WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ เสริมศักยภาพสตาร์ทอัพไทย เตรียมความพร้อมสู่ดิจิทัลอิโคโนมีและเออีซี

      นายธีรานิตย์ พงค์ทองเมือง รองประธานฝ่ายวิศวกรรม บริษัท นูนสวูน จำกัด และ นายเอกราช คงสว่างวงศา ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เดินหน้าสนับสนุนกลุ่มธุรกิจสตาร์ทอัพไอทีในประเทศไทยให้หันมาใช้บริการสนับสนุนและฟีเจอร์ต่างๆ ผ่าน “ไมโครซอฟท์ อาชัวร์” เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันเตรียมความพร้อมเข้าสู่ดิจิทัลอิโคโนมีและประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีที่กำลังจะมาถึงในปี 2558 ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ คือ บริการคลาวด์ที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ และยังเป็นบริการคลาวด์แพลตฟอร์มเพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับการจัดอันดับโดยการ์ทเนอร์ให้เป็นผู้นำด้านบริการด้านโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (infrastructure-as-a-service - IaaS) และบริการด้านแพลตฟอร์ม (platform-as-a-service - PaaS) นอกจากนี้ จากผลสำรวจล่าสุดโดยสถาบันไอเอ็มซี ประเทศไทย  ว่าด้วยความพร้อมด้านคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยปี 2557 ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ จัดเป็นบริการคลาวด์อันดับต้นๆ ที่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ใช้งานในประเทศไทย

      นางสาวสุชาลักษณ์ สรณานุสรณ์ ผู้จัดการอาวุโส กลุ่มธุรกิจสินค้าคลาวด์และเอ็นเตอร์ไพรส์ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กล่าวว่า “การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังจะมาถึง ได้มีการคาดการณ์ว่าการเติบโตของธุรกิจทางด้านไอทีจะช่วยผลักดันให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นในอุตสาหกรรม และจากรายงานของไอดีซี ในปี 2558 ตลาดคลาวด์คอมพิวติ้งในประเทศไทยน่าจะมีมูลค่าเติบโตเกินกว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 22,400 ล้านบาท) ไมโครซอฟท์ในฐานะที่เป็นผู้นำในด้านโซลูชั่นและบริการสำหรับองค์กร มีความพร้อมเต็มที่ในการสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพด้านไอทีในประเทศไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ดิจิทัลอิโคโนมี 

      ไมโครซอฟท์ได้ริเริ่มโครงการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น อิเมจิ้น คัพ(Imagine Cup) และ ดรีม สปาร์ค(DreamSpark) สำหรับการสนับสนุนกลุ่มนักเรียนและเยาวชน ไปจนถึง บิซสปาร์ค (BizSpark) และ บิซสปาร์ค พลัส (BizSpark Plus) สำหรับกลุ่มสตาร์ทอัพหน้าใหม่ ไมโครซอฟท์ให้ความสำคัญในการให้การสนับสนุนการสร้างและก่อให้เกิดการเติบโตของสตาร์ตอัพ อีโคซิสเต็ม ในประเทศไทย แบบองค์รวม ”

      นับแต่การเปิดตัวในปี 2553 ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ มีอัตราการเติบโตอย่างน้อย 3 เท่า เร็วกว่าอัตราการเติบโตของตลาดการให้บริการคลาวด์ IaaS และ PaaS ในเอเชียแปซิฟิก สำหรับประเทศไทย ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ เติบโตขึ้นสองเท่าจากจำนวนผู้ใช้บริการ 1,200 รายในเดือนธันวาคม 2556 มาเป็น 2,600 รายในปัจจุบัน ซึ่งได้ช่วยเสริมศักยภาพให้กับสตาร์ทอัพน้องใหม่สามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ในตลาดได้

ประโยชน์หลักที่จะได้รับจากการใช้งาน ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ ประกอบด้วย:

  • การปรับเลือกขนาดได้ ( เพื่อการเติบโตทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
  • ความคุ้มค่าในการลงทุน
  • การรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลในระดับที่สูง
  • ความเสถียรของระบบ ด้วยค่าอัพไทม์ขั้นต่ำที่ 99.95 เปอร์เซ็นต์
  • ความสามารถในการบริหารจัดการที่ดี
  • ความยืดหยุ่นในการใช้งาน ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ สนับสนุนเทคโนโลยีทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น โอเพ่นซอร์ซหรือเทคโนโลยีจากไมโครซอฟท์ นักธุรกิจสตาร์ทอัพและนักพัฒนาสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการสร้าง ติดตั้ง และบริหารจัดการ แอพลลิเคชั่น ในรูปแบบต่างๆ ที่ต้องการ
  • อาชัวร์ มาร์เก็ตเพลส (Azure Marketplace) ฟีเจอร์ใหม่สำหรับสตาร์ทอัพและนักพัฒนา ที่ช่วยสร้างเครือข่ายและเชื่อมโยงผู้ประกอบการ และผู้ใช้งานไมโครซอฟท์ อาชัวร์ จากที่ต่างๆ ทั่วโลก เป็นช่องทางแลกเปลี่ยนและนำเสนอนวัตกรรมต่างๆ ของเหล่าสตาร์ทอัพ ให้เป็นที่รู้จักในตลาด

ปัจจุบัน มีธุรกิจสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยที่ใช้งานไมโครซอฟท์ อาชัวร์ อาทิ

-บริษัทอุ๊คบี จำกัดผู้พัฒนาแพลตฟอร์มธุรกิจสิ่งพิมพ์ดิจิตอลบนโปรแกรมที่ชื่อ อุ๊คบี (Ookbee) บนระบบคลาวด์ ไมโครซอฟท์ อาชัวร์

-บริษัท บิลค์ ดอทคอม (Builk.com) ผู้ดำเนินธุรกิจให้บริการระบบการบริหารจัดการระยะเวลา ต้นทุน และคุณภาพ สำหรับผู้รับเหมาก่อสร้าง

-บริษัท บัซซี่บีส์ จำกัด (Buzzebees) ผู้นำด้านโซเซียล พรีวิเลจ แพลตฟอร์ม ในประเทศไทย ซึ่งกำลังขยายธุรกิจไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก

-บริษัท อีคาร์ทสตูดิโอ จำกัด (Ecartstudio) ผู้นำด้านการพัฒนา location-based information systemsในประเทศไทย

-บริษัท ซีแมนติก ทัช จำกัด (Semantic Touch)บริษัทซอฟท์แวร์ผู้สร้างแพลตฟอร์มออนไลน์มาร์เก็ตติ้งสำหรับเอสเอ็มอี ในปี 2555 บริษัทได้เริ่มพัฒนาเครื่องมือการทำตลาด อี-คอมเมิร์ซ ที่มีชื่อว่า เบนโตะเว็บ (BentoWeb) ที่ช่วยธุรกิจเอสเอ็มอีในการเริ่มต้นสร้างร้านค้าออนไลน์และบนเฟซบุ๊ค

-บริษัท นูนสวูน จำกัด (Noonswoon) สตาร์ทอัพไทยน้องใหม่มาแรง ผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่นหาคู่สำหรับคนโสด โดยแอพพลิเคชั่นนูนสวูนจะแนะนำคู่ที่เหมาะสมให้กับสมาชิก ได้ประทับใจ ทุกวัน เวลาเที่ยงตรง ปัจจุบันมีผู้ใช้งานมากกว่า 100,000 คน ทั่วภูมิภาคเอเชีย

“ในประเทศไทย มีจำนวนผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนสูงถึง 49 เปอร์เซ็นต์[1]  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสมหาศาลสำหรับสตาร์ทอัพในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ” นายกวิน อัศวานันท์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท นูนสวูน จำกัด กล่าว “ในขณะที่วงการสตาร์ทอัพในประเทศไทยมีความหลากหลายมาก ความท้าทายในการประสบความสำเร็จของสตาร์ทอัพส่วนใหญ่ คือ การขาดแคลนเงินทุนและโครงสร้างพื้นฐานด้านคลาวด์ที่ยัง   ไม่มั่นคงและน่าเชื่อถือมากพอ

หลังจากที่นูนสวูนได้รับรางวัล เอไอเอส เดอะ สตาร์ทอัพ ในปี 2556 เราได้รับการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์ ด้วยการให้ใช้งานไมโครซอฟท์ อาชัวร์ เป็นระยะเวลาหนึ่งปี ผ่านโครงการ บิซสปาร์ค พลัส ที่ช่วยให้เราสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นได้อย่างรวดเร็วและคุ้มค่าในการลงทุน ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้นูนสวูนประสบความสำเร็จในวันนี้ คือ คุณสมบัติที่โดดเด่นของไมโครซอฟท์อาชัวร์  ในเรื่องความเสถียรและการปรับเลือกขนาดได้ ที่ทำให้แอพพลิเคชั่นนูนสวูนมีความเสถียร และเรายังสามารถติดตั้งแอพบนแพลตฟอร์มที่เราเลือกใช้ได้ ความสามารถในการจัดการกับการใช้งานจำนวนมหาศาลในบางช่วงเวลาเป็นอีกหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่นำมาซึ่งความสำเร็จของ นูนสวูน ซึ่งไมโครซอฟท์ อาชัวร์ ทำให้เราจัดการกับเรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดี และสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจให้กับสมาชิกที่เข้ามาใช้งาน” นายกวิน กล่าวเสริม

       เพื่อเป็นการช่วยเหลือสตาร์ทอัพในการเริ่มต้นธุรกิจ  ไมโครซอฟท์ ได้ให้การสนับสนุนผ่านโครงการบิซสปาร์ค โครงการของไมโครซอฟท์ที่สนับสนุนซอฟต์แวร์ฟรี การให้ความช่วยเหลือต่างๆ รวมไปถึงการช่วยสร้างธุรกิจให้เป็นที่รู้จักในตลาด ซึ่งมีสตาร์ทอัพจำนวนกว่า 100,000 ราย จากมากกว่า 165 ประเทศทั่วโลก และมากกว่า 300 รายในประเทศไทย ที่เข้าร่วมโครงการบิซสปาร์ค โครงการนี้ช่วยให้สตาร์ทอัพสามารถเข้าถึงซอฟต์แวร์และการสนับสนุนต่างๆ ฟรีเป็นระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งยังช่วยสร้างธุรกิจให้เป็นที่รู้จัก

      สตาร์ทอัพที่เข้าร่วมโครงการบิซสปาร์คจะสามารถใช้งานไมโครซอฟท์ อาชัวร์ ได้ฟรี ที่มูลค่า 300,000 บาทต่อปี ในขณะที่สตาร์ทอัพในโครงการบิซสปาร์ค พลัส สามารถใช้งานได้ถึง 2 ล้านบาท ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ หยิบยื่นเทคโนโลยีและบริการคลาวด์ระดับองค์กรสำหรับผู้ประกอบการ  เพื่อช่วยส่งเสริมความแข็งแกร่งให้กับสตาร์ทอัพในการแข่งขันและสร้างสรรค์นวัตกรรมในมาตรฐานที่สูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นอกจากการช่วยลดความต้องการทางด้านเงินทุนแล้ว อาชัวร์ยังนำเสนอทางเลือกให้กับธุรกิจทั้งในแบบ IaaS และ PaaS ด้วยข้อเสนอที่มีความยืดหยุ่น มาพร้อมระบบที่มีเสถียรภาพสูง และยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล โดย ไมโครซอฟท์ นับเป็นผู้ให้บริการคลาวด์เพียงรายเดียวที่ได้รับการรับรองจากองค์กรด้านการปกป้องข้อมูลใน 28 ประเทศทั่วยุโรป และยังเป็นผู้ให้บริการคลาวด์เพียงรายเดียวที่มีดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศจีน

ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ เปิดกว้างและสนับสนุนสำหรับทุกเทคโนโลยี

        “ด้วยไมโครซอฟท์ อาชัวร์ เราได้นำเสนอบริการคลาวด์ที่เปิดกว้าง ไม่จำกัด และมีความยืดหยุ่น ให้กับนักพัฒนาสามารถเริ่มต้นจากการใช้ซอฟต์แวร์ที่คุ้นเคย และใช้ทักษะที่ถนัด นักพัฒนาจะได้รับประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมและการสนับสนุนจากไมโครซอฟท์  นอกจากนี้ เรายังเปิดรับการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ทำให้นักพัฒนาสามารถทำงานได้อย่างราบรื่นบนความหลากหลายของแพลตฟอร์มและซอฟต์แวร์ต่างๆ  เช่น ภาษา Java และ .Net ที่เป็นที่นิยมใช้ในหมู่นักพัฒนาแอพสำหรับองค์กร  แต่ขณะเดียวกันก็ยังสามารถใช้งาน PHP Python และภาษาอื่นๆ  ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น  ไมโครซอฟท์ อาชัวร์ สนับสนุนภาษาเหล่านี้และภาษาอื่นๆ  อีกมากมาย และจากการประกาศล่าสุดของซีอีโอไมโครซอฟท์การสนับสนุนการทำงานบน CoreOS Linux ซึ่งนับเป็นการสนับสนุนครั้งที่ 5 ของลีนุกซ์บนอาชัวร์ต่อจาก CentOS, Oracle Linux, Suse, และ Ubuntu ปัจจุบันกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานอาชัวร์ ล้วนทำงานอยู่บนลีนุกซ์” นางสาวสุชาลักษณ์ กล่าวสรุป

      ท่านที่สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อทดลองใช้งานไมโครซอฟท์ อาชัวร์ ฟรี เป็นระยะเวลาหนึ่งเดือนได้ที่นีhttp://azure.microsoft.com/en-us/pricing/free-trial/ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกใช้บริการต่างๆ บนอาชัวร์ได้จำนวนถึง 200 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 6,400 บาท) สำหรับนักธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทยที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โครงการไมโครซอฟท์ บิซสปาร์ค และ บิซสปาร์ค พลัส สามารถติดต่อคุณเอกราช คงสว่างวงศา ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ที่ อีเมล์  ekarajk@microsoft.com

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!