WORLD7

BANPU2024

smed PIONEER 720x100

 

 

MTI 720x100

 

 

ออมรอน เฮลธแคร์ นำเสนอแบบประเมินคำนวณความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง พร้อมคำแนะนำบนเว็บไซต์ออมรอน เพื่อช่วยคนไทยป้องกันโรคร้ายได้ด้วยตนเอง

 

10853 OMRON 01

          อรุชา พรหมยานนท์ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ สิงคโปร์ (ซ้าย); ยูซุเกะ คาโตะ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด (กลาง); ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข สังกัด หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ขวา)

 

          ออมรอน เฮลธแคร์ (OMRON Healthcare) บริษัทสาขาในประเทศไทยภายใต้บริษัทแม่ในญี่ปุ่นซึ่งเป็นผู้นำด้านอุปกรณ์การตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้าน ได้นำเสนอแบบประเมิน คำนวณความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Risk Calculator) บนเว็บไซต์ ซึ่งเป็นเครื่องมือออนไลน์อันเปี่ยมประสิทธิภาพซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองรายบุคคลโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีโอ๊กแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ โครงการส่งเสริมสุขภาพ ผ่านแบบประเมินความเสี่ยง เกิดจากความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหลอดเลือดสมองกว่า 300 คนจาก 102 ประเทศ จึงนับเป็นความร่วมมือทางการแพทย์ระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในสาขานี้

          แบบประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ถูกนำเสนอบนเว็บไซต์ของออมรอน เฮลธแคร์ ภายใต้แคมเปญ “Sleeves Up, Stroke Risk Down” เพื่อตอกย้ำความสำคัญของการเฝ้าสังเกตระดับความดันโลหิตและช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือนี้ช่วยให้ผู้คนเข้าใจถึงความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและส่งเสริมให้ทำการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านอย่างสม่ำเสมอ การศึกษาของออมรอน (ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 ถึงตุลาคม 2565) พบว่าการตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านเป็นประจำสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงได้ถึง 54% โครงการนี้ยังสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของบริษัทในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและสอดรับต่อแคมเปญ World Stroke Day ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนักรู้ทั่วโลกถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการป้องกันและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง

 

10853 OMRON 02

 

          โรคหลอดเลือดสมองเป็นภาวะโรครุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนหลายล้านคนทั่วโลก ซึ่งมักนำไปสู่ผลเสียที่ร้ายแรงในภายหลัง โรคหลอดเลือดสมองเกิดขึ้นเมื่อการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองเกิดการติดขัด ส่งผลให้เซลล์สมองตาย โดยอาจมีสาเหตจากการอุดตันของหลอดเลือด (หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน) หรือการแตกของหลอดเลือด (ภาวะหลอดเลือดสมองแตก) โดยรายงานล่าสุดของ Lancet Commission ระบุว่าโรคหลอดเลือดสมองอาจคร่าชีวิตผู้คนกว่า 10 ล้านคนต่อปีภายในปี 2593 โดยเพิ่มขึ้น 50% ในอีก 30 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ ยังแนะนำให้เห็นถึงความสำคัญของการควบคุมปัจจัยการใช้ชีวิตอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง เนื่องจากความพิการหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง มีผลกระทบต่อสุขภาพที่หนักหนาสาหัสมาก การไปพบแพทย์อย่างทันท่วงทันทีจึงเป็นสิ่งสำคัญเมื่อเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เพราะการดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะสามารถลดความเสียหายต่อสมองและเพิ่มโอกาสในการฟื้นตัวได้มากขึ้น 

          โรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตและความพิการในประเทศไทย ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2565 เผยถึงแนวโน้มที่น่าวิตกกังวลถึงอุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองที่สูงขึ้นจาก 278.49 ต่อประชากรแสนคนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในปี 2560 เพิ่มขึ้นเป็น 330.72 ต่อประชากรแสนคนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในปี 2565 ความชุกของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทยยังคงมีระดับค่อนข้างคงที่ที่ประมาณ 4% ตั้งแต่ปี 2557 ถึง 2561[1] ซึ่งรายงานของ Statista[2] ในปี 2564 ระบุว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงประมาณ 2.3 พันต่อประชากรแสนคนหรือคิดเป็นประมาณ 12.3 ล้านคน 

          โรคความดันโลหิตสูง (ภาวะความดันโลหิตสูงผิดปกติ) ซึ่งมักถูกเรียกว่า “นักฆ่าเงียบ[3]” ยังคงเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงระดับสูงของโรคหลอดเลือดสมอง รายงานของ Lancet ยังระบุว่าการให้ความสำคัญต่อการตรวจและควบคุมความดันโลหิตสูงตั้งแต่เนิ่นๆ ถือเป็นสิ่งที่แนะนำอย่างยิ่ง ให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองทั้งในระดับปฐมภูมิและทุติยภูมิ 

 

10853 OMRON 03

 

          ออมรอน เฮลธแคร์ ดำเนินการเชิงรุกเพื่อรับมือกับ “นักฆ่าเงียบ” รายนี้ ด้วยการนำเสนอแบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง เพื่อช่วยให้บุคคลสามารถประเมินความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของตนเองได้ในอีก 5 หรือ 10 ปีข้างหน้า การประเมินจะอ้างอิงจากชุดคำถามที่ผ่านการทดสอบทางวิทยาศาสตร์โดยครอบคลุมแง่มุมต่างๆ ของสุขภาพและการดำเนินชีวิต และเนื่องจากรูปแบบการรับประทานอาหาร กิจวัตร และการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมาก ดังนั้น การทำความเข้าใจความเสี่ยง และตรวจวัดความดันโลหิตที่บ้านอย่างสม่ำเสมอสามารถนำไปสู่การดูแลรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันให้ดีขึ้น และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพได้

          “ดังที่เรามักพูดกันบ่อยๆ ว่า ‘One small squeeze a day keeps the BIG stroke away!’ เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก ระหว่างการใช้ชีวิต ความดันโลหิตสูง และความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง การวัดความดันโลหิตที่บ้านและการประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและการดูแลค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลอย่างได้มีประสิทธิภาพ” ยูซุเกะ คาโตะ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าว

          “ฟีเจอร์การคำนวณความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองนี้ทำงานได้รวดเร็วและใช้ง่ายมาก หลังจากเราตอบคำถาม 20 ข้อสำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 20 ถึง 90 ปีขึ้นไป ก็สามารถดูความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 3 นาที นอกจากนี้ ฟีเจอร์ยังให้ข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับวิธีการลดโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย เพราะโรคนี้สามารถเกิดได้กับผู้คนทุกช่วงอายุและทุกเวลา แม้แต่ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำถึงปานกลางก็ตาม ดังนั้น การสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงและการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก” อรุชา พรหมยานนท์ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ออมรอน เฮลธแคร์ สิงคโปร์ กล่าว

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุรพันธ์ สิทธิสุข สังกัด หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เน้นย้ำถึงความสำคัญในการตรวจวัดความดันโลหิตเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองว่า “ความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคหลอดเลือดสมอง เนื่องจาก ทำให้ผนังหลอดเลือดแดงหนาตัวขึ้น เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและรูของหลอดเลือดแดงตีบแคบลง ก้อนไขมันที่ผนังหลอดเลือดเกิดการปริแตก เลือดไหลผ่านไม่สะดวกทำให้สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื้อสมองตาย หรือทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงมีเลือดออกในสมองซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นการตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำจะช่วยให้บุคคลสามารถตรวจพบความผิดปกติ และใช้แนวทางที่เหมาะสมเพื่อรักษาให้มีระดับความดันในช่วงที่ดีต่อสุขภาพได้ ขั้นตอนที่เรียบง่ายแต่สำคัญนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง”

          ผู้สนใจต้องการคำนวณความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง สามารถใช้งานได้ที่

https://www.omronhealthcare-ap.com/th/how-lower-blood-pressure-can-prevent-stroke

 

 

[1] https://www.nature.com/articles/s41598-021-96878-4.pdf

[2] https://www.statista.com/statistics/1104418/thailand-number-of-hypertension-patients/

[3] WHO, Scale-up efforts to prevent, detect and control hypertension

 

 

A10853

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

iconmotor

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!