WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aสงคมนมแม

กรมอนามัยผนึกกำลัง 4 ภาคี จัดงานรวมพลัง สร้างสังคมนมแม่ ให้ยั่งยืน

      กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ องค์กร Alive and Thrive องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงาน ‘รวมพลัง สร้างสังคมนมแม่ ให้ยั่งยืน’ ในวาระสัปดาห์นมแม่โลก 2560 พร้อมชู 3 ประเด็นหลัก 1.พรบ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 ประกาศบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2560 2. เส้นทางเพื่อช่วยแม่ให้นมแม่ได้สำเร็จ (Breaking the Barrier to Successful Breastfeeding) 3. ประกาศความพร้อมของภาคีเครือข่ายในการร่วมรณรงค์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วย ‘นมแม่ 1-6-2’ พร้อมทั้งมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ เพลง 'พลังรักนมแม่' ขับร้องโดย หนูน้อยนมแม่ ดญ.ภาวิดา พรวัฒนานุกูล หรือ งน้องใบพลู’ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ จากแชมป์เปี้ยนนมแม่ ในวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคม 2560 เวลา 13.00 – 16.00 น. ณ บริเวณชั้น 7 เซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

       นายแพทย์วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดี กรมอนามัย  เปิดเผยว่า ในปีนี้ ถือเป็นความสำเร็จในรอบ 36 ปี ที่การปกป้องให้เด็กไทยได้กินนมแม่เกิดขึ้นได้จริง จากการที่ พระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ. 2560 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นกฎหมายแล้วเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2560 นี่เป็นผลจากการรวมพลังของทุกภาคส่วน และ มีผู้นำที่ขับเคลื่อนนโยบายด้านสาธารณสุขอย่างเข้มแข็งอย่าง ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ชี้เป้าการปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จตาม ‘นมแม่ 1-6-2’

        แพทย์หญิง ศิริพร กัญชนะ ประธานมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย ผู้ร่วมจัดงานฯ กล่าวว่า ในวันที่ 1-7 สิงหาคมของทุกปี เป็นสัปดาห์นมแม่โลก ในปีนี้ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ องค์กร Alive and Thrive องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมรณรงค์การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีหน่วยงานที่ประสานการจัดงาน คือ องค์กรเครือข่ายพันธมิตรนมแม่โลก (World Alliance for Breastfeeding Action - WABA) ภายใต้แนวคิด ‘รวมพลัง สร้างสังคมนมแม่ ให้ยั่งยืน’ เป็นการรวมพลังทั้งภาคนโยบายจากหน่วยงานภาครัฐ อาทิ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน และโรงพยาบาลต่างๆ พลังของสถานที่ทำงาน – ภาครัฐและเอกชนที่มีนโยบายสนับสนุนมุมนมแม่และการลาคลอด 3 เดือนให้กับพนักงาน

      พลังขององค์กรในระดับส่วนกลางและระดับภูมิภาคที่ทำงานสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น การคิดค้นนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล คลินิคนมแม่ฯ พลังของภาคประชาชน ทั้งกลุ่มแม่อาสาในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด อสม. และ สมาชิกในครอบครัว โดยมีเป้าหมายเพื่อร่วมกันรวมพลังเป็นหนึ่งเดียว ให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เกิดความยั่งยืนในสังคมไทยตาม ทิศทางของกลยุทธ์การสื่อสารสู่สังคม’นมแม่ 1- 6-2’ แพทย์หญิง ศิริพร กล่าว

      ศาสตราจารย์ คลินิก แพทย์หญิงศิราภรณ์ สวัสดิวร เลขาธิการ ศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในส่วนของ ‘การปกป้อง’ ประเทศไทยได้มีพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ 2560 ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติไปเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 และ ประกาศบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา ไปเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2560

     “เมื่อกฎหมายประกาศบังคับใช้มีใจความสำคัญ คือ ห้ามโฆษณานมผงสำหรับทารกและอาหารเสริมทารก ห้ามบริษัททำการติดต่อกับหญิงตั้งครรภ์แม่และครอบครัว ฉลากนมผงสำหรับทารก นมผงสำหรับเด็กเล็กและอาหารเสริมสำหรับทารกต้องแตกต่างกันและต้องแตกต่างจากฉลากนมอื่นๆ ห้ามบริษัทจัดกิจกรรมอีเวนท์ หรือ การประชุมสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แม่ และบุคลากรสาธารณสุข โดย พรบ. นี้ เป็นกฎหมายห้ามโฆษณาอาหารทารก อายุ 0–12 เดือน ในส่วนอาหารเด็กเล็ก 1-3 ปี โฆษณาได้ แต่ต้องไม่เป็นการโฆษณาข้ามผลิตภัณฑ์ หรือ สื่อถึงอาหารทารก และห้ามไม่ให้มีการส่งเสริมการขายอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก” ศาสตราจารย์ คลินิก แพทย์หญิงศิราภรณ์ กล่าว

      จากข้อมูลรายงานการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย (MICS 5th by UNICEF – พ.ศ. 2558 – 2559) พบว่า แม่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ล้วนถึง 6 เดือน มีร้อยละ 23 แม่ที่สามารถให้นมแม่ได้ถึง 1 ปี มี ร้อยละ 33 แม่ที่สามารถให้นมลูกได้ถึง 2 ปี มีอัตราร้อยละ 16 อุปสรรคสำคัญที่แม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้สำเร็จ คือ การเริ่มต้นในโรงพยาบาล และ ระยะ 2 สัปดาห์แรก หลังจากที่แม่ออกจากโรงพยาบาลและกลับมาอยู่ที่บ้าน และอยู่ในชุมชน

       เส้นทางเพื่อช่วยให้แม่ให้นมแม่ได้สำเร็จ (Breaking the Barrier to Successful Breastfeeding) เริ่มจากโรงพยาบาล ไปสู่ชุมชน และครอบครัว ต้องให้การสนับสนุน ส่งเสริม และปกป้อง ให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างเต็มที่ ประกอบด้วย 6 ประเด็น คือ 1. ลงทุน 9 เดือน กำไรตลอดชีวิต 2. รู้ว่ามีน้อง ฝากท้องทันที 3. โฟเลต ไอโอดีน ธาตุเหล็ก สำคัญต่อลูกในท้อง 4. ชั่วโมงแรกที่ลูกเกิดบอกหมอ พยาบาล ช่วยนำลูกมาวางบนอกแม่ตั้งแต่ในห้องคลอด 5. วันแรกที่ลูกเกิดแยกแม่แยกลูกหลังคลอดไม่ดีนะ 6. น้ำนมมาแน่ถ้าแม่รู้และทำถูกวิธี

       แพทย์ศิริพัฒนา ศิริธนารัตนกุล ประธานคณะอนุกรรมการสื่อสาร มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวเสริมว่า งานสัปดาห์นมแม่ปีนี้ยังต้องการสื่อสาร ให้สังคมเข้าใจเรื่อง “นมแม่  1-6-2”

                1 คือ การเริ่มต้นให้ลูกดูดนมแม่ ภายใน  1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และ ให้แม่และลูกได้อยู่ด้วยกันตลอดตั้งแต่นั้น

                6 คือ การให้นมแม่อย่างเดียวใน  6 เดือนแรก โดยไม่ต้องให้น้ำหรืออาหารอื่น

                2 คือ การให้นมแม่ต่อเนื่องพร้อมให้อาหารตามวัย จนถึงอายุ  2 ปี หรือนานกว่านั้น

      นอกจากนี้ การรวมพลังเพื่อให้ทุกฝ่ายผนึกกำลังสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมไทย ในงานนี้ จึงสื่อสารโดยใช้เพลง 'พลังรักนมแม่' เป็นสื่อกลาง ขับร้องโดย ‘น้องใบพลู’ ด.ญ.ภาวิดา พรวัฒนานุกูล ตัวแทนของหนูน้อยนมแม่ที่กินนมแม่ถึงอายุ 5 ปี และมีความสามารถทางการร้องเพลง เคยขับร้องบทเพลง’ต้นไม้ของพ่อ’เพื่อถวายแด่ในหลวง รัชกาลที่ 9 เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2558 ผ่านทางสื่อออนไลน์ มีผู้เข้าชมรวมทุกโซเชียลมีเดีย 18 ล้านครั้ง  และ ขับร้องบทเพลง ‘ตามรอยพระราชา’ กับวงดุริยางค์เครื่องลมกรมพลศึกษา ในงานมหกรรมร้อยดวงใจ โยธวาทิตไทย น้อมสำนึกพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จ พระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2560 ณ สนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ

     นอกจากนี้ ภายในงาน ยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมายมาย อาทิ ร่วมพูดคุยหัวข้อ เอกสิทธิ์น้ำนมแม่ โดยรองอธิบดีกรมอนามัยและทีมงานกรมอนามัย, เสวนา นมแม่ดีต่อใจ โดยแชมป์เปี้ยนนมแม่ คุณ อลิซาเบธ แซดเลอร์ และพันโทหญิง วรางคณิต นันทนาสิทธิ์ (คุณแม่น้องใบพลู), ชมความสามารถหนูน้อยนมแม่ จาก น้องลิงค์ ด.ญ.ศิรินันท์ ตันติเวสส และกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมายมาย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!