงาน จะต้องมีเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 400 คน แต่ช่วงเกิดเหตุในอิแทวอน คืนนั้นมีตำรวจเพียง 137 นาย ซึ่งมุ่งระวังเพียงปัญหาอาชญากรรม และยาเสพติด โดยไม่ได้เตรียมพร้อมการควบคุมฝูงชน หรือจำกัดจำนวนและทิศทางคนที่จะเข้าไปยังจุดเสี่ยงแต่อย่างใด

 

          ข้อแนะนำแก่ผู้จัดงาน ควรเตรียมความพร้อม ดังนี้

          1. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) ก่อนงานต้องมีการวิเคราะห์คาดการณ์เพื่อเตรียมงานล่วงหน้า สำรวจภูมิทัศน์และจุดที่อาจเกิดความเสี่ยงของอุบัติเหตุ, การเตรียมทางเข้า-ออกหลักและทางออกฉุกเฉิน, การติดตั้งป้ายสัญญาณภาษาต่างๆ, การให้ความรู้เรื่องการ CPR ที่ถูกต้อง, การเตรียมเจ้าหน้าที่คอยควบคุมจำนวนคนที่บริเวณจุดเสี่ยง ซึ่งสามารถประเมินจากข้อมูลในอดีตโดยอาจบวกเพิ่มเนื่องจากสถานการณ์โควิดเริ่มผ่อนคลาย

          2. แผนรับมือเหตุฉุกเฉิน (Emergency Plan) เหตุฉุกเฉินต้องมีแผนรองรับและไม่ให้คนในฝูงชนเกิดแตกตื่นโกลาหล, การแจ้งเตือนเช่น Line Alert เตือนเหตุหรือข่าวสารฉุกเฉินเพื่อประชาชนรับทราบอย่างทันท่วงที ไม่เดินไปยังจุดที่เสี่ยง การแจ้งเตือนไม่ให้คนที่มาใหม่เข้าไปเติมอีก เพื่อลดความหนาแน่น

 

11352 Crowd Management

 

          3. เลือกใช้เทคโนโลยีในการจัดการฝูงชน Crowd Management อย่างเหมาะสม ทั้งระบบ Security และ Monitor เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ IoT ระแวดระวังเหตุ เช่น ให้ผู้มาร่วมงานดาวน์โหลด Application ของงานหรือลงทะเบียนทราบประวัติสุขภาพของแต่ละคนล่วงหน้า, การจัดที่นั่งแบบระบุหมายเลขและโซน จะลดการวิ่งกรูของฝูงชนเข้าเพื่อแย่งชิงที่นั่งดีๆ ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้, การผูก tag/RFID ที่ข้อมือทุกคนที่เข้าร่วมงานเพื่อสามารถระบุตำแหน่ง และสามารถวัดปริมาณความหนาแน่นของแต่ละพื้นที่ไม่ให้เกินจุดปลอดภัย, การตรวจว่าจุดใดมีคนหนาแน่นเกินขีดอันตรายอาจตรวจสอบได้จากข้อมูลเครือข่ายมือถือ คล้ายการดูข้อมูลรถติดจาก Google Map ประชาชนมักมี Smart Phone ติดตัว ในงานอีเว้นท์ซึ่งไม่มีเจ้าภาพ ทางท้องถิ่นหรือจังหวัดอาจใช้ Application ของท้องถิ่นนั้นให้ข้อมูลของอีเว้นท์ แจ้งแผนที่ที่คนแน่นเกินขีดจำกัด, การแสดงภาพ CCTV, ภาพจากโดรน แบบ Real-Time บริเวณงานและวิเคราะห์จุดเสี่ยง

          4. ควรจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุฉุกเฉิน (Emergency/Safety Commander) จากทีมที่มีประสบการณ์ มีความรู้ มีอำนาจเต็มในการควบคุมสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อความปลอดภัย จะทำให้เกิดการประสานงานและทำงานที่ถูกหลักวิชาการ การรอเจ้าหน้าที่รายงานขึ้นไปเพื่อให้นายกหรือผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการลงมาอาจไม่ทันการณ์และอาจไม่มีความรู้ประสบการณ์ในการควบคุมสถานการณ์เพื่อความปลอดภัยที่ถูกต้อง

          5. เตรียมความพร้อมของหน่วยรถพยาบาล เครื่องมือแพทย์ เครื่องมือดับเพลิง เจ้าหน้าที่คอยควบคุม และประสานงานระหว่างประชาชน สมาคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัย ลดต้นเหตุของอุบัติภัย ที่นำมาซึ่งความสูญเสียที่เรียกคืนมาไม่ได้

 

A11352

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!