- Details
- Category: การศึกษา
- Published: Friday, 01 March 2024 16:33
- Hits: 11653
‘ศุภมาส’ มอบ วว. - มรภ. อุดรธานี พัฒนาเชิงพื้นที่ภาคอีสานตอนบนด้วย วทน. อย่างครบวงจร ตามมาตรฐานสากล ขับเคลื่อนโครงการ Quick win ภูมิภาค : Up-Skill Re-Skill พัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงของ อว.
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ( วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ลงนามความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพื่อพัฒนาเชิงพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและจังหวัดอุดรธานี มุ่งเสริมสร้างความร่วมมืออย่างบูรณาการของทั้งสองหน่วยงาน รวมทั้งภาครัฐ/ เอกชนตามยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาลและนโยบาย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. “วิจัย-นวัตกรรมดี ตอบโจทย์ ตรงความต้องการ” สนับสนุน ส่งเสริม และเสริมสร้างความเข้มแข็ง ยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนและสังคมสู่ความยั่งยืน มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติ การท่องเที่ยว สินค้าท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ร่วมพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นหรือหลักสูตร Non degree เฉพาะทาง เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนากำลังคนของจังหวัดและอุตสาหกรรมในพื้นที่ รวมทั้งจัดทำแผนพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อรองรับงานพืชสวนโลกในปี 2569 โดยมีระยะเวลาความร่วมมือ 3 ปี ในการนี้ ดร.จิตรา ชัยวิมล รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม วว. และ ดร.เอกราช ดีนาง รองอธิการบดี มรภ. อุดรธานี ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยมีคณะผู้บริหาร บุคลากรทั้งสองหน่วยงานร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดี ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุมอาคาร 17 มรภ. อุดรธานี
โอกาสเดียวกันนี้ วว. และ มรภ.อุดรธานี ร่วมจัดฝึกอบรมระยะสั้น “โครงการ Quick win : Up-Skill Re-Skill พัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงของ อว.” ภูมิภาค จำนวน 6 หลักสูตร เพื่อรองรับอุตสาหกรรมและธุรกิจในพื้นที่ ซึ่งเป็นการต่อยอดดำเนินโครงการฯ จากกรุงเทพมหานคร ผลการดำเนินงานทั้งสองแห่งมีผู้ประกอบการ บุคลากรภาครัฐ/เอกชนเข้าร่วมอบรมกว่า 1,100 คน โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิของ วว. ร่วมบรรยายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กว่า 20 ปี ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับใบประกาศนียบัตรจากกระทรวง อว. ด้วย
ทั้งนี้หลักสูตรฝึกอบรม ณ มรภ.อุดรธานี ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในการประกอบอาชีพ ด้านระบบมาตรฐานการบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและบริการให้เป็นไปตามมาตรฐานท่องเที่ยวไทย การจัดการด้านบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน รวมถึงนำความรู้ด้านมาตรฐานสากลไปพัฒนาระบบบริการจัดการผลิตภัณฑ์และบริการตามมาตรฐานสากลต่อไป
ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวถึงบทบาทขององค์กรภายใต้ความร่วมมือกับ มรภ.อุดรธานี ว่า วว. จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยขยายฐานการให้บริการลูกค้าด้าน วทน. ในพื้นที่อุตสาหกรรม ร่วมสร้างความตระหนักและการให้ความสำคัญกับงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม แก่ประชาชน ผู้ประกอบการ และอุตสาหกรรมในส่วนภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังจะช่วยกำหนดนโยบาย ทิศทาง ราคาและกลุ่มลูกค้าบริการอุตสาหกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแผนและระบบการให้บริการด้าน วทน. ของประเทศ ซึ่ง มรภ.อุดรธานี ในฐานะเจ้าบ้านนั้นจะช่วยขยายฐานลูกค้าและเพิ่มศักยภาพเป็นจุดเชื่อมโยงการใช้ประโยชน์ด้าน วทน. ในพื้นที่ เพื่อให้ มรภ. เป็นหน่วยงานให้บริการพื้นที่แบบครบวงจร ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่น ด้านคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ให้แก่ผู้บริโภคหรือผู้ขอรับบริการในพื้นที่ อันจะส่งผลต่อการเติบโตในภาคการผลิตระดับอุตสาหกรรม SMEs และภาคครัวเรือน ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาใหักับพื้นที่ได้ครบทุกมิติ เพื่อให้เกิดความมั่นคงยั่งยืนในระยะยาว
“...ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประชากรสูงสุดของประเทศ มีโครงสร้างของประชากรที่มีความหลากหลาย มีความแตกต่างกันระหว่างรายได้สูง อีกทั้งมีทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ป่าไม้ พื้นที่เกษตร จำนวนมาก รวมทั้งมีขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์และโดดเด่น ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบได้อย่างมาก ในการนำ วทน.ไปใช้ประโยชน์ร่วมด้วย ทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบโจทย์ให้กับพื้นที่ ผู้ประกอบการ หรือหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ วว. ในการสร้างความเข้มแข็งให้ ชุมชน SMEs และภาคอุตสาหกรรม ผ่านระบบนิเวศนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี อย่างยั่งยืน ทั้งนี้พันธมิตรเป็นข้อต่อสำคัญในการทำงานเชิงพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ...” ผู้ว่าการ วว. กล่าวสรุป
ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กล่าวว่า มรภ.อุดรธานี มุ่งเป็นศูนย์กลางการศึกษาและวิจัย ผลิตบัณฑิตจิตอาสา พัฒนาท้องถิ่นที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ ศิลปวิทยา เพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน มีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ภายใต้ความร่วมมือกับ วว. นั้น จะนำความรู้ไปยกระดับและเสริมสร้างพัฒนาทักษะของบุคลากรในระดับสากลต่อไป รวมทั้งนำไปตอบโจทย์การลงทุนของภาคการผลิตอุตสาหกรรม และต่อยอดสู่การพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนต่อไป
3024