WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aนวตกร

สจล.สร้างนวัตกรรมทางการแพทย์ พร้อมเป็นสถาบันบ่มเพาะแพทย์นวัตกร

     สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) คิดค้นวัตกรรมทางการแพทย์ โชว์ศักยภาพการผสานความรู้ด้านวิศวกรรม การแพทย์ และการสร้างสรรค์นวัตกรรม สนับสนุนเป้าหมายการเป็นศูนย์กลางการสร้างแพทย์นวัตกรเพื่ออนาคต

     ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการพัฒนาด้านการแพทย์ และสาธารณสุขที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่ดูแลประชาชนกว่า 60 ล้านคนอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดีการที่ต้องรองรับการเปลี่ยนแปลงของประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงวัยที่จะมีการเจ็บป่วยมากขึ้น รวมถึงเราเป็นประเทศเปิดที่มีผู้มาเยือนมากกว่า 25 ล้านคนต่อปี การพึ่งพาการนำเข้าอุปกรณ์และวัสดุทางการแพทย์ต่างๆ จะเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่สำคัญในอนาคตของไทย

     สจล. ได้ริเริ่มเตรียมความพร้อมให้กับวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่กำลังจะเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติในปีการศึกษา 2561 จึงมอบหมายให้สำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมสจล. ที่มีผลงานเด่นในการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากทั้งทางด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มาร่วมบูรณาการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหลัก คือ

·      ส่งเสริมศักยภาพการผลิตแพทย์ระดับโลก (Global doctors) ที่มีความรู้เชิงวิชาการ ทั้งในด้านการรักษาโรคเฉพาะทางและศักยภาพด้านการวิจัย และพัฒนาด้านการแพทย์และสาธารณสุข

·      สร้างนวัตกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ตองสนองทั้งแพทย์ และผู้ป่วยทั้งของวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติสจล. และโรงพยาบาลในประเทศ

·       การเป็นศูนย์กลางการพัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ยั่งยืนและครบวงจร เป็นแหล่งข้อมูลด้านสิทธิบัตรและส่งเสริมการผลิตเชิงพาณิชย์

      ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ กล่าวเสริมว่า วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติสจล. จะได้สร้างเครือข่ายกับศูนย์การแพทย์และโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อบูรณาการความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีให้และสร้างตระหนักถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหากประเทศไทยมีอุปกรณ์ที่ผลิตในประเทศเพิ่มมากขึ้น

     รองศาสตราจารย์ ดร.อิทธิพล แจ้งชัด ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม สจล. กล่าวเสริมว่า การพัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ของสจล. จะต้องสร้างความยั่งยืนของประเทศไปพร้อมกัน เรามุ่งเน้นให้เพิ่มการใช้วัตถุดิบที่ประเทศไทยมีอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้ส่วนผสมของยางพาราธรรมชาติเพื่อการผลิตอุปกรณ์ทั้งที่เป็นวัสดุสิ้นเปลืองในงานสาธารณสุข เช่น ถุงมือ สายน้ำเกลือชุดฉีดยา และอุปกรณ์ช่วยการตรวจรักษา

     การนำยางพารามาใช้ในการพัฒนา และผลิตอุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลืองทางการการแพทย์ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ยางพาราได้เป็นอย่างดี  โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยส่งออกยางพาราไปต่างประเทศในรูปแบบยางดิบคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 87% ของผลผลิตยางพาราทั้งหมด ส่วนผลิตสินค้าแปรรูปจากยาง เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์และอุปกรณ์ทางการแพทย์รวมถึงของใช้ต่างๆ คิดเป็นสัดส่วน 13% แต่รายได้จากยางแปรรูปมีมูลค่าเท่าเทียมกันกับการส่งออกยางดิบ การพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ยางพารา นอกจากจะเป็นการสร้างรายได้เพิ่มให้แก่อุตสาหกรรมยางพาราแล้ว ยังช่วยลดการนำเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศ

     “สจล. เล็งเห็นประโยชน์ในข้อนี้มานาน และได้มีโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากยางพาราที่มีคุณภาพ จนเป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ต้นแบบหลายโครงการ  อาทิ โครงการแบบจำลองฝึกตรวจมะเร็งเต้านมจากโฟมยางธรรมชาติ ที่ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ได้เรียน และประชาชนทั่วไปสามารถฝึกและตรวจเต้านมได้ด้วยตนเองเพื่อเป็นการคัดกรองโรคในเบื้องต้นและเต้านมเทียม ที่มีการผสมผสานยางพาราและซิลิโคนที่ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความคล้ายคลึงกับธรรมชาติมากที่สุด ช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นรองศาสตราจารย์ ดร.อิทธิพลกล่าว

      นอกจากนี้สจล. ยังได้พัฒนานวัตกรรมอีกหลายชิ้นงานที่ปัจจุบันได้มีการใช้งานจริงในโรงพยาบาลของรัฐหลายแห่ง ได้แก่ อัลบูมินสมาร์ทเทสท์’นวัตกรรมชุดทดสอบภาคสนาม สำหรับตรวจอัลบูมินในปัสสาวะโดยใช้โทรศัพท์มือถือ ที่ให้ความสะดวกรวดเร็ว และแม่นยำไม่ต้องรอผลตรวจจากห้องปฏิบัติการ

      แอพพลิเคชั่นตรวจโรคหนังตาตก (iOS Application for Ptosis Diagnosis)

      โปรแกรมชุดฝึกกายภาพบำบัดมือและกล้ามเนื้อแขนในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยหรือผู้ที่มีปัญหาด้านกล้ามเนื้อมือและแขนสามารถฟื้นฟูกล้ามเนื้อได้ด้วยตนเองที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ

     ศาสตราจารย์ นายแพทย์อนันต์ ศรีเกียรติขจร รักษาการคณบดี วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวเสริมว่า ข้อดีของการมีวิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติในการช่วยการวิจัยพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ คือ เราสามารถทำงานผลงานวิจัยให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น เริ่มต้นจากการมีข้อมูลความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์มาเป็นโจทย์ตั้งต้นในกระบวนการวิจัย สามารถทดสอบประสิทธิภาพ เก็บข้อมูลสถิติการใช้งานของผลงานที่คิดค้นขึ้นเพื่อนำไปปรับปรุงให้เกิดเป็นชิ้นงานต้นแบบ (Prototypes) และส่งเสริมให้มีการจดเป็นสิทธิบัตรเพื่อให้นำผลงานต้นแบบนั้นๆ ไปผลิตและจำหน่ายทางธุรกิจได้จริง

       ทั้งนี้ ขอบเขตการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์การแพทย์ร่วมกับสำนักบริหารงานวิจัยและนวัตกรรมสจล. ดังกล่าวจะครอบคลุม 4 นวัตกรรมเป้าหมาย คือ นวัตกรรมช่วยการวินิจฉัยโรค  นวัตกรรมเพื่อการรักษา นวัตกรรมเพื่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย และนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนแพทยศาสตร์

     วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติสจล. ก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตแพทย์ที่เป็นนักสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและความเป็นจริงในประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาเทคโนโลยีและอุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศซึ่งมีมูลค่าสูงมาก รวมทั้งการเปิดสอนหลักสูตรภาษาอังกฤษ จะพัฒนาแพทย์ที่มีความเป็นนานาชาติสามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ เข้าใจบริบทวัฒนธรรมต่างประเทศ และมีความสามารถในด้านการวิจัยทางการแพทย์ โดยในระยะแรกจะเปิดรับสมัครนักศึกษาจำนวน 40 – 50 คน ในระบบรับตรงเข้าเรียนในหลักสูตรแพทยศาสตร์ การจัดการเรียนการสอนจะมีคณาจารย์ซึ่งเป็นแพทย์ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องทั้งชาวไทย และต่างประเทศ ที่มีประสบการณ์ในโรงพยาบาล หรือวิทยาลัยแพทย์ชั้นนำมาแล้ว ทั้งนี้นักศึกษาขึ้นชั้นปีที่ 4 จะเข้าศึกษาและฝึกภาคคลินิกในโรงพยาบาลสิรินธรและโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานครที่ตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสจล.

KMITL TO INCUBATE MEDICAL INNOVATORS MEDICAL INNOVATIONS IN FOCUS

       King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang (KMITL) showcases medical innovations developed by an integration of state-of-the-art engineering and medical knowledge with creativity. The innovations are major starting point for the institute to soon realize its goal to become Thailand’s medical innovator incubator.

        Prof. Dr. Suchatvee Suwansawat, KMITL’s President, said: “Thailand is known as the medical hub of the region with strong reputation in health and wellness service. As the country is becoming an ageing society in the near future, we foresee the rising demand for health and wellness services as well as medical treatment. Coupled with the fact that Thailand welcomes more than 25 million foreign visitors per year, the country has very high burden in taking good care of everyone’s health. This also brings the rise in expenses on medical equipment import.”

       To address this issue and help the country faces this challenge better, KMITL is preparing its KMITL International Medical College, which is scheduled for opening in 2018, to play an important role in supporting medical innovation development. KMITL has assigned the KMITL’s Research and Innovation Services Office, which has outstanding performance in medical equipment and innovation development project, to work closely with the medical college in integrating all knowledge and excellence, from biomedical engineering, engineering, architecture and science. The main objectives are:

·        Incubate 'global doctors' who have in-depth academic knowledge in general and specialized medicine as well as great research and development skill and medical healthcare innovation development

·        Promote medical innovation development that best address the needs of medical professionals, patients and hospitals

·        Become the center for medical equipment and innovation research and development as well as database about medical knowledge, patent and commercial production

      Prof. Dr. Suchatvee added:'The KMITL International Medical College will grow a network with other medical centers and hospitals in Bangkok to promote technological cooperation and realize the benefits for the country from local innovations.”

       Assoc. Prof. Dr. Ittipol Jangchud, Director of KMITL’s Research and Innovation Services, said: “KMITL has been working on medical innovations for some time as we are aware of our responsibility to support the national development sustainability. We have been trying to add value to the local raw materials and resources we have, especially bara rubber which has been used widely in public health sector for making gloves, injection set, diagnosis tools, etc.”

       Using bara rubber in medical equipment manufacture is an effective way to increase value for the local production. At present 87% of local bara rubber production is exported as raw rubber while 13% is used for producing other products, such as automotive parts and medical equipment. However, the value of both raw rubber for export and processed rubber products are equal, meaning that there is high potential for the country to generate more revenue by increasing the volume of processed rubber production as well as to reduce import burden on medical equipment.

    “KMITL has realized this for some time and been working continuously to improve bara rubber quality and find ways to create more value. This results in a series of medical equipment innovations, such as the rubber bust used for breast cancer diagnosis training for medical students and general public and artificial breasts that mix natural rubber and silicone to produce nearly natural breasts for breast cancer patients,” said Assoc. Prof. Ittipol.

      Other innovations jointly developed with leading public hospitals are

Albumin Smart Test kit

iOS Application for Ptosis Diagnosis

Rehabilitation kit for hand and arm muscles

      Prof. Dr. Anan Srikiatkachorn, Acting Dean, KMITL International Medical College, said: “The KMITL International Medical College will play a key role in such development by making the research process even more complete. We will help collect the real demand of patients and medical team which can be used as the starting point for innovation development. We can serve as a place where innovation is tested and collect statistics on actual implementation. We will then provide these statistics and observation during the test for the research team to use for improving the invention and to produce the prototype. We will support patent registration so that commercial production can be materialized.”

       The scope of innovation development will cover four target areas namely, diagnosis, treatment, rehabilitation and training innovations.

        KMITL International Medical College, with its goal to train medical innovators and medical practitioners, will play an important role in this medical innovation development process. This will enable the country to reduce national dependency on imported medical equipment and innovation. At the same time, graduates from the college will be ready to become “global doctor” with good English proficiency, positive attitude, good understanding of cultural sensitivities and research and innovation development skills. The college will initially open for 40-50 students and the courses are conducted by experienced doctors and academics in Thailand and other countries. The students will have clinical training at Sirindhorn Hospital and Lat Krabang Hospital under Bangkok Metropolitan Administration’s operations.

 

BSP

 

adsoptimal100

paidtoclick copy

 

  

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!