WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

7825 วว

วว. ผนึกกำลัง มรภ.เพชรบุรี พัฒนา วทน. ด้านเทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าพืชผลเกษตร-สร้างระบบนิเวศงานวิจัย

          เมื่อวันที่ 26 ก.ค. 2567 ณ ห้องประชุมราชภัฏสภา อาคารวิทยาภิรมย์ ชั้น 9 มรภ.เพชรบุรี กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และ ผศ.ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ด้านเทคโนโลยีการเพิ่มมูลค่าพืชผลเกษตร” โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี เพื่อสนับสนุนการเสริมองค์ความรู้ ขยายผลความรู้ไปเป็นงานวิจัยและพื้นที่ต่างๆ ในรูปแบบหลักสูตรของมหาวิทยาลัยแบบ non credit หรือหลักสูตรระยะสั้น (Short term training) อันจะนำไปสู่การสร้างระบบนิเวศงานวิจัยเชิงพาณิชย์ ขับเคลื่อนด้านเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตรของพื้นที่ เกษตรกรมีศักยภาพเพิ่มผลิตภาพในการผลิต (Productivity) สร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันอย่างยั่งยืน

          โอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก นายภคพัส ส่งวัฒนายุทธ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี รศ.ดร.พัชรศักดิ์ อาลัย รองอธิการบดีด้านยุทธศาสตร์การวิจัย นวัตกรรม นโยบายและแผน มรภ.เพชรบุรี นางศิรินันท์ ทับทิมเทศ นักบริหารพิเศษและรักษาการในตำแหน่ง ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมอาหารสุขภาพ ดร.รจนา ตั้งกุลบริบูรณ์ ผอ.ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ดร.บุณณนิดา โสดา ผอ. กองวิเทศสัมพันธ์ คณะผู้บริหารและบุคลากรทั้งสองหน่วยงาน ร่วมแสดงความยินดีด้วย 

          ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ความร่วมมือของทั้งสองหน่วยงาน ป็นผลสืบเนื่องจากความพร้อมของ วว. คือ 1) บุคลากรหรือนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ 2) เทคโนโลยีพร้อมใช้ด้านการเกษตร (Ready tech) และ 3) โครงสร้างพื้นฐานด้านการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ในการเพิ่มผลิตภาพด้านสับปะรด ดังนั้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความพร้อมดังกล่าว วว. ในฐานะหน่วยงานวิจัย จึงประสงค์แสวงหาหน่วยงานความร่วมมือและผู้ใช้ประโยชน์ เพื่อสร้างระบบนิเวศงานวิจัยเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยในพื้นที่ ซึ่งมีความพร้อมในการใช้ประโยชน์หรือขยายผลงานวิจัยนำไปขับเคลื่อนงานด้านการเกษตรหรืออุตสาหกรรมการเกษตรของพื้นที่ ซึ่งอุตสาหกรรมเกษตรถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้เข้าประเทศและเป็นอาชีพรากฐานของเศรษฐกิจประเทศมาอย่างยาวนาน 

          “...หากยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมเกษตรดังกล่าว ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการเกษตร ให้เหมาะสมและใช้นวัตกรรมหนุนเสริม จะทำให้เกษตรกรมีศักยภาพการเพิ่มผลิตภาพในการผลิต (Productivity) ซึ่งจะสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่มีสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับประเทศไทย โดยเฉพาะประเทศ เวียดนาม ฟิลิปินส์ และอินโดนีเชีย ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่าทุกประเทศต้องใช้นวัตกรรมในการแข่งขันโดยทั้งสิ้น เพราะนวัตกรรมทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ดีที่มีจุดเด่น ลดความเสียหาย และลดต้นทุน เพิ่มปริมาณผลผลิต ซึ่งจะสามารถสร้างรายได้เข้ามายังประเทศและตัวเกษตรกรตามมา...” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

          ดร.ชุติมาฯ กล่าวต่อว่า พื้นที่จังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ มีผลผลิตเกษตรเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยเฉพาะ “สับปะรด” ที่มีการปลูกในรูปแบบพืชอุตสาหกรรมหรือพืชไร่ ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องใช้นวัตกรรมเป็นอย่างมาก โดย วว. มีโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ คือ ศูนย์การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพิ่มผลผลิตภาพและมูลค่าพืชไร่ชุมชน (สับปะรด) ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลอ่าวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ วว. จึงมีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการวิจัยในการเพิ่มผลผลิตและผลิตภาพของสับปะรด ให้กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้ที่ประสงค์ต้องการใช้ประโยชน์เชิงอุตสาหกรรม ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาในพื้นที่มีความยั่งยืน วว. จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เข้ามาเป็นพันธมิตรในการดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนการเสริมองค์ความรู้ หรือขยายผลความรู้ไปเป็นงานวิจัยและนำไปสู่พื้นที่ต่างๆ ในรูปแบบของหลักสูตรของมหาวิทยาลัยแบบ non credit หรือหลักสูตรระยะสั้น (Short term training) เช่น เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และการอนุบาลต้นกล้า เทคโนโลยีการผลิตและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อการส่งออก รวมทั้งเทคโนโลยีการเพิ่มมูลค่าสับปะรด เป็นต้น ซึ่งถือเป็นวัตถุประสงค์หลักในการลงนามในครั้งนี้ เพื่อให้เกษตรกรวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการมีหน่วยงานที่ปรึกษาด้านการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งสนับสนุนการแก้ไขปัญหาหรือเป็นช่องทางให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มแต้มต่อในการผลิตและร่นระยะทางในการประสบความสำเร็จได้เร็วขึ้น เปลี่ยนเกษตรกรให้เป็น Smart farmer หรือเป็นผู้ประกอบการ/นักธุรกิจในพื้นที่ เป็นการใช้นวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลง คน พื้นที่ ผลผลิต ซึ่งจะเป็นการนำวิทยาศาสตร์เข้าไปใช้ในการพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างแท้จริง

          ผศ. ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กล่าวว่า มรภ. เพชรบุรี มุ่งมั่นเป็น มหาวิทยาลัยชั้นนำด้านอาหาร การท่องเที่ยว และวิทยาการสุขภาพ ภายใต้ความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล ด้วยการบูรณาการศาสตร์ เพื่อพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยมีพันธกิจที่สำคัญหนึ่งก็คือ วิจัยสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์ มุ่งเน้นการบูรณาการ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศอย่างแท้จริงเป็นรูปธรรม แก้ปัญหาเชิงพื้นที่ให้เกิดการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ความมือร่วมมือกับ วว. ในครั้งนี้เชื่อมั่นว่าจะทำให้พี่น้องเกษตรกร ผู้ประกอบการ เข้มแข็งมีศํกยภาพการแข่งขันที่ยั่งยืน

 

 

7825

Click Donate Support Web 

TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!